2 เม.ย. 2022 เวลา 09:16 • การศึกษา
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับกำไร/ขาดทุน ในรูปแบบร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ (%)
ในวัยที่เรียนคณิตช่วงประถมปลาย วิชาคณิตศาสตร์ก็จะเป็นวิชาที่เด็กหลาย ๆ คนเริ่มที่จะชอบ และไม่ชอบเพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงที่กล่าวถึงนี้จะเรียนคณิตเรื่องบัญญัติไตรยางค์
บัญญัติไตรยางค์ หมายถึง วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกําหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จํานวนเพื่อหาจํานวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนําเลขทั้ง ๓ จํานวนที่กําหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.
ถ้าจะเขียนเป็นทางคณิตศาสตร์จะได้ว่า มี a ชิ้น ราคา b บาท ถ้ามี c ชิ้น จะราคากี่บาท จะหาราคาที่เทียบกับ 1 ชิ้น ก่อน จะได้ b/a บาท ต่อ 1 ชิ้น จากนั้นจึงนำ c ชิ้นมาคูณกับราคาที่เป็น 1 ชิ้น ก็เป็นอันเสร็จ ตามนิยาม
ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถเปรียบเทียบกับ สมการได้ดังนี้ " a/b = c/x " เมื่อกำหนดให้ a, b และ c คือสิ่งที่โจทย์ให้ โดย a และ c จะต้องมีหน่วยเหมือนกัน b และ x ก็ต้องมีหน่วยที่เหมือนกัน เช่นเดียวกัน และ x คือสิ่งที่โจทย์ถามนั่นเอง
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า เปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ คือการเปรียบเทียบของสิ่งหนึ่งกับ 100 และแน่นอน การเปรียบเทียบในการค้าขายเราก็จะเปรียบเทียบราคาทุนเป็นหลัก
ฉะนั้น ราคาทุนจึงเปรียบเทียบกับ 100 ส่วนกำไรหรือขาดทุนก็จะเปรียบกับสิ่งหนึ่ง
ปกติ ราคาขายที่ขายมากกว่าราคาทุน ส่วนต่างนั้นจะเรียกว่ากำไร
ส่วนราคาขายที่น้อยกว่าราคาทุน ส่วนต่างนั้นก็จะเรียกขาดทุนนั้นเอง
และจากย่อหน้าที่แล้ว ราคาทุนที่เราได้เปรียบเทียบไป เท่ากับ 100
ราคาขายที่ได้กำไรก็จะมีค่าที่มากกว่า 100 เมื่อเปรียบเทียบกับ 100
ราคาขายที่ทำให้ขาทุนก็จะมีค่าน้อยกว่า 100 เมื่อเปรียบเทียบกับ 100
จากสมการ " a/b = c/d " ถ้าเรากำหนดให้ a และ b มีหน่วยที่เหมือนกันคือบาท และ c และ d มีหน่วยที่เทียบกับ 100 (จริง ๆ จะเรียกว่าหน่วยเปอร์เซ็นต์ก็ได้)
จะได้ว่า ราคาขาย/ราคาทุน = x/100 (หรือเราจะเปรียบเทียบว่า ราคาขายกับเปอร์เซ็นต์ของราคาขายเป็นเศษ และราคาทุนกับเปอร์เซ็นต์ของราคาทุน ก็คือ 100 เป็นส่วน คนละฝั่งก็ได้)
ตัวอย่างการคิดกำไรและขาดทุน
โฆษณา