Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Storyteller
•
ติดตาม
5 เม.ย. 2022 เวลา 11:05 • ประวัติศาสตร์
“สปาร์ตา (Sparta)” นครรัฐผู้สร้างอุดมการณ์แห่งนักรบ
1
ตายเสียดีกว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างผู้แพ้
อุดมการณ์สปาร์ตา
3
เกียรติ เป็นสิ่งที่หลอมรวมระหว่างชื่อเสียง การยอมรับ และความยกย่องนับถือ...
1
เกียรติ เป็นตัวกำหนดการมีตัวตนและสถานะของบุคคลในสังคม...
1
ผู้ที่ไร้ซึ่งเกียรติ ย่อมไร้ซึ่งการยอมรับของสังคม...
1
และแต่ละสังคม ก็มีมาตรฐานของเกียรติที่แตกต่างกัน...
1
บางสังคมเกียรติขึ้นอยู่กับทัศนคติและปัญญา...
1
หรือบางสังคมเกียรติขึ้นอยู่กับปริมาณของทรัพย์สินและเงินตรา...
1
ทุกท่านครับ เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของสังคมหนึ่งที่หล่อหลอมมาจากอารยธรรมแบบกรีกโบราณ...
1
สังคมที่ก่อร่างกลายเป็นนครรัฐเล็กๆ สู่มหาอำนาจผู้ยิ่งใหญ่...
สังคมที่ไม่ได้นิยามเกียรติของตนเองด้วยปัญญาหรือเงินตรา...
แต่นิยามเกียรติของตนเองจากร่างกายและความแข็งแกร่ง...
และเกียรติของสังคมนี้ไม่ได้เพียงกำหนดตัวตน สถานะ และการยอมรับเท่านั้น...
แต่เป็นตัวกำหนดชีวิตและความเป็นความตายของบุคคลในสังคม...
สังคมที่มีชื่อว่า "สปาร์ตา (Sparta)" อันเป็นนครรัฐผู้สร้างอุดมการณ์แห่งนักรบ...
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง...
ภาพจาก Sparta War of Empire
ก่อนอื่นขอย้อนกลับไปที่เรื่องราวการกำเนิดกรีกโบราณกันหน่อยนะครับ...
3
โดยอารยธรรมที่เรียกว่ากรีกโบราณนี้ได้กำเนิด ณ เกาะที่อยู่ในทะเลอีเจียนอย่างเกาะครีตซึ่งสร้างสรรค์อารยธรรมโดยชาว "ครีตัน"
1
และหลังจากครีตล่มสลายลงไป ก็มีกลุ่มคนจากแผ่นดินใหญ่ที่ชื่อว่า "ไมซิเนียน" รับเอาวัฒนธรรมแบบครีตไปใช้ในดินแดนของตนเองบ้าง ซึ่งดินแดนของไมซิเนียนอยู่ตรงจุดที่เรียกว่าคาบสมุทรเพโลพอนเนซุส...
แต่ทว่า เมื่อเวลาผ่านไปก็มีกลุ่มคนกลุ่มใหม่ที่ชื่อว่า "ดอเรียน" เข้ามาถล่มพวกไมซิเนียนจนราบคาบและกลืนเอาวัฒนธรรมของไมซิเนียนและครีต สร้างอารยธรรมของตนเองขึ้นมา
โดยพวกดอเรียนก็พากันกระจัดกระจายไปสร้างบ้านแปงเมืองของตนเองจนกลายเป็นนครรัฐที่มีอำนาจปกครองตนเองมากมายไปหมด
และหนึ่งในนครรัฐเหล่านั้น คือ "นครรัฐสปาร์ตา (Sparta)" นั่นเองครับ...
ภาพจาก National Geographic
ในช่วงเริ่มแรกของสปาร์ตานั้น เรียกได้ว่าไม่มีเค้าของความเป็นนครรัฐทหารหรือนักรบแบบเข้มข้นเลยซักนิดเดียว...
ตรงกันข้าม ชาวสปาร์ตันกลับเป็นพวกชอบความรื่นเริงสังสรรค์ ร้องเพลงเต้นรำเป็นชีวิตจิตใจ รวมถึงมีการบุกเบิกงานเพลงและงานศิลปะออกมาจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
เรียกได้ว่า การใช้ชีวิตมีความปกติธรรมดาไม่ได้มีความแตกต่างจากนครรัฐอื่นๆ เลยล่ะครับ...
แต่แล้ว เมื่อนครรัฐมีประชากรมากขึ้น เมืองก็ต้องมีการขยายใหญ่ขึ้น แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าสภาพที่ตั้งของสปาร์ตานั้นเป็นเมืองที่มีเทือกเขาล้อมรอบและห่างไกลจากทะเลพอสมควร ทำให้กลายเป็นเมืองที่ค่อนข้างตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ค่อยมีการติดต่อกับเพื่อนฝูงอื่นๆ
1
อีกทั้งในช่วงเริ่มแรกที่ชาวสปาร์ตัน (ซึ่งมีเชื้อสายดอเรียน) ได้เข้ามาในดินแดนนี้นั้น ไม่ได้เข้ามาแบบสันติ แต่เข้ามาแบบใช้กำลังทหารยึดดินแดนต่างๆ ทำให้ในภายหลังแม้จะยึดได้สำเร็จ แต่ก็มีเหล่ากบฏที่พยายามปลดแอกตนเองอยู่ตลอดเวลา
1
กลายเป็นว่านครรัฐสปาร์ตานั้นแทบไร้เพื่อน มีก็แต่ศัตรูภายนอกและภายในที่พร้อมจะบดขยี้ตลอดเวลา...
1
และแล้ว ผู้นำของชาวสปาร์ตาที่ชื่อว่า "ไลเคอร์กัส" ก็เริ่มมองแล้วว่า "หากปล่อยให้สปาร์ตาเป็นแบบนี้ต่อไป ในไม่ช้าคงโดนศัตรูถล่มจนย่อยยับแน่นอน" ว่าแล้วไลเคอร์กัสก็ปิ๊งไอเดียที่จะทำให้สปาร์ตาอยู่รอด...
1
ซึ่งการอยู่รอดของสปาร์ตาในภาวะแบบนี้นั้นคือการมีทหารที่แข็งแกร่ง...
1
ทำให้ไลเคอร์กัสตัดสินใจเขียนกฎหมายที่ชื่อว่า "ไลเคอร์เกียน" ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาสาระอย่างเช่น...
ผู้ชายจะต้องเข้ารับการฝึกทหารตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และเข้าเป็นทหารตอนอายุ 20 และปลดทหารตอนอายุ 60 ปี...
มีการสร้างอุดมการณ์ที่ต้องยึดถืออย่าง "การเป็นคนแข็งแรงและกล้าหาญถือว่าเป็นคนดี"
"การตายในสนามรบถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดของนักรบสปาร์ตา"
"มีชีวิตอยู่อย่างผู้แพ้ถือว่าเป็นความอัปยศ"
อีกทั้งยังมีการสั่งให้รื้อกำแพงเมืองทิ้งทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนนี่แหละที่จะต้องดิ้นรนปกป้องเมืองแทนกำแพงเมือง...
เมื่อเขียนกฎหมายเสร็จแล้ว ไลเคอร์กัสก็สั่งอย่างเด็ดขาดก่อนที่จะเดินทางไปติดต่อการทูตกับเมืองอื่นว่า "หากข้ายังไม่กลับมา ห้ามเปลี่ยนแปลงกฎเหล่านี้เด็ดขาด!"
3
ว่าแล้วไลเคอร์กัสก็ออกเดินทางและตัดสินใจอดอาหารจนตาย ไม่มีโอกาสกลับมาสปาร์ตาในที่สุด!
1
ทำให้กฎที่ไลเคอร์กัสสร้างไว้ คงอยู่กับสปาร์ตาอย่างไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา...
ภาพจาก Photo.com (นครรัฐสปาร์ตา)
ภาพจาก ThoughtCo (ไลเคอร์กัส)
คราวนี้แหละครับ หลังจากที่มีการใช้กฎหมายไลเคอร์เกียน วิถีชีวิตของชาวสปาร์ตันก็แปรเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
1
ศิลปะ บทเพลง และงานรื่นเริงได้ถูกลดความสำคัญลงไป การฝึกทหารได้เข้ามาแทนที่สิ่งเหล่านี้
ผู้ชายทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนและเข้าเป็นทหาร โดยจะมีการคัดเลือกตั้งแต่ตอนเกิดเลยล่ะครับ...
ขั้นแรกนั้นต้องมีการตรวจสภาพทารกชายที่เกิดมาว่ามีร่างกายครบถ้วนหรือไม่ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งพิการ จะถือว่าอ่อนแอ ทารกนั้นก็จะถูกโยนลงหน้าผาไป...
1
ขั้นต่อมาก็จะมีการตรวจสอบระบบหายใจ โดยการเอาทารกไปอาบเหล้าองุ่น หากทารกสำลักก็จะถือว่าอ่อนแอและถูกโยนลงหน้าผาไป...
ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ขั้นต่อไปก็จะตรวจสอบความอึดและความแข็งแกร่ง โดยการเอาทารกไปวางไว้บนหน้าผา 3 วัน 3 คืน หากรอดตายก็จะถือว่าทารกนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถเข้ารับการฝึกตามหลักสูตรทหารสปาร์ตาได้...
2
1
โดยพอเด็กชายอายุ 4 ขวบ ก็จะเริ่มได้รับการฝึกต่อสู้พื้นฐานจากครอบครัวก่อน...
1
จนเมื่ออายุ 7 ขวบ ก็ต้องเข้าโรงฝึกทหารแบบจริงจัง เรียนรู้การใช้อาวุธ การต่อสู้ รวมถึงวิชาการต่างๆ อย่างเข้มข้น...
ซึ่งอยู่ภายในโรงฝึกจนอายุ 12 ปี ก็จะถูกเอาไปปล่อยในป่าเพื่อเอาชีวิตรอดด้วยตัวเอง...
1
โดยจะต้องอยู่ในป่าเป็นเวลา 8 ปี! จนเมื่ออายุ 20 (หากรอดถึงตอนนี้) ก็จะเข้ารับการทดสอบที่เมื่อผ่านแล้วก็จะกลายเป็นทหารสปาร์ตันแบบเต็มตัว...
1
เรียกได้เลยว่า กว่าที่จะได้มาเป็นทหารแบบจริงๆ จังๆ นั้น ต้องผ่านการทดสอบและการฝึกที่โหดหินกว่า 20 ปี แต่หลักสูตรนี้ก็ได้ขัดเกลาให้คนๆ หนึ่งมีความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งในที่สุดผลลัพธ์ของมันก็ได้ให้กำเนิดนักรบที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งยุคสมัยขึ้นมา...
ภาพจาก ภาพยนตร์เรื่อง 300 (ทารกที่อ่อนแอจะถูกโยนลงหน้าผา)
ภาพจาก History.com (การฝึกฝนเพื่อเป็นนักรบสปาร์ตัน)
การขัดเกลานักรบสปาร์ตันยังไม่หมดเพียงแค่นั้นครับ ในทุกๆ ปีจะมีพิธีกรรมสุดโหดที่เรียกว่า "ฤดูกาลการล่าเฮลอท" โดยเล่าก่อนว่าภายในสปาร์ตานั้นมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่...
1
1) "สปาร์ตัน" ซึ่งเป็นพวกที่เป็นลูกหลานของชาวดอเรียนที่เข้ามาฮุบดินแดนนี้
2) "เพริโอไก" เป็นพวกที่เคยเป็นพันธมิตรกับชาวสปาร์ตัน แล้วภายหลังเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของสปาร์ตา
2
3) "เฮลอท" เป็นพวกเชลยศึกที่แพ้สงคราม มีจำนวนมากที่สุด แต่สถานะต่ำสุด ต้องใช้แรงงานแบบทาส
3
โดยพิธีกรรมที่ว่านั้นจะมีการให้เหล่านักรบสปาร์ตันที่กำลังอยู่ในหลักสูตรทำการไล่ฆ่าพวกเฮลอทภายในเมืองได้อย่างอิสระเสรี ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก หรือคนแก่
1
ซึ่งการล่าเฮลอทนี้เป็นการให้นักรบฝึกหัดได้เรียนรู้การฆ่าและไร้ความเมตตาเมื่ออยู่ในสนามรบจริง...
1
พิธีกรรมนี้ในอีกแง่หนึ่งคือการลดจำนวนของเฮลอทลง เนื่องจากสัดส่วนของประชากรของสปาร์ตาต่อเฮลอทนั้นอยู่ในระดับ 10 : 90 เรียกได้ว่าชาวสปาร์ตันแบบแท้ๆ นั้นมีน้อยมาก (แน่ล่ะครับ กว่าจะมาเป็นทหารจริงๆ น่าจะล้มหายตายจากไปหลายหมื่นคนแล้ว)
การล่านี้นอกจากจะเป็นการฝึกนักรบแล้ว ยังมีผลพลอยได้คือการควบคุมจำนวนประชากรเฮลอทไม่ให้มีมากจนเกินไปด้วย ป้องกันการลุกฮือขึ้นต่อต้านในภายหลัง...
เฮลอท
บางท่านอาจจะสงสัยว่าผู้ชายไปเป็นทหารหมด แล้วใครจะดูแลเรื่องปากท้องครอบครัว?
ตามความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ผู้ชายทุกคนต้องไปเป็นทหารครับ จะมีการงดเว้นให้ลูกชายคนแรกของแต่ละครอบครัวไม่ต้องไปเป็นทหาร โดยให้มีหน้าที่ดูแลครอบครัวและทาส
ส่วนผู้หญิงก็ไม่ได้นอนอยู่เฉยๆ ความแข็งแกร่งของร่างกายก็ถือว่าเป็นเกียรติและความสวยงามของหญิงสปาร์ตันเช่นเดียวกัน โดยจะต้องมีการเล่นกีฬาอย่างพุ่งแหลน วิ่ง มวยปล้ำ เพราะร่างกายที่ดีจะสามารถสร้างลูกชายที่แข็งแรงได้นั่นเอง...
1
โดยผู้หญิงจะมีสิทธิแต่งงานได้ตอนอายุ 20 ปี ส่วนผู้ชายคือ 30 ปี ซึ่งเมื่อแต่งงานแล้วเรียกได้ว่าผู้หญิงนั้นมีอิทธิพลในครอบครัวเหนือผู้ชายพอสมควรเลยล่ะครับ (เพราะผู้ชายจะใช้เวลาอยู่ในกรมทหารเป็นส่วนใหญ่) การเงินและสมบัติภายในบ้านต่างเป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่เป็นผู้จัดการ และสามารถใช้เงินได้อย่างอิสระเสรี...
3
ต่างกับผู้ชายที่ต้องฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา ห้ามมีการสังสรรค์ เพราะการมีร่างกายที่แข็งแกร่งคือเกียรติสูงสุดของชาวสปาร์ตัน
1
การกินที่มากเกินไปอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้ เกียรติก็จะหดหายไปด้วย สุดท้ายก็อาจโดนเนรเทศออกนอกเมือง ด้วยเหตุนี้การที่ชายชาวสปาร์ตันจะปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้อ้วนลงพุงนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยล่ะครับ...
1
ภาพจาก Loop Financial (การฝึกร่างกายของหญิงชาวสปาร์ตัน)
ภาพจาก Greek Herald
ในส่วนของการปกครองของสปาร์ตานั้นก็มาจากกฎหมายไลเคอร์เกียนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งครับ เพราะอำนาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่...
1) กษัตริย์ โดยสปาร์ตาจะพิเศษตรงที่มีกษัตริย์ปกครองพร้อมกัน 2 องค์ ซึ่งมีอำนาจเท่ากันและเหมือนกันทุกประการ
2) สภาซีเนท เป็นพวกที่ปลดเกษียณจากทหารแล้ว (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เรียกได้ว่าเป็นพวกอาวุโสเก๋าเกมทั้งหมด 23 คน ซึ่งพวกนี้มาจากการเลือกตั้ง (แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นคนเลือก)
1
3) สภาผู้แทนราษฎร จะเป็นผู้ชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยจะมีจำนวน 8,000 คน แต่จะมีหัวหน้า 5 คนที่เรียกว่า "อีเฟอร์" ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จะมีอำนาจเท่ากับกษัตริย์และสภาซีเนท
หากทุกท่านสังเกต จะเห็นได้ครับว่าการปกครองของสปาร์ตามีรูปแบบที่ผสมผสานรวมกันระหว่าง ระบอบกษัตริย์ + ชนชั้นสูง + ประชาธิปไตยนิดๆ ซึ่งอำนาจทั้งสามนั้นมีการคานกันอยู่ ไม่มีส่วนไหนส่วนหนึ่งที่มีอำนาจมากจนเกินไป หากมีการตัดสินใจในเรื่องอะไรก็แล้วแต่ หน่วยงานทั้งสามก็ต้องมาจับเข่าคุยกันอยู่ตลอดเวลา...
2
ภาพจาก Haiku Deck (ระบบอำนาจของสปาร์ตา)
อย่างที่เล่าไปในช่วงต้นครับว่า สปาร์ตานั้นมีศัตรูอยู่รอบด้านยั้วเยี้ยเต็มไปหมด อีกทั้งสปาร์ตาในช่วงนั้นก็ยังเป็นเพียงนครรัฐโนเนม โดยในคาบสมุทรเพโลพอนเนซุสนั้น ผู้ที่เป็นมาเฟียใหญ่เลยคือ "อาร์กอส"
หลังจากที่มีการฝึกทหารตามแบบฉบับไลเคอร์เกียนไม่กี่ปีนั้น สปาร์ตาก็เกิดฮึกเหิมใจสู้มากขึ้น ด้วยความซ่าก็ได้ตัดสินใจยกทัพไปบวกกับอาร์กอส...
1
โดยผลที่ได้คือ "แพ้อาร์กอสแบบหลุดรุ่ย!"
2
แต่สปาร์ตาก็ไม่ยอมเพียงแค่นั้นครับ กลับมาฝึกทหารของตนเองให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งในระหว่างนี้ก็ส่งทหารไปรบกับอาร์กอสอยู่เป็นช่วงๆ และก็แพ้แทบทุกรอบ...
การแย่งชิงอำนาจของสปาร์ตาและอาร์กอสดำเนินไปกว่า 100 ปี และสปาร์ตาก็แพ้ยับเยินแทบทุกที ทำให้สปาร์ตาเริ่มวางหมากใหม่โดยการเก็บเหล่านครรัฐอื่นๆ รอบๆ ตัวเองก่อน
ด้วยความสามารถของทหารสปาร์ตันนั้น ก็สามารถจัดการนครรัฐอื่นๆ ได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งเมื่อเก็บนครรัฐเหล่านี้จนเรียบแล้ว ก็ตัดสินใจเปิดสงครามกับอาร์กอสอีกครั้ง
2
และในท้ายที่สุด ชัยชนะก็เป็นของสปาร์ตา ซึ่งเมื่อพิชิตอาร์กอสได้แล้ว ก็ทำการเข้าควบคุมและรวมอำนาจนครรัฐต่างๆ ภายในบริเวณเพโลพอนเนซุสให้อยู่ภายใต้อำนาจของสปาร์ตา
เมื่อนครรัฐเหล่านี้อยู่ใต้อำนาจ สปาร์ตาก็ให้มีการส่งผู้ชายที่แข็งแรงมาเข้าหลักสูตรนักรบสปาร์ตันเช่นเดียวกัน ทำให้กองกำลังทหารในแบบฉบับสปาร์ตาเริ่มขยายใหญ่มากขึ้น
1
และแล้ว ก็ได้กำเนิดกองทัพอันยากที่ใครจะต้านทานได้ ทำให้สปาร์ตากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารเพียงหนึ่งเดียว ณ บริเวณคาบสมุทรเพโลพอนเนซุสในที่สุด...
แต่ถึงแม้จะขึ้นมาเป็นผู้นำนั้น สปาร์ตาก็มีลักษณะที่ชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากกว่า ไม่มีการเรียกบรรณาการจากนครรัฐอื่นๆ (เรียกแค่ผู้ชายมาเข้าหลักสูตรทหาร) แต่สิ่งที่สปาร์ตาซีเรียสเป็นอย่างมากก็คือการปกครอง...
โดยสปาร์ตาจะสนับสนุนอุดมการณ์แบบทหารโดยให้ชนชั้นสูง (ที่มาจากการฝึกทหาร) ได้เป็นผู้ปกครอง และไม่สนับสนุนการปกครองแบบที่ให้ประชาชนจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วม เพราะอาจจะทำให้เกิดการเรียกร้องต่างๆนานา เป็นอุปสรรคในการปกครองตามแบบฉบับสปาร์ตาได้...
และไม่รู้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือเทพเจ้าบงการ เมื่อบริเวณอัตติกา ซึ่งถัดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเพโลพอนเนซุส ได้มีนครรัฐหนึ่งที่เติบโตขึ้นมาและสร้างอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยซึ่งให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการปกครอง...
นครรัฐนั้นได้เติบโตและเข้าครอบครองบริเวณอัตติกาแทบทั้งหมด กลายเป็นมหาอำนาจอีกขั้วหนึ่งที่ชื่อว่า "เอเธนส์ (Athens)"
ไม่เพียงเท่านั้นเอเธนส์ยังมีการขยายอิทธิพลของตัวเองเข้าสู่คาบสมุทรเพโลพอนเนซุส
ทั้งสปาร์ตาและเอเธนส์ก็เลยเกิดการกระทบกระทั่งกันในที่สุด จนกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ของสองมหาอำนาจในยุคโบราณ (ซึ่งผมจะขอเล่าในภายหลัง)
ภาพจาก Wikiwand (แคว้นและนครรัฐต่างๆ ในบริเวณเพโลพอนเนซุส)
สงครามระหว่างสปาร์ตาและอาร์กอส
หลังการใช้กฎหมายไลเคอร์เกียน สปาร์ตาที่เป็นเพียงนครรัฐเล็กๆ ก็อาศัยการใช้อุดมการณ์แบบทหาร เชิดชูความแข็งแกร่งของร่างกายและความกล้าหาญเป็นเกียรติอันสูงสุด...
ทั่วทั้งชีวิตของชายชาวสปาร์ตาต่างหมกมุ่นอยู่กับการต่อสู้และดิ้นรนให้เป็นผู้ชนะ เพราะหากเป็นผู้แพ้ก็จะไร้ซึ่งเกียรติ และเมื่อไร้ซึ่งเกียรติทางเลือกสุดท้ายในการฟื้นฟูเกียรติของตนเองนั้นคือความตาย...
ทำให้การตายในสนามรบเพื่อสปาร์ตานั้น ถือเป็นเกียรติและปณิธานอันสูงสุดในชีวิตของชายชาวสปาร์ตัน...
การหล่อหลอมความสามารถของบุคคลทางด้านการรบตามอุดมการณ์แบบทหาร ทำให้สปาร์ตามีกองทัพที่อึดถึกทนและคุณภาพคับแก้วที่สุดในแผ่นดินกรีก...
แต่ทว่า การเน้นในด้านทหารอย่างเข้มข้นเพียงอย่างเดียว ผนวกกับการอยู่อย่างโดดเดี่ยว ทำให้อารยธรรมและภูมิปัญญาจากภายนอกไม่สามารถเข้ามาหลอมรวมภายในสปาร์ตาได้...
เมื่อเวลาผ่านไป นครรัฐอื่นๆ เริ่มเติบโตทางด้านปัญญาและศิลปวิทยาการ สวนทางกับสปาร์ตาที่เน้นด้านกำลังทหารเพียงอย่างเดียวทำให้ขาดความสมดุล...
2
อีกทั้งอุดมการณ์ของสปาร์ตา ก็ได้กัดกร่อนตัวมันเองไปเรื่อยๆ ความเป็นเผด็จการอันเข้มงวดต่อประชากรที่มีจำนวนมากอย่างเฮลอท ทำให้ความคับแค้นได้สะสมอยู่ภายในใจหมู่ชนเหล่านี้ กลายเป็นระเบิดเวลาภายในที่ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ...
อย่างไรก็ตาม แม้ในอนาคตสปาร์ตาจะล่มสลายลงไป แต่อุดมการณ์ทหารในแบบฉบับสปาร์ตาก็ได้ถูกถ่ายทอดต่อไปยังดินแดนอื่นๆ...
และจิตวิญญาณนักรบในแบบสปาร์ตาก็ยังคงแฝงอยู่ในอุดมการณ์ทางทหารทั่วโลกที่เกิดขึ้นในสมัยต่อมา...
และนี่ คือเรื่องราว “สปาร์ตา (Sparta)” นครรัฐผู้สร้างอุดมการณ์แห่งนักรบ
ภาพจาก Justanotheremperor
References
1
Boardman, John. The Oxford History of Greece and the Hellenistic World. Oxford : Oxford University Press, 1991.
Cartledge, Paul. Ancient Greece: A History in Eleven Cities. Oxford : OUP Oxford, 2009.
Cartledge, Paul. The Spartans : The World of the Warrior-Heroes of Ancient Greece. New York : Random House USA Inc, 2004.
https://www.britannica.com/place/Sparta
https://www.history.com/topics/ancient-history/sparta
https://oxfordre.com/classics/view
ประวัติศาสตร์
88 บันทึก
75
7
47
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
“อารยธรรมกรีก (Greek Civilization)” ประวัติศาสตร์การสร้างความเป็นตะวันตก
Europe Story
88
75
7
47
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย