3 เม.ย. 2022 เวลา 07:37 • สุขภาพ
# เหงาเรื้อรัง
เสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัย อันตรายยิ่งกว่าภาวะอ้วน
3
มีงานวิจัยพบว่า ความเหงา ความโดดเดี่ยว หรือการแยกตัวจากสังคมนั้นเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพอย่างนึงของคนเรา เทียบกับโรคอ้วนแล้วยังอันตรายยิ่งกว่า นั่นก็เพราะว่า ความเหงาทำให้คนคนนึงมีอายุสั้นกว่าคนทั่วไปถึง 50% ในขณะที่ความเสี่ยงของภาวะโรคอ้วนอยู่ที่ 30%
1
เห็นตัวเลขแล้วเริ่มจะคิดหนักค่ะ ถ้าอ้วนด้วยเหงาด้วย อายุดิฉันจะเหลือเท่าไหร่คะเนี่ย
3
(pic: Pixabay)
ถ้าพูดถึงความเหงาเราอาจมองว่าเป็นเพียงปัญหาทางด้านจิตใจส่วนบุคคล แต่เชื่อมั้ยคะว่า สาธารณสุขในหลายประเทศให้ความสำคัญกับปัญหานี้
คนเหงาเรื้อรังที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นปัญหาใหม่ที่น่าสนใจ ถึงแม้จะไม่ใช่โรค แต่คุณหมอหลายท่านถึงกับเปรียบว่า เหมือนเป็นการระบาดของโรคเหงา
ความเหงาแบบเรื้อรังที่พูดถึงนี้ไม่ได้ถูกระบุแน่ชัดนะคะว่า ต้องอยู่กับความเหงานานขนาดไหน แต่ที่แน่ๆก็คือ นานพอที่คนคนนึงจะรู้สึกทุกข์และทรมานทางจิตใจ
1
ในสหรัฐอเมริกามีการศึกษาความเหงาค่ะ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ คนวัย 45 ปีขึ้นไปกว่า 42 ล้านคนเลยเดียวที่ต้องทนทุกข์กับความเหงาเรื้อรัง
ที่ประเทศอังกฤษก็มีการสำรวจพบว่า ในหนึ่งเดือนผู้สูงอายุจำนวนมากแทบจะไม่ได้พบเจอหรือพูดคุยกับครอบครัวหรือญาติ ซึ่งแน่นอนว่าความเหงาความโดดเดี่ยวนั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจเป็นอย่างมาก
แต่ก็ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น หากเราติดตามข่าวสารทั่วโลก จะเห็นว่าแนวโน้มพฤติกรรมของคนทางด้านความสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นการแยกตัวจากสังคม การอาศัยอยู่คนเดียว ไม่ค่อยคิดเรื่องแต่งงานหรืออยากมีลูก
ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วง 2-3 ปี การระบาดของโรคโควิดก็เป็นปัจจัยนึงที่เร่งการเปลี่ยนแปลงนี้ แม้แต่คนปกติที่ไม่ค่อยเหงาก็อาจจะเหงาได้
2
(pic: Pexels)
มีงานวิจัยมากมายจากหลายประเทศที่ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาสุขภาพมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกในจิตใจที่เชื่อมโยงไปถึงความจำเป็นที่ต้องมีสังคม
อย่างการศึกษาชิ้นนึงระบุว่า ในคนที่ป่วยเป็นโรคหวัดธรรมดา คนมีคู่จะหายจากอาการป่วยได้ไวกว่าคนโสด
4
หรือมีรายงานว่า ผู้คนกว่า 75% ไม่เคยบอกใครว่าตัวเองเหงา ทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา
2
นักวิจัยกล่าวว่า ความเหงาไม่ได้กระทบแค่ภาวะทางจิตใจ แต่ส่งผลกระทบถึงหลายระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสมอง ภูมิคุ้มกัน หัวใจ หลอดเลือด ระบบไร้ท่อ การแสดงออกทางพันธุกรรม
1
โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราจะเห็นได้ชัดในเรื่องการอยู่รอด อย่างเด็กที่เกิดมาต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ การอยู่รวมกันทำให้เรารู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ความสัมพันธ์ที่ดีทำให้เรามีความสุขสนุกสนาน มีกำลังใจ ซึ่งความรู้สึกเชิงบวกนี้เองที่ส่งผลดีเชื่อมโยงไปถึงสุขภาพทางร่างกาย
2
เมื่อเกิดความเหงา โดดเดี่ยว เครียด วิตกกังวล ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้สมองและร่างกายตื่นตัว เปรียบเหมือนเป็นกลไกของร่างกายในการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มั่นคง เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีหรือฮอร์โมนต่างๆ มีการกระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า การอักเสบ
2
เราทราบกันดีว่า ภาวะการอักเสบในร่างกาย มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น โรคอ้วน เบาหวาน เส้นเลือดตีบ หัวใจ อัลไซเมอร์ เป็นต้น
สรุปได้ว่า ความเหงาเรื้อรัง เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพในคนทุกวัย ทำให้เพิ่มโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ หรือมีภาวะอ้วนเลยทีเดียว ซึ่งถ้าดูที่ตัวเลขถือว่าเสี่ยงกว่าด้วยค่ะ อาจเป็นไปได้ว่าเกิดผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ
การเชื่อมโยงทางสังคมที่น้อยลงทำให้ประสบกับความเหงามากขึ้น ปัจจุบันจึงเกิดอาชีพใหม่ๆ เช่น แฟนเช่าเป็นเพื่อนเที่ยวหรือกินข้าวแก้เหงา และหลายๆคนเลือกที่จะมีสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นเพื่อนที่บ้าน
(pic: Pexels)
ผู้เขียนมองว่าการเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับ แต่การปรับพฤติกรรมบางอย่างมีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นคนโสดหรือมีคู่ ทริคง่ายๆก็คืออย่าทำตัวเองให้เหงา ไม่แยกตัวเองออกมาจนรู้สึกโดดเดี่ยว พาตัวเองไปอยู่ในจุดที่มีความสุข มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวหรือใช้ชีวิตสนุกสนานกับสังคมเพื่อนฝูง
1
ที่สำคัญอย่าปล่อยให้คนใกล้ตัวของเราต้องทุกข์ทรมานกับความโดดเดี่ยวและความเหงาเรื้อรังนะคะ
2
ข้อมูลอ้างอิง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
03.04.22

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา