25 มี.ค. 2022 เวลา 02:53 • ประวัติศาสตร์
"มกร" (มะ-กะ-ระ)
สัตว์ในคติความเชื่อของอินเดียที่ส่งอิทธิพลไปถึงดินแดนอื่นที่รับวัฒนธรรมของอินเดียมา ไม่แน่ใจว่ามีต้นแบบมาจากตัวอะไร จระเข้หรือสัตว์เลื้อยคลานอื่น,โลมาน้ำจืด หรือปลาวาฬในทะเลอินเดีย (เพราะมกรพ่นน้ำออกมาได้ ) ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในอินเดียเป็นรูปสัตว์คล้ายปลาหรือจระเข้ที่มีงวง แต่พอมาถึงอุษาคเนย์แล้วมักทำออกมาเป็นสัตว์คล้ายจระเข้มากกว่า
มกรในอุษาคเนย์มักทำออกมาในรูปของ "มกรคายนาค" มักพบกันตามบันไดโบสถ์วิหารของวัดในศาสนาพุทธ สาเหตุหนึ่งเป็นความนิยมแต่เดิมที่มักสร้างออกมาในรูปมกรคายน้ำ รูปแบบดังกล่าวถูกนำมาต่อเติม เพราะนาคเองก็เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ มกรจึงคายนาคออกมาได้ (แล้วนาคก็คายน้ำอีกทอดหนึ่ง กลายเป็นอุดมสมบูรณ์ x2 ดับเบิลลล ไปเลย)
เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของการมอบน้ำ มกรจึงมักถูกผูกโยงเข้ากับเทพที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น วรุณ (พระพิรุณ) หรือคงคา งานศิลปะที่พบบางส่วนในอินเดียยังปรากฏรูปของมกรอยู่เคียงคู่กับกามเทพอีกด้วย บางครั้งก็เป็นรูปมกรคายลูกศรออกมาให้กามเทพ
 
ไม่แน่ใจว่าทำไมจึงปรากฏมกรอยู่คู่กับกามเทพ ทั้ง ๆ ที่สัตว์พาหนะของกามเทพเป็นนกแก้ว แต่ (ถ้าเชื่อตาม "God of Desire: Tales of Kamadeva in Sanskrit Story Literature" ของแคทเธอรีน เบนตัน) อาจเป็นเพราะว่ามกรเคยได้รับการนิยามว่าเป็นโลมาน้ำจืด ซึ่งบางพื้นที่ในอินเดียมีความเชื่อว่าของเหลวจากโลมา(อสุจิหนะ)สามารถใช้เป็นยาเสน่ห์ได้ ทำให้ความหมายของมกรกับกามเทพเข้ามาพ้องกันในแง่ทำให้คนลุ่มหลงได้เหมือนกัลลลลลล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา