Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระลงทุนวันละนิด By Tent
•
ติดตาม
30 มี.ค. 2022 เวลา 00:30 • คริปโทเคอร์เรนซี
Layer-1 Layer-2 คืออะไร? คำที่เห็นบ่อยๆเวลาพูดถึงเหรียญคริปโทฯ
มาทำความรู้จัก Layer หรือชั้นของบล็อกเชนกันว่ามันมีอะไรบ้าง ? แล้วเครือข่ายไหนอยู่ Layer อะไร ไปดูกัน
🎯 Blockchain Layer-1 คืออะไร ?
Layer-1 คือตัวตั้งต้นของเครือข่ายบล็อกเชน หรือมองง่ายๆว่าเป็นเครือข่ายรุ่นบุกเบิกก็ได้ มีการกระจายอำนาจ ปลอดภัย และปรับขนาดได้ แต่ก็ยังคงมีปัญหา “ความสามารถในการปรับขนาด” (Scalability) หมายถึงการรองรับให้การทำงานเป็นไปได้ด้วยดีแม้จะมีผู้ใช้จำนวนมากก็ตาม
💡 รู้หมือไร่ ? Bitcoin สามารถทำธุรกรรมได้เพียง 7 ธุรกรรมต่อวินาที ในขณะที่เครือข่ายของ Visa สามารถทำได้ 24,000 ธุรกรรมต่อวินาที
ตัวอย่างของปัญหานี้ที่มองเห็นชัดที่สุดคือ Ethereum ที่มีฉันทามติแบบ Proof-of-work เราจะเห็นว่าค่าธรรมเนียม (Gas) นั้นมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะเวลาที่มีการทำธุรกรรมหนาแน่น เหมือนรถที่แห่ขึ้นทางด่วนแล้วติดอยู่ตรงด่านนั้นแหล่ะ
1
หากคุณไม่รู้จักค่า Gas สามารถอ่านได้ที่นี่ 👇
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[สาระลงทุนวันละนิด By Tent] แก๊สในคริปโทเคอร์เรนซีคืออะไร? ทำไมได้ยินบ่อยจัง แก๊สแพงๆ!! 🤔 วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน
แก๊สในคริปโทเคอร์เรนซีคืออะไร? ทำไมได้ยินบ่อยจัง แก๊สแพงๆ!! 🤔 วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน
หากคุณยังไม่รู้จักกลไกฉันทามติ สามารถอ่านได้ที่นี่ 👇
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[สาระลงทุนวันละนิด By Tent] Consensus Algorithm กลไกการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเข้าบล็อกเชน!
Consensus Algorithm กลไกการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเข้าบล็อกเชน!
และนั่นเป็นหนึ่งเหตุผลที่ Ethereum ได้พัฒนา Ethereum 2.0 ขึ้นมา โดยเปลี่ยนฉันทามติเป็น Proof-of-stake ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ใน Layer-1 นี้ก็มีการพยายามแก้ไขปัญหา โดยสิ่งที่เข้ามาแก้ตอนนี้ก็จะมีหลายวิธี เช่น Segwit, Sharding และการ Hard Fork เหรียญใหม่ออกมาเป็นต้น (ไว้จะมาลงลึกแต่ละอย่าง ถ้ามีโอกาส 🤣)
หากคุณไม่รู้จัก Hard Fork & Soft Fork สามารถอ่านได้ที่นี่ 👇
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[สาระลงทุนวันละนิด By Tent] การ Fork คืออะไร ทำไมถึงมี Hard Fork และ Soft Fork ?
การ Fork คืออะไร ทำไมถึงมี Hard Fork และ Soft Fork ?
ตัวอย่างของ Layer-1 ได้แก่ Bitcoin, Ethereum, Binance Smart Chain, Litecoin, Solana, Polkadot และ Avalanche เป็นต้น
🎯 Blockchain Layer-2 คืออะไร ?
เมื่อเห็นถึงปัญหาของบล็อกเชนรุ่นแรกๆว่า ที่มันทำธุรกรรมได้ช้า ก็เลยถือกำเนิด Layer-2 ขึ้น มันก็คือการพัฒนาต่อจาก Layer-1 นั่นเอง โดยจะเป็นการแก้ปัญหาต่างๆที่พบเจอใน Layer-1 ทั้งในเรื่องของความเร็วในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมที่ถูกลง
ใน Layer 2 นั้นจะมีเครือข่ายที่มีการทำงานแบบ Off-chain หรือก็คือการบันทึกการทำธุรกรรมนอกบล็อกเชนแล้วค่อยรวมผลลัพธ์เข้ากับเครือข่ายบล็อกเชนหลัก เช่น Lightning Network ที่สามารถโอน Bitcoin ได้ถึง 1 ล้านธุรกรรมภายใน 1 วินาที
ทางฝั่ง Ethereum ก็มีการแก้ปัญหาหลากหลายแบบ โดยในบทความนี้จะอธิบายคร่าวๆก่อน ดังนี้
🟠 Rollups - การห่อธุรกรรมเป็นม้วนเดียวกันแล้วส่งออกไปประมวลผลนอกเครือข่าย (นี่ไง Off-chain) แล้วกลับออกมายังเครือข่ายหลักเพื่อบันทึกลงบล็อกเชน
🟠 State channels - ลักษณะคล้าย Lightning Network บนเครือข่าย Bitcoin เลย
🟠 Plasma - โครงสร้างเครือข่ายรากไม้ (Merkle Root) โดยจะมีการสร้างเชนย่อยได้ไม่จำกัด
🟠 Sidechains - บล็อกเชนอิสระที่เข้ากันได้กับ Ethereum มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัย และกลไกฉันทามติเป็นของตัวเอง โดยจะทำงานควบคู่ไปกับเชนหลักและสามารถสื่อสารระหว่างกันเพื่อให้สินทรัพย์สามารถเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างกันได้
ตัวอย่างของ Layer-2 ได้แก่ Lightning network ของ Bitcoin, Plasma chains และ Side chains ของ Ethereum อย่าง Polygon และ Boba (เหรียญเก่าคือ Omise Go) เป็นต้น
หากคุณไม่รู้จัก Lightning Network สามารถอ่านได้ที่นี่ 👇
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[สาระลงทุนวันละนิด By Tent] มาทำความรู้จัก Lightning Network เบื้องต้น!
มาทำความรู้จัก Lightning Network เบื้องต้น!
ระหว่าง Layer-1 และ 2 ไม่มีใครจะมาแทนที่ใคร แต่เป็นการทำงานร่วมกัน ให้เรามองว่า Layer-1 เป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง แล้ว Layer-2 คือสิ่งที่ขับเคลื่อนอยู่ด้านบนอีกทีหนึ่ง ท้ายที่สุดทั้ง 2 Layer นี้ก็จะทำงานร่วมกันอยู่ดี แต่ประสิทธิภาพของบล็อกเชนใดจะดีกว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา
crypto
คริปโต
การเงิน
6 บันทึก
5
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เริ่มต้นลงทุน Cryptocurrency จากไม่รู้อะไรเลย
6
5
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย