Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
29 มี.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทั่วโลกคงมีอาหารไม่พอ ถ้าต้องรอให้สงครามจบ
2
นอกจากสินค้าพลังงานแล้ว อาหารก็เป็นอีกหนึ่งทรัพยากรที่อาจขาดแคลนท่ามกลางปัญหาระหว่างรัสเซียและยูเครน
อันที่จริงแล้วอาหารทั่วโลกก็แทบจะมีไม่พอมาตั้งแต่ก่อนสงครามแล้ว นี่เกิดจากผลผลิตที่ลดลงจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง (ซึ่งทำให้ราคาอาหารทั่วโลกพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 10 กว่าปี) และรายได้ของคนมากมายที่หดหายในช่วงโควิด
จากรายงานล่าสุดของ UN ในปัจจุบัน ทั่วโลกมีคนที่อดอยากอยู่ประมาณ 720 ล้าน ถึง 811 ล้านคน
1
และเมื่อมีสงครามในตอนนี้ซ้ำเติมเข้าไป ปัญหาด้านความขาดแคลนและอดอยากก็น่าจะทวีคูณไม่น้อย
ทำไมสงครามรัสเซีย-ยูเครนถึงเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก?
(1) สาเหตุแรกเป็นเพราะทั้งรัสเซียและยูเครนต่างก็เป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก รวมกันแล้ว อาหารที่ทั้งคู่ส่งออกคิดเป็นประมาณ 12% ของแคลอรี่ที่ทั่วโลกได้รับตามรายงานของ International Fund for Agricultural Development (IFAD)
1
นอกจากนี้ รัสเซียยังเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีอันดับหนึ่งของโลก ในขณะที่ยูเครนอยู่อันดับ 5 และเมื่อเทียบกับสัดส่วนของอาหารที่ส่งออกทั่วโลกแล้ว ข้าวสาลีที่ทั้งคู่ส่งออกก็คิดเป็น 14% ของข้าวสาลีทั่วโลก ข้าวบาร์เลย์คิดเป็น 19% และข้าวโพดเป็น 4%
2
ดังนั้น หากสงครามยืดเยื้อ สินค้าเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอาหารหลักของหลายประเทศ ก็มีแนวโน้มขาดแคลน
(2) อย่างที่สอง ประเทศที่รัสเซียและยูเครนส่งออกอาหารให้หลักๆ ก็เป็นประเทศที่ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องความอดอยากอยู่แล้ว
อย่างประเทศในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาที่มีคนขาดสารอาหารกว่า 69 ล้านคน และ 282 ล้านคน ก็พึ่งพาการนำเข้าอาหารจากรัสเซียและยูเครนอย่างมาก
ยกตัวอย่างเช่น อียิปต์ ที่ 70% ของข้าวสาลีในประเทศ ถูกนำเข้ามาจากรัสเซียและยูเครน หรือ ตูนิเซียที่นำเข้า 80% ของข้าวสาลีมาจากสองประเทศนี้ นอกจากนั้นประชากรในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา บางประเทศ มีค่าใช้จ่ายอาหารสูงถึงประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ นี่แปลว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้น แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถซื้ออาหารได้
1
ในปัจจุบันราคาข้าวสาลีในทวีปเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นถึง 35% นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นสงครามแล้ว ซึ่งตามคาดการณ์ของ IFAD ถ้าราคาอาหารเพิ่มขึ้นอีก อาจทำให้เกิดการประท้วงได้
1
(3) สาเหตุที่สาม ก็เป็นเพราะก๊าซธรรมชาติที่ขาดแคลนในช่วงสงครามนั้น เป็นส่วนผสมสำคัญในการทำปุ๋ย ซึ่งราคาก๊าซที่สูงในตอนนี้ก็ทำให้ผู้ผลิตปุ๋ยหลายรายต้องลดการผลิตปุ๋ยลง อย่างบริษัทปุ๋ย Yara International ก็ประกาศลดกำลังการผลิตปุ๋ยในสาขายุโรปลงเหลือ 45% เนื่องจากต้นทุนก๊าซที่แพง
อุปทานปุ๋ยที่ลดลงน่าจะส่งผลเสียต่อผลผลิตในหลายประเทศ โดยเฉพาะในที่ที่นำเข้าปุ๋ยเป็นหลัก แถมต้นทุนด้านการเกษตรที่สูงก็น่าจะทำให้ราคาอาหารเพิ่งสูงขึ้นอีก
(4) สาเหตุสุดท้ายคือ การขาดแคลนอาหาร ก็กำลังเริ่มทำให้หลายประเทศกลัวที่จะส่งออกอาหารของตัวเองให้ที่อื่น
เหมือนอย่างในอียิปต์ ที่มีการห้ามส่งออกข้าวสาลี แป้ง และถั่ว เพื่อรักษาอาหารไว้ให้คนในประเทศ เช่นเดียวกัน อินโดนิเซียลดประมาณการส่งออกสินค้าบางอย่าง เช่นน้ำมันปาล์มและช็อกโกแลต ซึ่งนโยบายเหล่านี้ ก็จะทำให้มีอาหารน้อยลงสำหรับประเทศที่มีปัญหาด้านการขาดแคลนอาหารอยู่แล้ว
องค์กร UN และ FAO คาดว่า สงครามในยูเครนครั้งนี้ จะทำให้ราคาอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 20% และจะทำให้มีประชากรอดอยากทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 8 ล้าน ถึง 13 ล้านคน ในปี 2022-2023
และแม้ว่าปัญหานี้มีแนวโน้มว่าจะหนักกว่าในแถบเอเชียแปซิฟิคและแอฟริกาใต้สะฮารา แต่ประเทศพัฒนาแล้วก็คงหนีไม่พ้นผลกระทบจากอาหารที่ขาดแคลน นี่เป็นเพราะการขาดแคลนอาหารนั้นเป็นปัญหาสำหรับครอบครัวรายได้ต่ำทั่วโลก อย่างในอเมริกาที่ประชากรประมาณ 1 ใน 7 เจอกับภาวะขาดแคลนอาหารในเดือนเมษายน 2021 ตามรายงานของ Urban Institute
ดังนั้น อาหารที่ขาดแคลนจึงปัญหาของทุกคน และสงครามรัสเซียยูเครนก็เป็นความเสี่ยงของทั่วโลก
3
ผู้เขียน : บูชิตา ปิตะกาศ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
https://reliefweb.int/report/world/impact-conflict-ukraine-global-food-security
●
https://www.weforum.org/agenda/2022/03/global-food-security-challenges-solutions/
●
https://www.fao.org/3/cb4474en/online/cb4474en.html#chapter-executive_summary
●
https://www.france24.com/en/live-news/20220313-rising-food-prices-shake-north-africa-as-ukraine-war-rages
●
https://www.reuters.com/world/un-agency-warns-ukraine-war-could-trigger-20-food-price-rise-2022-03-11/
●
https://reliefweb.int/report/ukraine/food-security-implications-ukraine-conflict-march-2022
●
https://edition.cnn.com/2022/03/12/business/food-crisis-ukraine-russia/index.html
●
https://www.aljazeera.com/news/2021/12/16/third-of-arab-worlds-population-suffers-from-hunger-un
●
https://reliefweb.int/report/world/new-interactive-report-shows-africa-s-growing-hunger-crisis-enarzh#:~:text=In%202020%2C%20281.6%20million%20Africans,of%20hunger%20across%20the%20subregions
.
●
https://www.fao.org/worldfoodsituation/foodpricesindex/en/
เครดิตภาพ : Alamy Live News
เศรษฐกิจ
อาหาร
ยูเครนรัสเซีย
6 บันทึก
19
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
6
19
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย