Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Storyteller
•
ติดตาม
6 เม.ย. 2022 เวลา 11:08 • ประวัติศาสตร์
“เอเธนส์ (Athens)” นครรัฐผู้รังสรรค์อัตลักษณ์แห่งตะวันตก
8
ปัญญาที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวคือการที่รู้ว่าคุณไม่รู้อะไรเลย
โสเครตีส
2
“ความรู้ (Knowledge)” คือพลังของมนุษย์ในการเรียนรู้เข้าใจตนเองและความเป็นไปของธรรมชาติ...
"ปัญญา (Wisdom)" คือพลังของมนุษย์ในการใช้ความรู้สร้างสรรค์วิทยาการและความก้าวหน้าของตนเอง...
1
ในช่วง 2,000 กว่าปีที่แล้ว วิทยาการอันหลากหลายและยิ่งใหญ่ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ นครรัฐแห่งหนึ่ง...
3
นครรัฐนั้นได้ถูกหล่อหลอมมาจากอารยธรรมแบบกรีกโบราณ...
นครรัฐนั้นได้สร้างองค์ความรู้ในแบบของตนเองและขับเคลื่อนองค์ความรู้เหล่านั้นด้วยปัญญา...
และปัญญานั้นก็ได้สร้างสรรค์วิทยาการอันเป็นก้าวสำคัญของมนุษยชาติ...
สถาปัตยกรรม...
ประติมากรรม...
การละคร...
การแพทย์...
1
ปรัชญา...
การศึกษา...
ประวัติศาสตร์...
คณิตศาสตร์...
ประชาธิปไตย...
ศาสตร์เหล่านี้ได้กำเนิดและพัฒนาจากเหล่าผู้ทรงปัญญาของนครรัฐนั้น...
นครรัฐที่มีชื่อว่า "เอเธนส์ (Athens)"
ผู้ซึ่งได้รังสรรค์อัตลักษณ์แห่งความเป็นตะวันตก...
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง...
ภาพจาก Wallpaper Flare
ก่อนอื่นผมขอเล่าถึงความเป็นมาของนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์กันซักหน่อย...
โดยเอเธนส์เป็นนครรัฐที่รับอารยธรรมมาจากกรีกโบราณ โดยกรีกโบราณที่ว่านี้มีต้นกำเนิดที่เกาะครีตซึ่งอยู่ในทะเลอีเจียน...
และเมื่ออารยธรรมบนเกาะครีตล่มสลายลง ก็ได้มีชาว "ไมซิเนียน" รับเอาวัฒนธรรมของครีตไปสานต่อในบริเวณคาบสมุทรเพโลพอนเนซุส...
แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีกลุ่มคนสองกลุ่มได้เข้ามาบริเวณที่ไมซิเนียนอยู่
กลุ่มแรกคือพวก "ดอเรียน" ที่เข้ามาแบบเลือดร้อน ใช้กองทัพเข้าถล่มไมซิเนียนแล้วตั้งนครรัฐของตนเอง ซึ่งในภายหลังมีมาเฟียใหญ่คือ "นครรัฐสปาร์ตา (Sparta)"
และอีกพวกหนึ่งคือ "ไอโอเนียน" ที่เข้ามาแบบเนิบๆ ทยอยกันอพยพเข้ามา ซึ่งบริเวณที่มีไอโอเนียนชุกชุมมากที่สุดคือแคว้นอัตติกา...
2
ไอโอเนียนก็เริ่มแทรกซึมพร้อมหลอมรวมวัฒนธรรมกับไมซิเนียนในบริเวณอัตติกา จนเกิดนครรัฐต่างๆ ขึ้นมากมาย...
และศูนย์กลางอำนาจของอัตติกาและชาวไอโอเนียนนั้น คือนครรัฐที่ชื่อว่า "เอเธนส์ (Athens)" นั่นเอง...
ภาพจาก Wikimedia Commons (แคว้นอัตติกา ที่ตั้งของเอเธนส์)
บริเวณอัตติกา ซึ่งชาวไอโอเนียนได้เข้ามานี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ ไม่ได้มีความอุดมสมบูรณ์มาก ทำเกษตรได้แค่พอถูไถ ส่งผลให้ใครที่จะทำเกษตรต้องดิ้นรนต่อสู้อยู่พอสมควร
1
แล้วอัตติกามีอะไรโดดเด่นกันล่ะ?
เผอิญว่าถึงแม้การเกษตรจะไม่รุ่ง แต่เหล่าไอโอเนียนได้ค้นพบขุมทรัพย์อันแสนวิเศษในดินแดนนี้อย่าง "ดินสีแดง" ซึ่งมีไอโอเนียนหัวไสที่ริเริ่มนำเอาดินแดงนี้ไปทำเครื่องปั้นดินเผาแล้วดันขายได้เป็นเทน้ำเทท่า...
2
ดินสีแดงจำนวนมหาศาลในอัตติกา จึงถูกนำมาใช้สร้างหัตถกรรมใหม่อย่างเครื่องปั้นดินเผา ผนวกกับอัตติกาติดกับทะเลอีเจียน ซึ่งการค้าขายทางเรือในแถบนั้นก็บูมพอสมควร อีกทั้งงานวาดภาพก็ยังเจริญตีคู่มากับเครื่องปั้นดินเผา ทำให้สินค้าของอัตติกามีความเป็นเอกลักษณ์สวยงามไม่เหมือนใคร เป็นที่ต้องการของนานาชาติสูงมาก
1
งานหัตกรรมนี้จึงสร้างรายได้อย่างถล่มทลายให้กับแคว้นยาจกนี้ จนแปรสภาพเป็นแคว้นมหาเศรษฐีภายในเวลาไม่นาน...
1
อีกทั้งถึงแม้พืชอื่นๆ จะปลูกไม่ค่อยขึ้น แต่ทว่าพืชที่เรียกว่า "โอลีฟ" กลับเติบโตและนิยมปลูกมาก ซึ่งมีการแปรรูปกลายเป็นน้ำมันมะกอกและเป็นสินค้ายอดนิยมเช่นเดียวกัน...
2
และการค้านี้ได้ทำให้ศูนย์กลางของอัตติกาอย่างเอเธนส์กลายเป็นนครรัฐที่ร่ำรวยที่สุดของกรีกในยุคสมัยนั้น
1
แต่ทว่า ลักษณะของเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ชนชั้นสูงและขุนนางต่างกดดันให้เหล่าผู้นำสร้างนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง ส่งผลให้ประชากรกรีกส่วนใหญ่ซึ่งเป็นแรงงานดันไม่ได้ผลประโยชน์เท่าที่ควร
3
คราวนี้แหละครับ เหล่าพ่อค้าที่เริ่มรวยจากธุรกิจการค้าจึงมีการพยายามสร้างแนวคิดและเรียกร้องระบอบการปกครองรูปแบบใหม่ที่จะเข้ามาเป็นตัวยกเลิกการผูกขาดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงในเอเธนส์...
1
ภาพจาก ilformichiere (รูปแบบเครื่องปั้นดินเผาของอัตติกา)
การปกครองเริ่มแรกในเอเธนส์ก็เหมือนกับที่อื่นๆ ที่มีกษัตริย์เป็นผู้นำ แต่ระบบนี้หายไปจากเอเธนส์ได้อย่างไรนั้น เรื่องของเรื่องคือมีกษัตริย์ชื่อว่า "โคดรุส" ที่นำเอเธนส์เข้าทำสงครามกับพวกดอเรียนอย่างดุเดือด
โดยในช่วงนั้นพวกดอเรียนได้เข้ามาล้อมเมืองเอาไว้แล้ว ซึ่งโคดรุสก็ได้ใช้ความบ้าระห่ำนำทหารลอบบุกเข้าไปในค่ายของพวกดอเรียนที่อยู่นอกเมืองแล้วเข้าตีจนพวกดอเรียนแตกกระเจิงกันออกไป
1
แต่ทว่า โคดรุสก็ดันตายจากวีรกรรมอันบ้าบิ่นในครั้งนี้ ซึ่งแลกกับการป้องกันเมืองเอาไว้ได้ ทำให้ชาวเอเธนส์ยกย่องโคดรุส "เปรียบเหมือนเทพเจ้าและคงไม่มีใครที่สามารถมาแทนที่เขาคนนี้ได้อีกแล้ว!"
4
ทำให้ตำแหน่งกษัตริย์จึงถูกยกเลิกไปแบบดื้อๆ เปลี่ยนผู้นำสูงสุดเป็นตำแหน่งที่เรียกว่า "อาร์คอน" แทน ซึ่งจะมาจากการเลือกของเหล่าชนชั้นสูง...
2
คราวนี้ในสมัยต่อมาอำนาจจึงเริ่มอยู่ในมือกลุ่มคนกลุ่มน้อย มีการกดขี่เอารัดเอาเปรียบและยึดที่ดินทำมาหากินของชาวนาในเอเธนส์เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับชนชั้นสูง
ชาวนาที่เดือดร้อนก็ต่างพากันรวมตัวประท้วงต่อต้าน...
และพ่อค้าที่ร่ำรวยก็ใช้โอกาสนี้เรียกร้องให้เปลี่ยนการปกครองโดย "ใช้ความร่ำรวยเป็นเกณฑ์ คนที่รวยมากก็มีสิทธิ์ที่จะปกครองมากไปด้วย"
ความวุ่นวายในเอเธนส์เริ่มทวีขึ้นไม่หยุดหย่อน จนกระทั่งมีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า "โซลอน (Solon)" ซึ่งไต่เต้าตัวเองสู่ชนชั้นสูงและสามารถกลายเป็นอาร์คอนได้
1
โดยโซลอนมองเห็นปัญหาว่า "การให้กลุ่มคนกลุ่มเดียวปกครองอยู่แบบนี้ จะทำให้เอเธนส์เละตุ้มเป๊ะแน่นอน เพราะผลประโยชน์ในเอเธนส์มีความหลากหลายมากเกินไป ทางออกที่ดีที่สุดคือการให้คนหมู่มากเป็นผู้ปกครอง"
1
ว่าแล้วโซลอนก็พยายามยกฐานะของคนในสังคมให้ขึ้นมาเสมอเท่าเทียมกัน และใช้วิธีผ่อนปรนยอมรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชนส่วนมาก แต่ก็พยายามไม่ให้กระทบผลประโยชน์ของชนชั้นสูง
3
นโยบายของโซลอนกลับกลายเป็นว่า "คนรวยก็ส่ายหน้า คนจนก็ส่ายหัว" ทำให้การเปลี่ยนรูปแบบการปกครองยังไม่ค่อยกระเตื้องซักเท่าไหร่ (แต่ถือว่าเป็นการบุกเบิกที่ดี)
ซึ่งถึงแม้จะหมดยุคของโซลอนแล้ว ปัญหาในเอเธนส์ก็ยังไม่จบไม่สิ้น ชนชั้นสูงก็ยังเอื้อผลประโยชน์ตนเอง พ่อค้าและชนชั้นล่างก็ยังเรียกร้องกันต่อไป...
อีกทั้งการขยายพื้นที่การค้าของเอเธนส์ดันไปทับเส้นกับมหาอำนาจอีกฟากหนึ่งอย่างสปาร์ตา ทำให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่ทำมาหากินของทั้งสองนครรัฐ เรียกได้ว่า เอเธนส์ในช่วงเวลานี้มีปัญหาทั้งภายในและภายนอกเลยทีเดียว
จนมาถึงในสมัยของอาร์คอนที่ชื่อว่า "ไคลเธนีส (Cleisthenes)" ที่เข้ามาจบปัญหาการแย่งดินแดนกับสปาร์ตา และเริ่มเปลี่ยนแปลงเอเธนส์อย่างถึงรากถึงโคนโดยใช้แนวคิดของโซลอนเป็นพื้นฐาน...
โดยในขั้นแรกไคลเธนีสทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในเอเธนส์ก่อน โดยการแบ่งประชากรออกเป็น 2 แบบ ได้แก่...
1) พลเมือง (Citizens) ซึ่งเป็นประชากรของเอเธนส์ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
4
2) ไม่ใช่พลเมือง (Non - Citizens) จะเป็นพวกชาวต่างชาติและทาส
โดยไคลเธนีสได้กำหนดให้พลเมืองชายในเอเธนส์มีสิทธิในการเลือกตั้งผู้นำให้เข้ามาปกครอง และมีสิทธิออกเสียงกำหนดนโยบายต่างๆ ภายในเอเธนส์ได้อีกด้วย...
1
อีกทั้งไคลเธนีสยังสร้างระบบที่เรียกว่า "ออสตราซิสม์ (Ostracism) ซึ่งจะให้ประชาชนเขียนชื่อนักการเมืองที่คิดว่าอาจเป็นอันตรายต่อเอเธนส์ โดยหากนักการเมืองคนไหนมีผู้ลงชื่อเกิน 6,000 คน ก็จะถูกเนรเทศออกจากเอเธนส์ ซึ่งระบบนี้สร้างเพื่อป้องกันไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งมีอำนาจมากเกินไปนั่นเองครับ...
6
การเปลี่ยนระบบโครงสร้างการเมืองเหล่านี้ของไคลเธนีส ทำให้เอเธนส์ก้าวเข้าสู่ระบบการปกครองแบบใหม่ที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่และเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับเอเธนส์ในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก
และแล้ว การปกครองโฉมใหม่นามว่า "ประชาธิปไตย (Democracy)" ที่ไม่เคยมีที่ใดในโลกทำมาก่อนก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในที่สุด...
1
ภาพจาก Excellence Reporter (โซลอน)
ภาพจาก Kanopy (ไคลเธนีส)
การค้าที่รุ่งเรืองผนวกกับประชาธิปไตย ที่หลังจากหมดยุคไคลเธนีส ระบอบนี้ก็ยังคงดำเนินและพัฒนาต่อ และเหล่าประชาชนในเอเธนส์ต่างเริ่มมองเห็นทีละเล็กละน้อยว่า "ระบอบนี้มันเข้ากันกับพวกเราจริงๆ"
การเปลี่ยนแปลงชนชั้นที่มีเพียงแค่พลเมืองและไม่ใช่พลเมืองก็ยิ่งทำให้ผลประโยชน์ต่างๆ มีการกระจายตัวมากยิ่งขึ้น พวกพ่อค้า ชนชั้นกลาง ช่างฝีมือก็มีสิทธิ์ในการกำหนดนโยบายการค้าของตนเองได้
จนเวลาล่วงเลยไปกว่า 100 ปี การปกครองของเอเธนส์ได้ก้าวนำนครรัฐอื่นๆ ไปพอสมควร และประชาธิปไตยก็ได้เอื้อให้คนเอเธนส์มีอัตลักษณ์ที่ต่างจากชาวบ้านชาวช่องอีกด้วย
เนื่องจาก ความเป็นอยู่ของชาวเอเธนส์จะต่างจากประชากรในเมืองใหญ่อื่นๆ โดยพลเมืองเอเธนส์ส่วนใหญ่จะมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ การแต่งกายก็ธรรมดาสุดๆ ไม่ได้หรูหราอลังการอะไรมากมาย...
1
เรียกได้ว่า พลเมืองเอเธนส์ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ต้องการ "เงินทองหรือความมั่งคั่ง" แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการที่สุดคือ "เวลาว่าง"
3
ซึ่งเวลาว่างที่ว่าชาวเอเธนส์ก็ได้เอาไปใช้เพลิดเพลินกับการพูดคุยกันนั่นเองครับ...
4
และ Topic ที่ใช้ในการพูดคุยนั้นไม่ใช่เรื่องซุบซิบนินทาชาวบ้าน แต่กลับเป็นเรื่องการเมือง ศิลปะ กฎหมาย ประวัติศาสตร์ และปรัชญา เรียกได้ว่าสิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นความบันเทิงสำหรับชาวเอเธนส์เลยทีเดียว (ใครที่ไม่พูดคุยเรื่องเหล่านี้อาจจะถือว่าตกเทรนด์ก็ได้)
5
ทำให้ชาวเอเธนส์ต่างเริ่มให้ความสำคัญกับการเสาะแสวงหาความรู้และปัญญาแบบสุดๆ โดยเฉพาะในสมัยผู้นำที่ชื่อว่า "เพริคลีส (Pericles)" ที่เริ่มมีการสร้างโรงเรียนและหลักสูตรการศึกษาตามแบบฉบับของเอเธนส์
1
โดยเด็กผู้ชายจะเริ่มไปโรงเรียนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ซึ่งจะเน้นเรียนวิชาดนตรี วาดเขียน การอ่าน คณิตศาสตร์ รวมถึงเรียนกีฬาอย่างยิมนาสติก มวยปล้ำ ว่ายน้ำ และยิงธนู ซึ่งจะเรียนจนถึงอายุ 16 ปี โดยทั้งหมดนี้คือเรียนฟรี...
5
แต่หลังจากอายุ 16 ใครที่อยากเรียนต่อก็ต้องหาเงินเรียนเอาเอง โดยจะมีเหล่าปรมาจารย์ที่เรียกว่า "โซฟิสต์ (Sophists)" เปิดสำนักต่างๆ สอนพวกวิชาขั้นสูงอย่างการพูด ปรัชญา กฎหมาย ประวัติศาสตร์ (แต่ค่าสอนค่อนข้างแพงทีเดียว)
1
อย่างไรก็ตาม การศึกษาในยุคของเพริคลีสก็ได้ทำให้ในสมัยต่อมา เอเธนส์เริ่มมีประชากรที่ตกผลึกด้านความรู้และปัญญา ก่อกำเนิดปรัชญารวมถึงวิทยาการต่างๆ นับไม่ถ้วน
1
ไม่ว่าจะเป็น "โสเครตีส (Socrates)" ซึ่งเป็นผู้จุดไฟการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสนทนาและถามตอบ เป็นสะพานแห่งการเรียนรู้ของเหล่าปัญญาชนเอเธนส์ในรุ่นต่อไป...
1
"เพลโต (Plato)" ผู้ซึ่งสนใจในเรื่องความยุติธรรม พยายามอธิบายลักษณะของรัฐและการปกครอง จนคลอดหนังสือการเมืองเล่มแรกของโลกออกมาอย่าง "The Republic"
2
"อริสโตเติล (Aristotle)" นักคิดผู้ค้นพบกฎอันสำคัญอย่าง "ตรรกศาสตร์ (Logic)"
ไม่เพียงเท่านั้นเอเธนส์ไม่ได้เก็บองค์ความรู้เหล่านี้ไว้เพียงผู้เดียว แต่กลับมีโครงการใหญ่โดยการส่งโซฟิสต์เดินทางไปให้ความรู้ทั่วทั้งแผ่นดินกรีก ทำให้ความเป็นเอเธนส์ขยายและเริ่มกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมในแต่ละพื้นที่จนก่อเกิดวิทยาการในแบบอื่นๆ เช่นเดียวกัน
2
ทั้งเรื่องของการแพทย์แผนตะวันตกที่กำเนิดโดย "ฮิปโปเกรตีส (Hippocrates)"
1
เรื่องคณิตศาสตร์อย่างพีทาโกรัสและฟิสิกส์อย่างแรงลอยตัวก็ได้มีการค้นพบและพัฒนาขึ้นมา...
1
รวมถึงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบก็ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดย "เฮโรโดตัส (Herodotus)"
1
และแม้กระทั่งภูมิศาสตร์ก็มีชายที่ชื่อว่า "เอราทอสเทนีส (Eratosthenes)" ที่เริ่มคำนวณเส้นรอบโลกและตั้งข้อสังเกตว่าโลกกลม
2
จะเห็นได้ว่า วัฒนธรรมกระหายในความรู้และการสร้างปัญญาของเอเธนส์ซึ่งได้กระจายไปทั่วทุกมุมของกรีก ทำให้ก่อเกิดวิทยาการที่ทำให้อารยธรรมกรีกและมนุษย์ก้าวกระโดดไปข้างหน้าหลายก้าวเลยล่ะครับ...
ภาพจาก Rafael (โรงเรียนในเอเธนส์)
ภาพจาก No Sweet Shakespeare (เพริคลีส)
ภาพจาก The Times (โสเครตีส อริสโตเติล เพลโต)
ภาพจาก writingandbreathing (ฮิปโปเกรตีส)
ภาพจาก iStock (เฮโรโดตัส)
อย่างที่เคยเล่าไปในตอนต้นครับว่า เอเธนส์เป็นนครรัฐที่มีจุดเด่นทางด้านการค้าจนเรียกได้ว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของกรีกในช่วงเวลานั้น ความร่ำรวยก็ได้ผลักดันให้งานศิลปะรุ่งเรืองไม่ต่างจากการศึกษา
1
ในส่วนของงานศิลปะอย่างประติมากรรมนั้นก็สะท้อนถึงตัวตนของคนเอเธนส์โดยมองว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่สุด แม้แต่รูปปั้นเทพเจ้าก็ยังปั้นให้เป็นรูปร่างของมนุษย์ ในอีกแง่คือการบูชาเทพเจ้าของเอเธนส์ก็เปรียบเสมือนการบูชาตัวเองมากกว่า
2
ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นอธีนาในวิหารพาเธนอน...
รูปปั้นซุสในวิหารโอลิมเปีย...
หรือรูปปั้นเฮอร์มีส...
ซึ่งล้วนแสดงรูปลักษณ์ของมนุษย์ และแน่นอนว่าแนวคิดเหล่านี้เอเธนส์ก็ได้ส่งออกไปยังดินแดนอื่นๆ ของกรีกด้วยเช่นกัน
1
แม้แต่งานละครที่เป็นสิ่งรื่นเริงก็ถูกพัฒนาเช่นกัน มีการสร้างโรงละครกลางแจ้ง พร้อมสร้างสรรค์ละครสองแบบ คือ สุขนาฏกรรม (Comedy) และโศกนาฏกรรม (Tragedy)
1
หรือในงานสถาปัตยกรรมก็โดดเด่นสุดๆ มีการสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างหัวเสาสามแบบคือ ดอริค ไอโอนิค และโครินเธียน ซึ่งกลายเป็นงานอมตะที่ถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน...
1
ภาพจาก History.com (รูปปั้นอธีนาในวิหารพาเธนอน)
ภาพจาก Greece High Definition (รูปปั้นซุสในวิหารโอลิมเปีย)
ภาพจาก Deposit Photos (รูปปั้นเฮอร์มีสที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน)
ภาพจาก Museo Omero (หัวเสาสามแบบ ดอริค ไอโอนิค และโครินเธียน)
ภาพจาก sumfinity (โรงละครกลางแจ้ง)
ภาพจาก Greek Reporter (จำลองวิหารพาเธนอนในสภาพสมบูรณ์)
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและวิทยาการได้ส่งให้เอเธนส์ก้าวเป็นมหาอำนาจอีกขั้วหนึ่งในแผ่นดินกรีก แต่ทว่าความเจริญนั้นก็ดันไปขัดหูขัดตามหาอำนาจอีกขั้วอย่างสปาร์ตาเข้า...
การกระทบกระทั่งของเอเธนส์และสปาร์ตามีขึ้นตลอดตั้งแต่ก่อตั้งจนพัฒนานครรัฐ แต่ทั้งสองก็ยังสู้รบแบบลองเชิงเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีความต้องการเปิดสงครามประจัญหน้ากันแบบเต็มที่ หรือแม้กระทั่งมีความคิดในการรวมกรีกเป็นหนึ่งเดียว (หรืออาจจะมีคิดบ้าง แต่ไม่สามารถทำได้)
ความขัดแย้งของทั้งคู่เริ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการพัฒนาประชาธิปไตยรวมถึงการส่งออกความคิดทางวัฒนธรรมในแบบฉบับเอเธนส์ไปยังที่ต่างๆ ยิ่งทำให้สปาร์ตาเพ่งเล็งมากยิ่งขึ้น เพราะความเป็นเอเธนส์ที่ตรงข้ามกับสปาร์ตาแบบสุดขั้วย่อมส่งผลร้ายแรงต่ออำนาจและการคงอยู่ของสปาร์ตา...
1
แต่ทว่า ก่อนที่สปาร์ตาจะตัดสินใจบวกกับเอเธนส์ให้รู้แล้วรู้รอด ดันมีมหาอำนาจจากต่างแดนที่ชื่อว่า "เปอร์เซีย (Persia)" แผ่แสนยานุภาพเขาสู่แผ่นดินกรีก
1
ทำให้ทั้งเอเธนส์ สปาร์ตา รวมถึงนครรัฐอื่นๆ ของกรีกจำเป็นต้องจับมือรวมพลังกันเพื่อปกป้องมาตุภูมิ และต่อต้านวายร้ายจากต่างแดนนี้
1
และเหตุการณ์นี้ ก็ได้นำพาประวัติศาสตร์ไปสู่มหาสงครามแห่งยุคโบราณอย่างสงครามกรีก - เปอร์เซียในที่สุด (ซึ่งผมขออนุญาตเล่าในภายหลัง)
3
ภาพจาก Persians Are Not Arabs (ขนาดพื้นที่อำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซีย)
ความรู้และปัญญาได้นำพาให้เอเธนส์ก้าวสู่นครรัฐที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างยากที่จะหาที่ใดในโลกเหมือนในช่วงเวลานั้น...
1
ขุมปัญญาของเอเธนส์ยังได้กระจายไปทั่วแผ่นดินกรีก จนสร้างภาพลักษณ์ให้กรีกกลายเป็นอารยธรรมแห่งวิทยาการและความก้าวหน้า...
ถึงแม้เอเธนส์หรืออารยธรรมกรีกจะล่มสลายลง แต่ทว่า องค์ความรู้ รวมถึงวิทยาการที่เอเธนส์ได้ริเริ่มเอาไว้ ได้ถูกส่งไม้ต่อไปยังอารยธรรมมหาอำนาจของโลกในอนาคตอย่างโรมัน...
2
และโรมันก็ได้ส่งทอดไปสู่อาณาจักรต่างๆ ในยุโรป...
1
ซึ่งยุโรปได้พัฒนาต่อยอดอย่างก้าวกระโดดในช่วงฟื้นฟูศิลปวิทยาการ...
1
ความเป็นกรีกและเอเธนส์ก็ได้ถูกหลอมรวมกับความเป็นยุโรป จนรังสรรค์ออกมาเป็นอัตลักษณ์แห่งตะวันตก...
1
อีกทั้งอัตลักษณ์นั้นก็ได้กระจายไปทั่วทุกมุมโลกในยุคของการล่าอาณานิคม...
1
จากอดีตกาลนานสองพันกว่าปี ความเป็นกรีกและเอเธนส์ก็ยังคงเดินทางผ่านกาลเวลามายังปัจจุบันรวมถึงอนาคตอย่างไร้ที่สิ้นสุด...
1
ภาพจาก iStock
References
Boardman, John. The Oxford History of Greece and the Hellenistic World. Oxford : Oxford University Press, 1991.
Cartledge, Paul. Ancient Greece: A History in Eleven Cities. Oxford : OUP Oxford, 2009.
Clark, Bruce. Athens : City of Wisdom. Oakland : Pegasus Books, 2022.
ประวัติศาสตร์
115 บันทึก
75
1
63
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
“อารยธรรมกรีก (Greek Civilization)” ประวัติศาสตร์การสร้างความเป็นตะวันตก
Europe Story
115
75
1
63
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย