28 มี.ค. 2022 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
บำเรอ มาจากไหน?
พ่อขุนรามคำแหง
"เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู...พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึ่งได้เมืองแก่กูทั้งกลม."
ประโยคสุดคลาสิคจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่ใครๆก็เคยได้อ่านได้ยิน แต่ที่จริงแล้ว"บำเรอ" ก็เป็นคำยืมจากภาษาเขมร
"บำเรอ" แปลว่า รับใช้, ปรนนิบัติ คำนี้ในสมัยจารึกเขมรนครธม มักใช้สำหรับกษัตริย์และเทวะ เช่น ใช้กับความที่พูดถึงการถวายข้าพระไว้เป็นทาสบำเรอเทพเจ้าในเทวสถาน หรือบำเรอ พระพุทธปฏิมาในวัดต่างๆ.
( บำเรอ แผลงมาจากคำว่า เปรอ ในความว่าปรนเปรอนั่นเอง)
***ทั้งกลม แปลว่า ทั้งหมด
อ้างอิงจากหนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา" ของจิตร ภูมิศักดิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา