7 เม.ย. 2022 เวลา 07:34 • ศิลปะ & ออกแบบ
วันเดย์ทริป ล่าตึกเมืองแปดริ้ว
เรานั่งรถไฟจากหัวลำโพงรอบเช้า คนน้อยก่อนช่วงสงกรานตร์รถใหม่ไทย ชื่นชมกับอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ(ต่อมาเรียกรวมกับอีกสถานที่ที่ชื่อหัวลำโพง)
แอพพลิเคชันขบวนรถไฟหรือเส้นทางท่องเที่ยวโดยรถไฟมีให้ดาวน์โหลดนะ แต่บางข้อมูลไม่อัพเดท
นอกจากอาคารริมทางรถไฟ บ้านชุมชนแออัด หลังจากหลุดบรรยากาศเมืองจะพบทุ่งนาและคลองสลับต้นไม้ บางทีมีคนแอบเผาสร้าง pm 2.5 แต่โดยรวมถือว่าดีอยู่
หลังแรกคือกลุ่มบ้านพักราชการใกล้วัดหลวงพ่อโสธร แปลงไปตามกาลเวลาและการใช้งาน
ถัดมาเป็นจวนผู้ว่าราชการมณฑลปราจีนบุรีเก่า สมัยนั้นแบ่งการปกครองต่างจากสมัยนี้ ชื่อถนนบางสายก็มาจากขุนนาง ผู้ดีหรือผู้ทำคุณให้เมือง แต่บางทีชื่อของชุมชนหรือถนนก็บ่งบอกถึงภาษาและความเฉพาะพื้นถิ่นให้สืบต่อ หากเรากางแผนผังเมืองจะพบความน่าสนใจ (แอบเมาท์กับทีม bluebangkok และรถรับจ้างว่า เมืองนี้ผังเมืองน่าเสียดาย โดนขนาบด้วยแม่น้ำกับเส้นทางจราจรคับแคบ มีการตัดผ่านแต่รถติดตลอด สร้างศูนย์ราชการกลางเมือง ไม่ขยายไปด้านนอก แต่ขยายที่อยู่ออกไปแทน การคมนาคมเลยมีปัญหา ช่วงเทศกาลจึงแออัดหรือการบังคับใช้จดรถริมทางจนขวางการจราจร)
ระเบียงพื้นไม้ที่ยื่นลอยออกจากผนังปูนด้านล่าง ที่มีมิติโค้งขนานไปกับด้านขวาง ลอยกลางอากาศโดยใช้คานไม้ด้านใต้ถ่ายน้ำหนักลงผนังด้านล่าง
ภายในมีความเอียงลาด น่ากลัวจากสภาพที่พบเล็กน้อย ไม้บางส่วนหรือบางโครงสร้างเริ่มเสื่อมสภาพให้เห็น เสียดายการจัดแสดงพื้นที่ภายในเกือบทั้งหมดเป็นไปในแบบ ราชการไทย จึงไม่ได้พบการใช้งานหรือจำลองวิถีชีวิต บรรยากาศหรือบอกเล่าผ่านทัศนียภาพที่ไม่ใช่เพียงข้อมูลพิมพ์ติดฝาผนังนาดใหญ่เกือบทุกด้านของห้อง และมีเกือบทุกห้อง โดยใช้พื้นหลังสีทองตัดตัวอักษรสีน้ำตาล จะมีน่าสนใจคือถาพเก่าที่ให้เห็นเค้าอดีตและการเชื่อมโยงเช่น การไหลของคณะฯมิชชันนารีทางการเผยศาสนาผ่านสถานศึกษา ร่วมกันกับ กทม. ที่มี โรงเรียนเครืออัสสัมชัญ เซนต์คาเบรียล ทางนี้มีโรงเรียน ผ้องกับทางเหนือที่มี มงฟอร์ด ทางชลบุรีก็มีรับกันไปตามเมืองท่าตอนในของแผ่นดินหลัก
เรือนรับรองด้านหลังเก่าพอกัน คาดว่าคงเป็นที่พักพนักงาน ปัจจุบันสองอาคารนี้ที่หันด้านข้างและด้านหน้ารับน้ำ ลมเย็น เป็นแหล่งเรียนรู้(ที่เงียบเชียบ)
เราเดินออกมาจากจวนผู้ว่าฯ บ้านพักสองข้างทางทึ่เป็นส่วนพักของราชการส่วนต่างๆตั้งขนานกัยถนนและริมน้ำ
เสียดายหลังคา
คล้ายบ้านแฝด ความน่ารักที่ติดกัน สีไม้ตัดปูนด้านบนและล่าง ที่เห็นเป็นพื้นที่ด้านหลังของอาคาร
เมื่อเดินต่อเนื่องมาจะพบโซนบ้านที่มีความเป็นกลุ่มก้อน เพราะเป็นเครือญาติ โดยมีอาคารสามหลังที่โดดเด่นเรียงติดกัน
หน้าบ้านบรรยากาศสวนร่มรื่น
ร้านคาเฟ่ในสวนหน้าบ้าน
รูปแบบด้านหน้าของอาคาร
ช่องลมระบายด้านใต้
ระเบียงไม้ยื่นออกจากแนวผนังรับน้ำหนัก
ได้มีโอกาสคุยกับคุณเจ้าของ ที่กลับมาทำบ้าน(ค่าดูแลบ้านเก่าค่อนข้างมาก) เปลี่ยนไม้บางจุดจึงเห็นบานไม้ที่มีจังหวะต่างกัน ช่วงโรคระบาดการทำงานในเมืองอย่างกรุงเทพฯ อาจไม่ตอบโจทย์ จึงเริ่มคิดกลับมาบ้านที่เคยอยู่ตินเด็กอีกครั้ง เป็นบ้านที่รับมาจากคุณตา ซึ่งเจ้าของที่แรกเริ่มมีนามสกุลเกี่ยวข้องกับ สิงหเสนีย์
เราลองสั่งเครื่องดื่มดับร้อนมานั่งจิบท่ามลางร่มไม้ มีออเดอร์จากแอพฯไรเดอร์มาบ้าง ร้านเพิ่งเปิดไม่นานแต่บรรยากาศดี แดดร่มๆ ใต้ต้นคูน กับสวนแห่งนี้น่ามาผ่อนคลาย
รั้วมีชื่อบ้าน
อาคารหลัก
เรือนรับรองด้านหน้า
หลังถัดมาเป็นบ้านโบราณ กึ่งยุคใหม่ไม่เก่ามาก แต่มีพื้นที่ อาคารด้านหน้าเป็นบ้านกึ่งปูนกึ่งไม้ ด้านอาคารหลักเป็นเรือนน่ารัก ส่วนก้านหลังสุดเป็นหอพักสมัยใหม่รายวันและรายเดือน
เดินต่อไป้เป็นบ้านหลังสุดท้ายของกลุ่มอาคาร ตั้งลึกจากรั้วริมถนนที่ด้านหน้าเป็นสวน
เราเดินผ่านแยกพบกับอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นครึ่งคล้ายย่านบางลำภูตรงถนนสะพานวันชาติ ที่เป็นอาคารรุ่นแรกๆในสยาม ฉอปเฮาส์รุ่นบุกเบิก
ไม่ไกลกันเป็นอาคารสร้างใหม่แบบถอดประกอบเลียนแบบบ้านไม้สมัยก่อน
เราเดินเลาะไปตามถนน พบกลุ่มบ้านชาวบ้านที่น่าสนใจ ทั้งไม้ ร้านค้า และยุคโมเดิร์น
ต้นไม้กับร้านชำ
คอนกรีตหล่อแบบโค้ง
ด้านข้างและด้านหน้าทำให้เกิดมิติน่ารัก
สุดท้ายแวะพักกินข้าวที่ร้าน มธุรสเรือนแพ ริมน้ำ
รสจัดคลายร้อน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา