Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขมานันทะในใจเรา - ชาติพันธุ์ภาวนา
•
ติดตาม
6 เม.ย. 2022 เวลา 01:49 • ปรัชญา
๘. ผู้นำ-ผู้ตาม และ ธรรมบรรยาย
ธรรมบรรยาย (บทคัดย่อชิ้นที่ ๔ - ๔๕)
ธรรมทั้งหลายปรากฏที่ใจ ใจนี่เหมือนพื้นดิน ธรรมทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้นานาชนิด ต้นข่อย ต้นหลิว ต้นมะพร้าว อะไรเหล่านี้ เปรียบประดุจกับธรรมทั้งหลาย
ธรรมทั้งหลายก็มีหลายลักษณะ มีหลายชนิด ดีก็มี ชั่วก็มี ดี ชั่ว นั้นเราว่าเอาเอง - มันขึ้นตามเรื่องตามราวที่มันเกิด - มันเกิดจากสิ่งแวดล้อม
ธรรมทั้งหลายก็ไม่ใช่ดี ใช่ชั่วอะไร สิ่งที่เกิดในใจ มันก็ไม่ใช่ดีใช่ชั่วอะไร ทุกข์ก็ดี สุขก็ดี มันก็ไม่ดีไม่ชั่ว ทุกข์ก็เหมือนต้นไม้ชนิดหนึ่ง สุขก็เหมือนต้นไม้ชนิดหนึ่ง แต่ทั้งสุขทั้งทุกข์เกิดที่ใจ เหมือนต้นไม้ทุกชนิดที่พื้นดินนี้
เรื่องของเรื่องหมายความว่า เราก็ต้องยอมรับว่า ธรรมทั้งหลายปรากฏที่ใจ แล้วธรรมทั้งหลายนั้นยึดถือให้ดีให้ชั่วไม่ได้จริงๆ เพียงแต่ยึดถือโดยสมมุติได้
สมมุติว่าเช่นเราบอกว่าต้นมะพร้าวต้นนี้มันสูงดี แต่ต้นหลิวก็เตี้ยลงมาหน่อย แต่อีกสักปีหนึ่งต้นหลิวอาจจะสูงกว่าก็ได้ มันเอาแน่ไม่ได้
ฉะนั้นความดีอะไรที่เกิดในใจนี้ ยึดถือไม่ได้ ดีไปดีมาเดี๋ยวมันชั่วเสียอีกแล้ว รักษาศีลอยู่ดีๆ เดี๋ยวไปโกรธเพื่อนเข้า กลายเป็นชั่วไปเสียอีกแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏนั้นมีธรรมลักษณะที่สำคัญถือว่าเปลี่ยนแปลงเอาแน่นอนไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นวิธีปฏิบัติธรรมทั้งหลาย คือการปล่อยวางเท่านั้นเอง มันไม่มีวิธีอื่นใดที่เหมาะสมเท่าวิธีนี้
ธรรมทั้งหลายมันปรากฏของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าจะยึดกันบ้างก็เลือกยึดธรรมที่ดีๆ ตามที่คนทั่วไปรู้สึก แล้วก็รอวันที่จะปล่อยวาง แต่ถ้าให้ปลอดภัยก็คือว่า ต้องรู้ว่าทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ มันเกิดตามเรื่องตามราวของมัน เราไม่มีสิทธิ์ที่จะบังคับ ให้มันสุขมาก สุขน้อย แต่เรามีสิทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น จจัดสรรเหตุปัจจัยให้พอเพียง
เหมือนว่าต้นมะพร้าวต้นนี้อยากให้มันโค่นลงนะ จะไปนั่งภาวนาอยู่มันก็โค่นไม่ได้ ต้องขุดรากมันออก หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เหตุ สร้างเหตุให้พอเพียง
ปฏิบัติธรรมนี้ บางทีเป็นเรื่องงมงายทั้งนั้น ถ้าไม่รู้ก็ทำมันไป ทีนี้ถ้าปฏิบัติโดยไม่รู้แล้ว ไม่น่าสงสัยเลยว่าจะต้องเกิดทุกข์ แล้วเป็นทุกข์ทางใจด้วย แต่ทุกข์ไม่ใช่อะไรอื่น ไม่รู้นั่นแหละเป็นทุกข์
ภาวะแห่งความไม่รู้อันนี้ ที่เบียดเบียนมนุษย์ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า คนอื่นเขาคิดว่าเรื่องอื่นเป็นมลทิน แต่เรานั้นกล่าวว่า ความไม่รู้แลเป็นยอดมลทิน
มลทินมีอันเดียวเท่านั้น อวิชชา รากเหง้าของมันอยู่นั่น
มลทินจริงคือความไม่รู้แจ้ง ดังนั้นถามว่าไม่รู้แจ้งอะไร ก็ไม่รู้แจ้งเข้าไปที่ใจ
จิตใจที่จริงมันไม่ใช่มลทิน จิตที่คิดถึงเรื่องที่เราเรียกว่า เลวๆ มันก็ไม่เลว ตัวจิตมันเลวที่ไหน การคิดถึงมันก็ไม่ใช่ความเลว แต่ความที่ไม่รู้ตัวว่าคิด ไอ้นี่เป็นมลทินละ เพราะว่าเมื่อไม่รู้มันนำไปสู่การกระทำที่ไม่คงเส้นคงวา นำไปสู่การกระทำที่เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวเมตตา เดี๋ยวโหดร้ายทารุณ ยุ่งใหญ่ ไอ้นี่คือยอดมลทิน
แต่เราไม่รู้ พอเราไม่รู้ - ทีนี้ทำอย่างไรให้รู้เสีย
เราต้องย้อนมาดู ดูให้รู้ว่าจิตอันหนึ่ง จิตแท้ๆ นั่นนะ จิตแท้ๆ ที่มันรู้สึกไม่ระแวง ไม่สงสัย เกลี้ยงๆ อิสระนั้นอันหนึ่ง ทีนี้ขณะไหนบ้างที่มันเริ่มจู่โจมเข้ามาแล้ว เกิดภาวะระส่ำระสายไม่ปกติสุข กลัว อิจฉา ต้องรู้ทันทีว่านี่ไม่ใช่จิตละ นี่มีอะไรบางอย่างเข้ามาแล้ว - ซุ่มดูตรงนี้ เพื่อให้รู้แจ้งเท่านั้นเอง เพื่อให้รู้แจ้งเท่านั้น ที่เราเฝ้าดูเพื่อให้รู้แจ้ง แต่ดูบ่อยๆ แล้วก็ดูวาระที่มันเกลี้ยง วาระที่มันโปร่ง แล้วดูนานเข้าๆ มันก็รู้เท่านั้นเอง มันก็รู้ว่าอ๋อ! มีเรื่องมีราวข้างใน เหตุทั้งหมดอยู่ข้างใน
...
ธรรมบรรยาย ณ วัดสนามใน นนทบุรี ขณะนั้นท่านเขมานันทะยังครองสมณะเพศ - ถอดเทปและจัดพิมพ์ (โรเนียว-เย็บเล่ม) โดยกลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม เมื่อ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๒
1 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ผู้นำ - ผู้ตาม
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย