Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
25 มี.ค. 2022 เวลา 12:19 • เพลง & ซีรีส์ เกาหลี
Business Proposal : ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ความรักเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดหรือไม่?
“ความรักที่ผมมีให้คุณ กับบัตรเครดิตเหมือนกันยังไงรู้ไหม? มันมีไม่จำกัดยังไงล่ะ”
หากทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีอยู่อย่างจำกัด ทุกวันนี้เราคงไม่รู้จักกับวิชาเศรษฐศาสตร์ เพราะเศรษฐศาสตร์ คือวิชาที่เกิดขึ้นมาเพื่อจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (Limited resources) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงทรัพยากรเกือบทุกอย่างบนโลกนี้มักจะมีอยู่อย่างจำกัด แม้บางอย่างที่เราอาจมองว่ามันจะคงอยู่ตลอดไป แต่หากเราไม่เห็นคุณค่าของมันและใช้อย่างไม่ระมัดระวัง มันอาจจะหมดไปโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว
2
1
ในบทความนี้ Bnomics จะพาไปทำความเข้าใจกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในทางเศรษฐศาสตร์กันค่ะ
📌 ทรัพยากรพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่อย่างจำกัด
ตามหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจมีอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง คือ
1.
ที่ดิน ประกอบด้วยที่ดินจริงๆ รวมถึงทรัพยากรอื่นๆ ด้วย อาทิ ต้นไม้ ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆที่อยู่ในดิน, ลม, แสงแดด. น้ำ
2.
แรงงาน หมายถึงการใช้งานมนุษย์ทั้งทางแรงกายและสติปัญญา หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าทุนมนุษย์
3.
ทุน คือสิ่งที่ใช้เพื่อผลิตสินค้าและบริการ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ ที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิต
4.
ผู้ประกอบการ คือผู้ที่รวบรวมเอาปัจจัยการผลิตคือที่ดิน แรงงาน ทุน มาผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร
สิ่งต่างๆ ข้างต้นนี้ เป็นทรัพยากรเศรษฐกิจที่มีอยู่อย่างจำกัด เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ก็เลยก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์คือ ความขาดแคลน (scarcity)
📌 เมื่อทรัพยากรการผลิตมีอยู่อย่างจำกัดจึงเกิดความขาดแคลน
ความขาดแคลน (scarcity) ในทางเศรษฐศาสตร์ใช้อธิบายเหตุการณ์ที่ความต้องการต่อทรัพยากรหนึ่งๆ มีมากกว่าปริมาณของทรัพยากรนั้นๆ ที่มีอยู่จำกัด โดยปัจจัยหลักที่ทำใหัเกิดความขาดแคลนมาได้จาก 4 ทางคือ
1. ความต้องการทรัพยากรสูง (Demand-induced scarcity) อาจเกิดได้จากการที่ประชากรเพิ่มขึ้น, การเติบโตของ GDP ที่แท้จริง หรือรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้คนต้องการบริโภคมาขึ้นกว่าแต่ก่อน, การเปลี่ยนแปลงความชอบ เช่น การที่คนนิยมใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น ก็อาจทำให้แร่บางอย่างที่ต้องใช้ในการผลิตนั้นขาดแคลนได้
2. อุปทานของทรัพยากรหมดลง (Supply-induced scarcity) อาจเกิดได้จากสภาพอากาศที่แย่ หรืออุปทานที่เสื่อมคุณภาพลง เช่น เมื่อโลกเรามีมลพิษมากขึ้น ส่งผลให้น้ำที่สามารถดื่มได้ หรือพื้นที่สำหรับใช้เพาะปลูกได้มีจำนวนลดลง
3. ความขาดแคลนเชิงโครงสร้าง (Structural scarcity) เกิดขึ้นจากปัญหาการกระจายทรัพยากร เช่น ในบางพื้นที่บนโลกไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำได้อย่างเพียงพอ หรือในบางพื้นที่ที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ทรัพยากรกระจุกตัวอยู่กับคนจำนวนน้อย ในขณะที่คนจนส่วนใหญ่ในสังคมไม่สามารถเข้าถึงได้
4. ไม่มีสินค้าที่สามารถทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (No effective substitutes)
ปกตินักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าถ้าสินค้าในสินค้าหนึ่งขาดแคลน กลไกตลาดจะสร้างแรงจูงใจให้เราหันไปหาอย่างอื่นทดแทน เช่น หากน้ำมันขาดแคลน เราก็อาจจะมีแรงจูงใจในการพัฒนารถ EV อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถผลิตทุกอย่างมาแทนสิ่งที่ขาดแคลนได้อยางสมบูรณ์ ความขาดแคลนจึงยังเกิดขึ้นอยู่ดี
📌 ทรัพยากรทางธรรมชาติมีไม่จำกัดและไม่มีวันขาดแคลนหรือไม่?
แม้ว่าทรัพยากรธรรมชาติหลายๆ ชนิดจะถูกมองว่ามีอยู่อย่างมากมายไม่มีวันหมด และทุกคนสามารถเข้าถึงได้ฟรีโดยไม่ต้องจ่ายเงิน แต่ในบางแง่มุมมันก็สามารถขาดแคลนได้เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น อากาศ แน่นอนว่าทุกคนคงมองว่าเราสามารถหายใจเอาอากาศเข้าไปในร่างกายได้ฟรีๆ อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าเราต้องการอากาศบริสุทธิ์ในการหายใจ แต่นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม คุณภาพอากาศก็เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งหากมนุษย์ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือรัฐบาลไม่ทำการควบคุมและปรับปรุงคุณภาพอากาศ อากาศบริสุทธิ์ที่เหมาะแก่การหายใจก็อาจจะค่อยๆ ขาดแคลนในสักวันก็ได้
น้ำมัน, ถ่านหิน และแก๊สธรรมชาติ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของทรัพยากรที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ และมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากการย่อยสลายของฟอสซิลภายใต้อุณหภูมิและความกดดันหลายพันปี นอกจากนี้ทรัพยากรกลุ่มอัญมณี ทองคำ และเพขร ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากมีปริมาณน้อยและไม่สามารถผลิตเติมได้
แล้วแบบนี้ ความรักกับวงเงินบัตรเครดิต ถือเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดจริงหรือ?
1
ก็ต้องตอบว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกๆ สิ่งมีต้นทุนที่เราต้องจ่ายเสมอ และทรัพยากรทุกๆ อย่างก็มีปริมาณที่แตกต่างกันออกไป
1
จริงอยู่ว่าบนโลกนี้มีบัตรเครดิตที่มีวงเงินไม่จำกัด (ที่เหล่าประธานบริษัทในซีรีส์เกาหลีมักจะถือบัตรเครดิตที่เรียกว่า Black card) แต่อย่าลืมว่าเงินเป็นทรัพยากรที่หายากและมีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งยังมีข้อจำกัดของทางด้านเวลาอีกด้วย
ผู้คนส่วนใหญ่อาจขาดแคลนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะขาดทั้งเงินและเวลาเลยก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น คนว่างงาน อาจมีเวลาอยู่อย่างจำกัดที่จะทำอะไรก็ได้ แต่ก็ขาดแคลนเงินจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ในทางกลับกัน ผู้บริหารที่มีความสามารถทางการเงินมากพอที่จะเกษียณเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ก็อาจถูกจำกัดด้วยเวลาใช้ชีวิตส่วนตัว เวลาพักผ่อนที่มีน้อย (ดังจะเห็นได้จากในซีรีส์เรื่องนี้ ประธานคังแทมูเป็นคนที่เกลียดการเสียเวลามากๆ) รวมถึงมนุษย์ทุกคนก็ยังมีเวลาที่เหลือในชีวิตอย่างจำกัดอยู่ดีไม่ว่าจะรวยหรือจน
4
ในส่วนของความรัก หากจะต้องตัดสินว่าควรถูกนิยามว่าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดหรือไม่ เราคงต้องตอบคำถามกับตัวเองว่าในชีวิตเราสามารถรักใครสักคนได้เรื่อยๆ ไม่ลดน้อยลงได้เลยตลอดชีวิต หรือในอีกร้อยกว่าปีข้างหน้าเลยหรือไม่?
2
ถ้าความรู้สึกของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมั่นคงได้ขนาดนั้น ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดบนโลกนี้คงมีแต่ทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนได้ เช่น น้ำ ลม และดิน เท่านั้นเอง
2
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co/
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
https://www.investopedia.com/terms/s/scarcity.asphttps://lisbdnet.com/what-are-limited-resources/#:~:text=LIMITED%20RESOURCES%3A%20A%20basic%20condition,to%20produce%20goods%20and%20services
.
●
https://www.investopedia.com/terms/s/scarcity.asp
ซีรีส์เกาหลี
เศรษฐศาสตร์
ทรัพยากรมนุษย์
5 บันทึก
10
2
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economic Edutainment
5
10
2
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย