10 เม.ย. 2022 เวลา 00:52 • สุขภาพ
ในช่วงนี้เราจะได้พบเห็นข่าวเกี่ยวกับเด็กทารกที่เกิดมาแล้วไม่มีผิวหนังบริเวณศีรษะหลังคลอด ซึ่งเป็นโรคที่เรียกกันว่า Aplasia cutis congenita (ACC)
คือ โรคที่เป็นมาแต่กำเนิดที่หายาก พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง และทุกเชื้อชาติ
6
โดยจะพบผิวหนังบริเวณศีรษะหายไป ในบางครั้งอาจจะมีส่วนของชั้นใต้ผิวหนัง หรือส่วนของกระดูกหายไปได้
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้
เช่น พันธุกรรม, การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ (โรคอีสุกอีใส โรคเริม ), ยา หรือ สารเคมีบางอย่าง (Methimazole, Carbimazole, Misoprostol, Valproic acid, โคเคน, กัญชา), การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนกำหนด, การเจริญเติบโตของผิวหนังที่ผิดปรกติในช่วงเอมบริโอ
อาการของโรค
มักพบลักษณะของผิวหนังที่หายไป 80%มักพบใกล้ๆกับกลางศีรษะ อาจเกิดบริเวณหน้า ลำตัว หรือแขนขาได้ อาจเกิดเป็นแผล 1 ตำแหน่ง หรือหลายตำแหน่งได้ ขนาด 0.5 cm หรืออาจขนาดใหญ่ถึง 10 cmได้ อาจพบเห็นแผลได้ตั้งแต่หลังคลอด แต่โดยทั่วไปแผลที่เป็นระหว่างอยู่ในครรภ์ สามารถหายได้ก่อนที่จะคลอด จึงพบเห็นเป็นลักษณะแผลเป็นหลังคลอดได้
ถ้าพบลักษณะ เส้นผมที่รอบล้อมแผลที่เป็นแผ่นเป็นลักษณะคล้ายปลอกคอ (Hair collar sign) อาจจะเป็นสัญญาณที่ให้ต้องตรวจหาความผิดปกติในศีรษะเพิ่มขึ้น เช่นภาวะ Encephalocoele, meningocoele ซึ่งแพทย์อาจจะทำการตรวจเพิ่มเติมเช่น รังสีเอกซ์หรือ CT เพื่อประเมินความรุนแรง
การรักษา
โดยปรกติแผลขนาดเล็กมักจะหายได้เองในเวลา 2-3สัปดาห์
ทำให้เกิดแผลเป็นได้ ผมอาจจะไม่ขึ้นบริเวณที่เป็นแผล
การดูแลรักษาที่ควรระวังคือ อาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ จึงต้องทำความสะอาดแผลอย่างระมัดระวัง รักษาด้วยยาฆ่าเชื้อ ถ้าเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน
 
ถ้าแผลขนาดใหญ่ จะรักษาด้วยการผ่าตัด
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับ aplasia cutis congenita หรือวิธีการรักษาเฉพาะบุคคลควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์อื่น ๆ
ที่มา: นพ.สุตศรัญย์ พรึงลำภู
โรงพยาบาลผิวหนังเขตร้อนภาคใต้จังหวัดตรัง
โฆษณา