4 เม.ย. 2022 เวลา 12:30 • สุขภาพ
ยารักษาโรคอัลไซเมอร์อาจประสบผลสำเร็จภายใน 10 ปีข้างหน้านี้
32
นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยกว่า 55 ล้านคนทั่วโลกและปัญหาสังคมสูงวัยในอนาคต
10
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นหนึ่งในภาวะสมองเสื่อมที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนจำนวนกว่า 55 ล้านรายทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ประเมินว่ามีจำนวนผู้ป่วยถึง 600,000 คน โดยตัวเลขนี้จะพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 100,000 รายทุก ๆ ปี
5
มนุษย์รู้จักภาวะสมองเสื่อมในวัยชราตั้งแต่เมื่อ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก่อนที่ภายหลังในปี 1910 จะตั้งชื่อให้โรคนี้ว่า อัลไซเมอร์ ตามนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Alois Alzheimer ผู้ค้นพบว่าการจับตัวกันเป็นก้อนของโปรตีน (Plaque) และกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary Tangles) ไปทำลายประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทบริเวณเปลือกสมอง (Cerebral Cortex) จนความทรงจำและความสามารถด้านการรู้คิดเสื่อมถอย
17
แต่ถึงแม้เวลาจะผ่านมานานหลายร้อยปี อัลไซเมอร์ก็ยังเป็นโรคที่เต็มไปด้วยปริศนาและความซับซ้อนมากมาย นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงอย่างไลฟ์สไตล์ส่วนตัว อายุที่เพิ่มขึ้น และพันธุกรรมแล้ว ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สมองของเราเกิดความผิดปกติข้างต้น
2
สำหรับหนทางการรักษาโรคอัลไซเมอร์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการควบคุมสารเคมีภายในสมองเพื่อบรรเทาอาการป่วยเท่านั้น เช่น ยามีแมนทีน (Memantine) ที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะกลางถึงระยะสุดท้ายสามารถขับถ่ายและใช้ห้องน้ำเองได้นานขึ้นหลายเดือน
3
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นักประสาทวิทยา Paul Aisen จากมหาวิทยาลัย Southern California ผู้นำขององค์กร Alzheimer’s Clinical Trials Consortium ในสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้เราอาจมียาหลายแขนงที่สามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียความทรงจำแล้ว
2
หนึ่งในนั้น คือ การพัฒนายาที่มุ่งขจัด Amyloid-β ในสมอง ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่หากก่อตัวในปริมาณมากเกินไปก็จะสร้างก้อน Plaque นั่นเอง ปัจจุบัน อะดูคานูแมบ (Aducanumab) จากบริษัท Biogen เป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ด้วยวิธีการนี้เพียงตัวเดียวเท่านั้นในท้องตลาด นอกจากนี้ ยังมียาแขนงเดียวกันตัวอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการวิจัยทางคลินิกอีกด้วย เช่น Genentech จากบริษัท Roche และ Donanemab จากบริษัท Eli Lilly and Company
4
ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทผู้ผลิตยาหลายแห่งต่างก็กำลังพัฒนายารักษาโรคอัลไซเมอร์ที่สามารถป้องกันการก่อตัวของ Neurofibrillary Tangles จากโปรตีนเทา (Tau) ในสมองเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันมียาหลายตัวในกลุ่มยาแขนงนี้ อยู่ในระหว่างขั้นตอนการวิจัยทางคลินิกแล้ว
6
ความก้าวหน้าทางการแพทย์เหล่านี้นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์กว่าหลายสิบล้านคนทั่วโลกและผู้ดูแลคนชราในครอบครัว รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในทุกประเทศที่ต่างต้องรับมือกับปัญหาอัตราส่วนผู้สูงอายุพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือ Aging Society นั่นเอง
7
ที่มา #Clinixir
โฆษณา