7 เม.ย. 2022 เวลา 11:06 • ประวัติศาสตร์
“กรีก - เปอร์เซีย (Greek - Persia)” มหาสงครามแห่งยุคโบราณ
2
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีวัวอยู่สามตัวเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน จะไปไหนมาไหนก็ไปด้วยกันอยู่เสมอ…
2
ในวันหนึ่ง มีสิงโตเดินผ่านมาและจะจับวัวสามตัวเป็นเหยื่อ แต่วัวทั้งสามตัวก็รวมพลังกันยืนประจันหน้าสิงโตอย่างไม่เกรงกลัว สิงโตจึงไม่สามารถทำอะไรได้ เลยตัดสินใจถอยห่างออกไปในที่สุด…
1
แต่ทว่า สิงโตได้รอโอกาสและเห็นช่องทางที่จะกินวัวทั้งสามตัว “ก็ให้พวกมันตีกันเองก็สิ้นเรื่อง!”
2
ว่าแล้วสิงโตเห็นวัวตัวที่หนึ่งไปเล็มหญ้าในจุดที่ห่างจากวัวอีกสองตัว สิงโตเลยเข้าไปยุยงวัวตัวที่หนึ่งว่า “ข้าได้ยินวัวตัวที่สองบอกว่ามันเป็นตัวแข็งแกร่งที่สุด”
2
วัวตัวที่หนึ่งได้ยินแบบนั้นก็ควันออกหู “อะไรนะ เจ้าวัวนั่นมันพูดสิ่งที่ห่วยแตกและแย่ขนาดนี้ได้อย่างไรกัน!”
2
แล้วสิงโตก็ทำการเสี้ยมวัวตัวที่สองและตัวที่สามเช่นเดียวกัน ทำให้วัวทั้งสามตัวหันประจันหน้าเข้าวัดความแข็งแกร่งของตัวเองพร้อมตะโกนว่า “ข้าคือตัวที่แข็งแกร่งที่สุด!”
3
เขาของวัวทั้งสามต่างเสียดแทงกันจนเลือดนองเต็มทุ่งหญ้า และต่างก็หมดเรี่ยวหมดแรงล้มฟุบลงต่อหน้าสิงโตผู้กำลังจะได้ลิ้มลองเหยื่ออันแสนโอชะ…
2
ทุกท่านครับ เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวการห้ำหั่นกันของเหล่ามหาอำนาจผู้ยิ่งใหญ่ในยุคโบราณ…
2
การห้ำหั่นนั้นก่อให้เกิดมหาสงครามครั้งใหญ่ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของโลก…
1
การห้ำหั่นที่เหล่ามหาอำนาจมีการรวมพลังกันเพื่อต่อต้านผู้รุกรานจากภายนอก…
1
แต่เมื่อผู้รุกรานจากไป มหาอำนาจที่เคยรวมพลังกันก็ต่างหันหน้าเข้าฟาดฟันกันเอง…
1
เอเธนส์…
2
สปาร์ตา…
2
จักรวรรดิเปอร์เซีย…
2
สงครามมาราธอน…
2
ยุทธการ 300 ที่เทอร์โมพิเล…
3
ยุทธนาวีที่ซาลามิส...
2
สงครามเพโลพอนเนเชียน…
2
การก้าวขึ้นสู่อำนาจของมาซิโดเนีย…
2
และนี่ คือเรื่องราว “กรีก - เปอร์เซีย (Greek - Persia)” มหาสงครามแห่งยุคโบราณ
2
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง…
5
ภาพจาก Total War
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับตัวละครในเรื่องราวกันก่อนนะครับ...
1
โดยตัวละครหลักๆ จะมีด้วยกัน 2 ตัวละคร คือ เปอร์เซียและเหล่านครรัฐกรีก
3
ซึ่งเปอร์เซียที่ว่านี้ มีศูนย์กลางอำนาจบริเวณที่ในปัจจุบันเราเรียกว่าอิหร่าน ก่อนที่เปอร์เซียจะผงาดขึ้นมา ในแถบนั้นมีมาเฟียใหญ่คุมอยู่คืออู่อารยธรรมโบราณอย่างเมโสโปเตเมีย...
3
คราวนี้เหล่ามหาชนชาวเปอร์เซียนได้พากันอพยพมาจากแถบยุโรปตะวันออก มาตั้งบ้านเรือนบริเวณอ่าวเปอร์เซีย
12
ซึ่งเปอร์เซียเริ่มพีคในยุคของกษัตริย์ที่ชื่อว่าไซรัส (Cyrus) ที่ได้พัฒนากองทัพแล้วเข้าตีอาณาจักรรอบๆ อย่างลิเดีย ซีเรีย ปาเลสไตน์ และบาบิโลน รวมถึงยังตีไปทางตะวันออกจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุ...
1
และหลังไซรัสจากไป กษัตริย์องค์ต่อๆ มาก็ยังไม่ละเลิกขยายดินแดน ตีเพลินจนไปถึงอียิปต์ ก่อเกิดเป็นจักรวรรดิเปอร์เซียที่มีกองทัพอันน่าสะพรึงกลัวที่รบร้อยครั้งก็ชนะเรียบแทบทุกครั้ง...
2
คราวนี้เรามาดูอีกตัวละครอย่างเหล่านครรัฐกรีกกันบ้าง...
1
นครรัฐของกรีกนั้นมีต้นตอมาจากอารยธรรมกรีกโบราณ ซึ่งเริ่มต้นที่เกาะครีตในทะเลอีเจียน แล้วส่งต่อไปยังไมซินีในบริเวณคาบสมุทรเพโลพอนเนซุส...
6
แต่วันดีคืนดีก็มีกลุ่มคนสองกลุ่มได้เดินทางเข้ามาบริเวณไมซินี
1
พวกแรกคือชาวดอเรียน ที่เข้ามาแบบบ้าเลือดใช้กำลังเข้าถล่มไมซินีจนยับเยินแล้วสร้างอารยธรรมของตนเองเกิดเป็นนครรัฐต่างๆ ขึ้นมา โดยในบรรดานครรัฐเหล่านั้นมีพี่ใหญ่ที่เข้มแข็งที่สุด คือ "สปาร์ตา (Sparta)"
4
พวกที่สองคือชาวไอโอเนียน ที่เข้ามาแบบเนิบๆ ใช้การอพยพมาเรื่อยๆ แล้วผนวกวัฒนธรรมตัวเองเข้ากับไมซินี จนเกิดเป็นนครรัฐต่างๆ ขึ้นมาบริเวณที่เรียกว่าอัตติกา และในบรรดานครรัฐเหล่านั้นก็มีพี่ใหญ่ที่เข้มแข็งที่สุดอย่าง "เอเธนส์ (Athens)"
8
กล่าวก่อนว่าสภาพภูมิศาสตร์ของกรีกนั้นส่วนมากเป็นเทือกเขา ทำให้นครรัฐต่างๆ ถูกแยกออกจากกัน จนในที่สุดก็มีสภาพและอำนาจในการปกครองตัวเอง
4
พูดง่ายๆ คือ แต่ละนครรัฐไม่ได้ขึ้นตรงต่อกัน และบางทีก็เป็นมิตรหรือบางทีก็เป็นศัตรู มีการทำการค้าและรบพุ่งกันอยู่ตลอดเวลา
3
โดยเฉพาะสปาร์ตากับเอเธนส์ที่เขม่นกันมานาน และพร้อมจะบวกใส่กันอยู่เสมอ
3
แต่แล้วเปอร์เซียที่ตีอียิปต์ได้ก็เริ่มขยายอำนาจเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและลากยาวมาจนถึงทะเลอีเจียนในสมัยของกษัตริย์นามว่า "ดาริอุสที่ 1 (Darius 1)"
2
เปอร์เซียเข้ายึดครองเมืองในแถบทะเลอีเจียน ทำให้เอเธนส์เริ่มหวั่นๆ เลยทำการเสี้ยมให้เมืองเหล่านั้นก่อกบฏต่อต้านเปอร์เซียขึ้นมา โดยเอเธนส์เป็นสปอนเซอร์หลักในการส่งเงิน อาวุธ และเสบียงให้เหล่ากบฏ
4
แต่กบฏกลับถูกเปอร์เซียปราบและสั่งสอนลงอย่างง่ายดาย ทำให้ดาริอุสที่ 1 เริ่มเพ่งเล็งไปที่เอเธนส์ด้วยความแค้น เลยตัดสินใจจะยกทัพไปถล่มเอเธนส์และนครรัฐอื่นๆ เพื่อให้กรีกยอมสยบอยู่แทบเท้าของเปอร์เซียให้จงได้...
2
และแล้วมหาสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซียก็ได้เริ่มต้นขึ้น...
1
ภาพจาก Persians Are Not Arabs (ขนาดพื้นที่อำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซีย
ภาพจาก National Geographic (พื้นที่อารยธรรมกรีก)
เปอร์เซียได้มีการยกทัพขนาดใหญ่ ซึ่งดาริอุสที่ 1 เป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง โดยใช้เรือข้ามทะเลอีเจียนเพื่อจะไปตีเอเธนส์ แต่ทว่าเหมือนธรรมชาติจะเข้าข้างเอเธนส์เพราะดันเกิดพายุขนาดใหญ่ ทำให้เรือของเปอร์เซียล่มไปจำนวนมาก
1
เรียกได้ว่า ยังไม่ทันจะได้รบจริงจัง ทหารฝ่ายเปอร์เซียก็ตายไปเป็นเบือแล้ว ดาริอุสตัดสินใจถอนทัพกลับไปตั้งหลักก่อน โครงการล้างแค้นเอเธนส์เลยต้องพับไปชั่วคราว...
1
คราวนี้ในระหว่างฟื้นฟูกองทัพ ดาริอุสจึงใช้วิธีทางการทูตไปก่อนโดยการบอกให้นครรัฐต่างๆ ของกรีก "จงส่งส่วยและเครื่องบรรณาการมาให้เปอร์เซียซะดีๆ ถ้าไม่อยากโดนถล่ม!"
4
ซึ่งหลายนครรัฐก็ยอมทำตามเปอร์เซีย ยกเว้นมหาอำนาจของกรีกอย่างเอเธนส์และสปาร์ตาที่ต่างคิดว่า "เรื่องอะไรจะยอม!"
2
เมื่อเตรียมการพร้อมแล้ว ดาริอุสเลยยกทัพครั้งใหม่เพื่อไปสั่งสอนความเหิมเกริมของเอเธนส์ (รวมถึงสปาร์ตา) โดยมีการเกณฑ์คนมาจากดินแดนต่างๆ ทั้งจากอินเดีย เมโสโปเตเมีย ตะวันออกกลาง อียิปต์ และเอธิโอเปีย ซึ่งทำให้ทัพของเปอร์เซียในครั้งนี้มีขนาดใหญ่มาก คาดการณ์ว่ามีทหารกว่า 300,000 คน รวมถึงเรือกว่า 600 ลำ
3
โดยทัพเปอร์เซียทำการเก็บหัวเมืองต่างๆ ตามแถบทะเลอีเจียนรวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้วยกพลขึ้นบกบริเวณทุ่งมาราธอน (อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัตติกา) เพื่อจะได้เดินทัพลงไปตีเอเธนส์ต่อไป...
1
แต่เอเธนส์ก็ไม่ได้นิ่งเฉย เตรียมกองทัพไปยันเปอร์เซียไว้ที่ทุ่งมาราธอน และเอเธนส์ก็ได้พยายามประสานงานกับนครรัฐอื่นให้ส่งทหารมารวมพลังกันต่อต้านวายร้ายจากต่างแดนนี้...
4
ซึ่งนครรัฐอื่นๆ ก็ขานรับอย่างแข็งขันรวมถึงสปาร์ตาด้วย แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าช่วงที่เปอร์เซียขึ้นบกที่มาราธอน เป็นวันขึ้น 6 ค่ำ ซึ่งเป็นความเชื่อของสปาร์ตาว่าหากเดินทัพตอนพระจันทร์ยังครึ่งดวงอยู่แบบนี้อาจทำให้แพ้ได้ สปาร์ตาเลยบอกเอเธนส์ "เดินทัพไปก่อนแล้วกัน รอพระจันทร์เต็มดวงแล้วจะตามไป"
12
ทำให้เอเธนส์กับเหล่านครรัฐเล็กๆ ต้องจำใจเดินทัพไปทุ่งมาราธอน ซึ่งรวมทัพได้เต็มที่แค่ 30,000 คนเท่านั้น...
2
และทัพ 30,000 ก็ต้องประจันหน้ากับทัพระดับ 300,000 อย่างสิ้นหวังในสมรภูมิที่เรียกว่า "สงครามมาราธอน"
3
ภาพจาก Wikimedia Commons (ลักษณะภูมิประเทศบริเวณทุ่งมาราธอน)
คราวนี้เรามาดูลักษณะภูมิประเทศของทุ่งมาราธอนซึ่งมีความสำคัญต่อรูปการณ์การรบสูงมากทีเดียวครับ
1
โดยทุ่งมาราธอนมีลักษณะเป็นอ่าวครึ่งวงกลม ซึ่งเป็นชายหาดและทุ่งหญ้าสลับกัน ถัดจากทุ่งมาราธอนจะเป็นเนินและภูเขา
1
โดยทัพเปอร์เซียตั้งมั่นอยู่บริเวณทุ่งและชายหาด ส่วนทัพเอเธนส์ตั้งมั่นอยู่ที่สูงกว่าบนเนินและภูเขา...
1
ด้วยสเกลของกองทัพที่ต่างกัน 10 เท่า ผนวกกับประสบการณ์ของทัพเปอร์เซียที่โชกโชนกว่าและรบแทบไม่เคยแพ้ ทำให้เหมือนเป็นการปะทะกันระหว่างมดและพญาช้างเลยล่ะครับ...
1
แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ทัพเอเธนส์ที่มายันไว้แม้จะสิ้นหวังนิดๆ แต่ก็ไม่ได้ยอมแพ้ถอดใจง่ายๆ มีการวางหมากในการรบครั้งนี้อย่างจริงจังแถมเป็นระบบ และด้วยการอยู่จุดที่สูงกว่า ทำให้สามารถมองสนามรบได้รอบด้านมากกว่าเลยเป็นข้อได้เปรียบ...
2
คราวนี้แหละครับ เหล่าแม่ทัพจึงตกลงกันว่าต้องบีบให้ข้าศึกรบในที่แคบ เพื่อลดประสิทธิภาพในการรบของทัพเปอร์เซียให้ได้มากที่สุด
3
ว่าแล้วเอเธนส์จึงเริ่มเดินหมากตัวแรก โดยการจัดทัพให้ปีกสองข้างซ้ายขาวมีทหารเยอะที่สุด และให้ตรงกลางเบาบางแต่จะเน้นทหารที่มีฝีมือมากที่สุดประจำจุดนี้ไว้
1
หมากตัวต่อไป ทัพเอเธนส์ก็เข้าตีทัพเปอร์เซียแบบฉับพลันโดยไม่ให้มีการตั้งตัว!
1
ทัพเปอร์เซียที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวพอสมควรเลยล่ะครับ ทำให้กว่าจะจัดทัพเสร็จ ก็ถูกเอเธนส์เข้าประชิดไปแล้ว...
2
หมากตัวต่อมา เมื่อทัพเริ่มจะปะทะกัน ปีกทั้งสองด้านของเอเธนส์ก็ทำการตีโค้งโอบล้อมและฟัดกับทัพด้านข้างของเปอร์เซียแล้วพยายามล้อมไปจนถึงแนวหลัง ส่วนทัพตรงกลางก็ใช้ทหารฝีมือดียันเอาไว้จนสุดชีวิต...
3
จนกระทั่งทัพเอเธนส์ได้เดินหมากเกมรุก เมื่อปีกทั้งสองข้างสามารถล้อมไปจนถึงแนวหลังได้และขังทัพเปอร์เซียขนาดใหญ่ไว้ในพื้นที่วงกลม ทำให้สกิลการรบของทหารเปอร์เซียตกลงแบบสุดๆ เพราะพื้นที่ถูกบีบให้แคบลง...
2
สุดท้าย เอเธนส์ก็ทำการรุกฆาต ถล่มเปอร์เซียภายใต้วงล้อมอย่างดุเดือด ทหารบางส่วนของเปอร์เซียต้องพยายามดิ้นรนหนีออกจากวงล้อมทำให้ทัพแตกขบวนไม่สามารถทำการรบได้อีก ทำให้จำเป็นต้องถอยทัพลงเรือไป
8
และมดตัวจ้อยก็ใช้กลยุทธ์อันชาญฉลาดทำการล้มพญาช้างได้สำเร็จในที่สุด...
2
หลังจากได้รับชัยชนะ แม่ทัพเอเธนส์ก็ได้สั่งให้ม้าเร็วที่ชื่อว่า "ฟิเดปปิเดส" ส่งข่าวให้กับผู้นำในเอเธนส์ โดยฟิเดปปิเดสดีใจต่อชัยชนะครั้งนี้แบบสุดๆ และอยากแจ้งข่าวดีให้เร็วที่สุด เลยทำการวิ่งจากทุ่งมาราธอนไปเอเธนส์ในระยะทางกว่า 42 กิโลเมตร แบบไม่พัก จนถึงเมืองเอเธนส์ และฟิเดปปิเดสก็ทำการร้องออกมาคำเดียวว่า "ชนะ!" ด้วยความตื่นเต้นแบบสุดขีดและความเหนื่อยแบบสุดขั้วทำให้หลังจากร้องออกมา ฟิเดปปิเดสก็ขาดใจตายในที่สุด...
9
เรื่องราวของฟิเดปปิเดสเลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการวิ่งมาราธอนนั่นเองครับ
9
ชื่อมาราธอนก็มาจากทุ่งมาราธอนที่ถือว่าเป็นสมรภูมิแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเอเธนส์ที่อยู่เหนือความคาดหมายแบบสุดๆ...
3
ภาพจาก Wikipedia (กลยุทธ์การรบที่ทุ่งมาราธอน สีน้ำเงิน = ทัพเอเธนส์ และสีแดง = ทัพเปอร์เซีย)
ภาพจาก Alexander (การรบที่ทุ่งมาราธอน)
ภาพจาก Wikipedia (การแตกพ่ายของทัพเปอร์เซีย)
ภาพจาก My Running Addiction (การวิ่งของฟิเดปปิเดส)
ภาพจาก Quora (ฟิเดปปิเดสประกาศชัยชนะของกรีกและขาดใจตาย)
หลังจากการพ่ายแพ้อย่างน่าอับอายที่ทุ่งมาราธอน เปอร์เซียจึงถอนทัพกลับไปตั้งหลักใหม่ ผนวกกับกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 เกิดจากไปกระทันหัน ทำให้โครงการถล่มกรีกต้องพับไปก่อนอีกครั้ง...
1
แต่หลังจากนั้นโอรสของดาริอุสก็ขึ้นครองราชย์ต่อ นามว่าเซอร์เซสที่ 1 (Xerxes 1) โดยเซอร์เซสก็มีความแค้นกรีกและเห็นเป็นสิ่งขวางหูขวางตาเปอร์เซียเช่นเดียวกัน อีกทั้งการค้าในทะเลอีเจียนและเมดิเตอร์เรเนียนสร้างมูลค่ามหาศาลมาก ซึ่งเป็นที่ต้องตาต้องใจเซอร์เซสสุดๆ ดังนั้น ตอที่ขวางทางอย่างกรีกก็จำเป็นต้องกำจัดเพื่อเปอร์เซียจะได้ครองอำนาจทั้งหมดในทะเลทั้งสอง...
3
โดยเปอร์เซียมีการเตรียมกองทัพนานถึง 4 ปี รวบรวมคนจากดินแดนต่างๆ เช่นเคย (โดยมีการกล่าวว่าจำนวนทัพเปอร์เซียครั้งนี้แตะถึงระดับ 2 ล้านคน) แล้วทำการยกทัพทั้งทางบกและทางเรือเข้าประจันกับนครรัฐต่างๆ ของกรีก
1
ฝ่ายนครรัฐต่างๆ ของกรีกได้ยินข่าวการยกทัพมหึมาของเปอร์เซีย เลยกลับมาจับมือรวมพลังกันอีกครั้ง โดยแบ่งเป็น 2 ทัพ ได้แก่...
2
1) ทัพบก สกัดกั้นการยกพลขึ้นบกของฝ่ายเปอร์เซีย ซึ่งมีผู้นำคือสปาร์ตา เข้าไปหยุดเปอร์เซียไว้ตรงช่องเขาเทอร์โมพิเล เพื่อถ่วงไม่ให้เปอร์เซียยกทัพไปประชิดเอเธนส์...
1
2) ทัพเรือ จะสกัดกั้นกองเรือของเปอร์เซีย ซึ่งมีผู้นำคือเอเธนส์ โดยจะตั้งทัพในแถบเกาะซาลามิส เพื่อปิดการเดินทัพเข้าไปประชิดเอเธนส์เช่นเดียวกัน...
2
ภาพจาก Tale of Times Forgotten (เซอร์เซสที่ 1 ตามการตีความของภาพยนตร์เรื่อง 300)
ภาพจาก Wikimedia Commons (สปาร์ตา 300 คน สกัดเปอร์เซียที่เทอร์โมพิเล และกองเรือกรีกนำโดยเอเธนส์สกัดทัพเรือเปอร์เซียที่เกาะซาลามิส)
แต่ปัญหาก็เกิดขึ้น เมื่อทัพเปอร์เซียเข้าถึงช่องเขาเทอร์โมพิเลได้เร็วกว่าที่กรีกคิด หากต้องจัดทัพเต็มรูปแบบจะทำให้เสียเวลา การรีบไปยึดบริเวณช่องเขาไว้ก่อนจะเป็นผลดีมากกว่า
2
ทำให้กษัตริย์สปาร์ตานามว่า "เลโอไนดัส (Leonidas)" ตัดสินใจ "เดี๋ยวข้าจะไปหยุดทัพเปอร์เซียไว้ก่อน ทัพใหญ่ค่อยตามมาหนุนทีหลังแล้วกัน!" ว่าแล้วก็นำทหารสปาร์ตาชั้นดีคู่กาย 300 นาย เดินทางไปสกัดทัพเปอร์เซียหลักแสนคน ณ ช่องเขาเทอร์โมพิเล...
3
และเป็นความบ้าบิ่นมากๆ ครับ ที่ทหารสปาร์ตาทั้ง 300 และเลโอไนดัสใช้ภูมิประเทศที่เป็นช่องเขาแคบๆ (ทำให้เปอร์เซียส่งทหารมาคราวละมากๆ ไม่ได้) สกัดกั้นทัพเปอร์เซียเอาไว้ได้นานหลายวันเลยทีเดียว
4
แต่ทว่า สุดท้ายน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ทหาร 300 นายเริ่มล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ ซึ่งการสู้ของทหารสปาร์ตาเป็นไปอย่างบ้าระห่ำ แม้ดาบหรือหอกหลุดออกจากมือก็ยังดิ้นรนขย้ำทหารเปอร์เซียด้วยมือเปล่า เป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อแบบสุดๆ และสุดท้ายเลโอไนดัสและทหารทั้ง 300 ก็ได้พลีชีพที่ช่องเขาเทอร์โมพิเลในที่สุด...
3
วีรกรรมสุดบ้าบิ่นในครั้งนี้ทำให้สามารถถ่วงเวลาทัพเปอร์เซียให้ไปประชิดเอเธนส์ได้ช้าลง ส่งผลให้สนามรบกลางทะเลในแถบเกาะซาลามิสที่มีเอเธนส์เป็นผู้นำสามารถรบได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น...
1
ภาพจาก ภาพยนตร์เรื่อง 300 (เลโอไนดัสจากการตีความฉบับภาพยนตร์)
ภาพจาก Realms of History (การรบที่เทอร์โมพิเล)
คราวนี้เรามาดูการรบในแถบเกาะซาลามิสที่มีเอเธนส์เป็นผู้นำกันครับ
1
โดยสเกลของกองทัพแน่นอนว่ากรีกมีขนาดเล็กกว่า ทำให้ต้องมีการวางกลยุทธ์แบบเดิมที่ต้องบีบให้เรือเปอร์เซียรบในที่แคบ โดยการส่งเรือไปโจมตีเปอร์เซียแบบสะกิดๆ แล้วทำทีเป็นหนีเพื่อลวงให้ทัพเปอร์เซียเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นช่องแคบ...
1
อีกทั้งยังส่งสปายเข้าไปให้ข่าวลวงกับเปอร์เซียว่า "ทัพกรีกกลัวเปอร์เซียจนหัวหด ไม่มีกำลังใจจะสู้แล้วเลยรีบหนี" ทำให้ทัพเปอร์เซียได้ใจรีบแจ้นตามก้นเรือกรีกเพื่อไปปิดบัญชี ซึ่งสุดท้ายก็ติดกับฝ่ายกรีก (อีกแล้ว)
3
เมื่อทัพเรือเปอร์เซียถูกล่อเข้าไปในช่องแคบได้สำเร็จ กองเรือกรีกที่เตรียมไว้อยู่แล้วก็เข้าโจมตีแบบสายฟ้าแลบ เข้าประจัญบานอย่างดุเดือด ตามทะเลเต็มไปด้วยซากเรือและซากศพ สุดท้ายการรบนี้ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง
3
ซึ่งฝ่ายที่กำชัยชนะอย่างเด็ดขาดคือฝ่ายกรีก และการรบครั้งนี้เป็นเหมือนการทำลายอำนาจทางทะเลของเปอร์เซียโดยสิ้นเชิง
3
อีกทั้งเอเธนส์ยังมีการเดินหมากไปก่อนหน้านี้ โดยการเป็นสปอนเซอร์รายใหญ่ให้กับกบฏในอาณาจักรต่างๆ ที่อยู่ภายใต้เปอร์เซียให้ทำการสร้างความวุ่นวายและปลดแอกตัวเอง
2
คราวนี้แหละครับ อำนาจภายในของเปอร์เซียจึงเริ่มเกิดรอยร้าว ทำให้เซอร์เซสต้องแบ่งทัพส่วนหนึ่งไปปราบกบฏ และการเข้าตีเอเธนส์ของทัพที่มาทางเทอร์โมพิเลต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว
2
กองทัพส่วนหนึ่งของเปอร์เซียที่ถูกทิ้งเอาไว้เพื่อรบต่อนั้นก็ถูกกองทัพผสมของนครรัฐกรีกรวมพลังกันรุมยำจนแตกกระเจิง...
2
ท้ายที่สุด ทัพเปอร์เซียอันไร้เทียมทานก็ไม่สามารถพิชิตกรีกได้ (โดยแพ้แทบทุกสมรภูมิ) ทำให้มหาสงครามอันยาวนานนี้ได้จบลงที่ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของกรีก และเป็นการดับความซ่าของเปอร์เซียในการขยายอำนาจไว้เพียงแค่นั้น...
5
หลังสงคราม แน่นอนครับว่าผู้ที่ได้เครดิตมากที่สุดคือเอเธนส์ ทำให้อำนาจของเอเธนส์เริ่มมีมากขึ้น พร้อมกับความทะเยอทะยานที่อยากจะรวมกรีกเป็นหนึ่งเดียวภายใต้เอเธนส์ โดยมีการให้นครรัฐอื่นๆ มารวมกลุ่มซึ่งมีเอเธนส์เป็นผู้นำภายใต้ "สันนิบาตเดเลียน (Delian League)"
3
และเอเธนส์ก็ได้มีการขยายอำนาจ พร้อมใช้พลังทางเศรษฐกิจในการขู่บังคับให้นครรัฐอื่นๆ เข้าร่วมกับสันนิบาต เช่น "หากไม่เข้าร่วมจะไม่ขายของให้" หรือ "หากไม่เข้าร่วมจะไม่ให้เงินสนับสนุน"
3
การขยายอำนาจของเอเธนส์อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของจักรวรรดินิยมในยุคโบราณเลยทีเดียวครับ
2
แน่นอนว่า เมื่อวัวอีกตัวอย่างเอเธนส์ประกาศศักดาว่า "ข้านี่แหละคือผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด" มีหรือที่วัวอีกตัวอย่างสปาร์ตาจะไม่หมั่นไส้...
2
และแล้ว สปาร์ตาก็ตัดสินใจเข้ามาหยุดยั้งการขยายอำนาจของเอเธนส์ ซึ่งเป็นการนำพานครรัฐต่างๆ ของกรีกหันหน้ามารบกันเอง ภายใต้สงครามที่มีชื่อว่า "เพโลพอนเนเชียน (Peloponnesian War)
2
ภาพจาก Wikimedia Commons (ช่องแคบบริเวณเกาะซาลามิส)
ภาพจาก Mari Time Professional (การรบที่ซาลามิส)
ภาพจาก Map on the Webs (แผนที่เขตอำนาจของเอเธนส์และสปาร์ตา)
สงครามในครั้งนี้ถือว่าเกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งที่มีมานานนมเลยทีเดียวครับ เนื่องจากเอเธนส์และสปาร์ตามีการเขม่นกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งสองฝ่ายจะตีกันจนเป็นสงครามใหญ่โตเข้าซักวันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร...
3
อีกทั้งเอเธนส์และสปาร์ตาก็มีความแตกต่างกันมากจนเกินไปทั้งในแง่ของอุดมการณ์และการขยายอำนาจ
2
ฝ่ายเอเธนส์มีอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย ส่วนสปาร์ตามีอุดมการณ์แบบทหารและมองว่าการปกครองตามอุดมการณ์ของเอเธนส์จะส่งผลร้ายแรงต่อสปาร์ตา...
2
และฝ่ายเอเธนส์ก็เน้นขยายอำนาจเพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางการค้า แต่ฝ่ายสปาร์ตาชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยวเน้นฝึกแต่ทหาร ทำให้สปาร์ตามองว่าความซ่าของเอเธนส์ที่ขยายอำนาจไปเรื่อยๆ นั้นเป็นภัยความมั่นคงแบบสุดๆ
1
โดยการรบในสงครามเพโลพอนเนเชียนเป็นการแย่งชิงพื้นที่และพันธมิตร หากฝ่ายไหนได้นครรัฐอื่นเข้าเป็นพวกมากที่สุดฝ่ายนั้นก็ย่อมได้เปรียบ
1
ซึ่งลักษณะการรบไม่ใช่การเปิดศึกประจัญหน้ากันแบบเต็มกำลัง แต่เป็นการเปิดศึกแบบยิบย่อยทั่วแผ่นดินกรีก ทำให้สงครามยืดเยื้อไปกว่า 30 ปี...
1
โดยในระหว่างนั้น นครรัฐอื่นๆ ก็เริ่มมองการขยายอำนาจของเอเธนส์เป็นภัยคุกคาม และมองเอเธนส์ว่าเป็นนครรัฐที่เข้ามาเอารัดเอาเปรียบ
1
ทำให้ในช่วงท้ายสงคราม เหล่านครรัฐกรีก รวมถึงฝ่ายที่อยู่ภายใต้สันนิบาตเดเลียนก็เริ่มทยอยหันหลังให้กับเอเธนส์แล้วเข้าไปสนับสนุนสปาร์ตาแทน
1
จนท้ายที่สุดเอเธนส์หมดอำนาจในการเป็นผู้นำ และฝ่ายสปาร์ตาก็ได้กลายเป็นผู้ชนะสงครามในครั้งนี้...
1
ภาพจาก Medium (สงครามเพโลพอนเนเชียน)
หลังเอเธนส์หมดอำนาจลง สปาร์ตาก็ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำของเหล่านครรัฐกรีก แต่อย่างที่เล่าไปครับว่า สปาร์ตาชอบอยู่แบบโดดเดี่ยวมากกว่า ไม่ได้มีความสนใจอยากจะไปนำอะไรใคร
1
อีกทั้ง สงครามเพโลพอนเนเชียนได้ทำให้ทั้งเอเธนส์และสปาร์ตาอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
2
ภายในเอเธนส์ก็เกิดการโค่นล้มอำนาจผู้นำ และทหารก็ได้ขึ้นมาปกครอง แถมยังสูญเสียอำนาจทางการค้าในทะเลเกือบทั้งหมด ทำให้มีมหาอำนาจอย่างธีบส์ (อยู่แถบอียิปต์) เป็นผู้นำทางการค้ารายใหม่ และเริ่มเข้ามาแทรกแซงภายแผ่นดินกรีก...
1
ฝ่ายเปอร์เซียก็ไม่น้อยหน้า เข้ามาผสมโรงด้วยอีกแรง โดยการยุแหย่ให้นครรัฐในกรีกแตกคอและรบกันเอง...
1
ความอ่อนแอและไร้ผู้นำทำให้รอยร้าวภายกรีกเริ่มปริแตกมากขึ้น และเป็นโอกาสอันดีงามที่เปอร์เซียจะเตรียมกองกำลังเข้าถล่มกรีกอีกครั้ง...
5
แต่แล้ว ก็ได้มีนครรัฐจากทางเหนือชื่อว่า "มาซิโดเนีย (Macedonia)" ภายใต้การนำของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 เข้ามาเป็นม้ามืดถล่มนครรัฐต่างๆ ภายในกรีกรวมถึงเอเธนส์และสปาร์ตา และรวมกรีกทั้งหมดให้อยู่ภายใต้อำนาจของมาซิโดเนีย...
5
ซึ่งสร้างความงุนงงต่อธีบส์และเปอร์เซียแบบสุดๆ ครับว่า "นครรัฐหลังเขานี้ อยู่ดีๆ ก็ขยายอำนาจและรวมกรีกได้แบบดื้อๆ!"
2
อีกทั้งถึงแม้จะรวมกรีกได้แล้ว แต่กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 มีความทะเยอทะยานที่สูงมากกว่านั้น โดยมีการเตรียมทัพจะไปบวกกับธีบส์และเปอร์เซียต่ออีกด้วย...
3
แต่เปอร์เซียเห็นแบบนั้นแล้วก็รู้ได้โดยทันทีว่าถ้าปล่อยฟิลิปเอาไว้ต้องเป็นอันตรายแน่นอน เลยตัดสินใจส่งคนไปตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ลอบสังหารฟิลิปจนสำเร็จ (มีการสันนิษฐานว่าใช้วิธีวางยาพิษหรือไม่ก็ลอบแทง)
3
ทำให้ชายคนหนึ่งซึ่งเป็นโอรสของฟิลิปต้องขึ้นครองราชย์ต่ออย่างกะทันหันในวัย 20 ปี...
4
การกำจัดฟิลิปทำให้เปอร์เซียคิดแล้วว่าสามารถที่จะหยุดความทะเยอทะยานของมาซิโดเนียได้...
1
แต่ทว่า ถึงแม้ร่างกายฟิลิปจะตายไป แต่เจตนารมณ์นั้นกลับไม่ได้ตายตามไปด้วย...
1
ความทะเยอทะยานและเจตนารมณ์กลับถูกถ่ายทอดให้กับชายผู้กำลังก้าวขึ้นสู่บัลลังก์...
3
ชายผู้ซึ่งกำลังจะนำพามาซิโดเนียไปสั่นสะเทือนและเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ...
4
และชายผู้ซึ่งในอนาคต ประวัติศาสตร์จะจารึกชื่อของเขาไว้ตลอดกาลว่า...
2
"อเล็กซานเดอร์ (Alexander the Great)"
7
ภาพจาก NATO Association of Canada
References
Boardman, John. The Oxford History of Greece and the Hellenistic World. Oxford : Oxford University Press, 1991.
1
Cartledge, Paul. Ancient Greece: A History in Eleven Cities. Oxford : OUP Oxford, 2009.
1
Green, Peter. The Greco-Persian Wars. Berkley : University of California Press, 1996.
1
History, Housley. Persian Empire : A History from Beginning to End. Chicago : ‎Independently published, 2021.
1
โฆษณา