Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
13 เม.ย. 2022 เวลา 13:21 • ธุรกิจ
อยากให้ธุรกิจสตรอง ต้องรู้ 5 เรื่องนี้
การที่จะรู้ได้ว่าธุรกิจของเราแข็งแรงดีหรือไม่ สามารถตรวจเช็กได้จากสภาพการเงินของบริษัท เพราะการเงินนั้นเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจนั่นเอง
ดังนั้น ถ้าอยากให้ธุรกิจอยู่ได้อย่างสตอง ก็ต้องดูงบการเงินให้เป็น เพื่อที่จะสามารถนำตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินนั้นไปบริหารจัดการธุรกิจของตัวเองได้ หรืออย่างน้อยๆ ใน 5 เรื่องนี้ ที่ควรต้องโฟกัสและทำความเข้าใจกับมันค่ะ
1. ยอดขาย (Sales)
1
ยอดขายหรือรายได้จากการขายคือแหล่งที่มาของเงินที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจ จะแสดงตัวตัวในงบกำไรขาดทุน ซึ่งผู้ประกอบการทุกคนล้วนให้ความสำคัญกันอยู่แล้ว
แต่ต้องระวังอย่ามัวโฟกัสแค่ยอดขายเพียงอย่างเดียว หากกิจการมีการขายแบบเชื่อ ก็ควรพิจารณาร่วมกับลูกหนี้การค้าประกอบ เพราะถ้ามีลูกหนี้เยอะ ความเสี่ยงจากการเก็บหนี้ไม่ได้ ก็เป็นจุดที่ต้องควบคุมให้ดีด้วยค่ะ
3
2. กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น (Gross Profit)
1
กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น ก็คือยอดขายหักด้วยต้นทุนสินค้าเพื่อขาย (Cost of Goods Sold) เป็นตัวเลขที่แสดงในงบกำไรขาดทุนเช่นเดียวกัน ซึ่งตัวเลขนี้จะสะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังมีกำไรจากการดำเนินงาน คือกำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น หักด้วยค่าใช้จ่ายดำเนินงานแล้ว จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพความสามารถในการจัดการ และกำไรสุทธิที่สามารถเจาะลึกถึงภาระการใช้สินเชื่อและผลตอบแทนของเจ้าของธุรกิจได้
3. ลูกหนี้การค้า (Account Receivable)
1
เป็นตัวเลขที่แสดงอยู่ในงบดุล การที่กิจการขายได้ยอดมากๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่หากเป็นการขายเชื่อ หรือการมีลูกหนี้การค้ามาก ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก ต้องพิจารณาระยะเวลาในการเก็บหนี้ด้วย
ถ้าลูกหนี้ใช้เวลานานกว่าจะจ่ายเงิน นั่นแปลว่าเงินในธุรกิจอาจจะติดขัดได้หรืออาจทำให้ภาระดอกเบี้ยสูงจนไม่เหลือกำไร ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการเก็บหนี้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย
4. เจ้าหนี้การค้า (Account Payable)
1
เป็นตัวเลขที่แสดงอยู่ในงบดุลเช่นกัน การที่ธุรกิจมีเจ้าหนี้การค้าจำนวนมาก อาจดูไม่ค่อยดีนัก แต่จริงๆ แล้วถ้าธุรกิจสามารถต่อรองระยะเวลาการจ่ายเงินและบริหารจัดการสภาพคล่องให้ดีได้ก็ถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะนั่นหมายถึง การได้สินค้ามาขายก่อนแต่ยังไม่ต้องจ่ายเงินออกไป
แต่ควรต้องบริหารเรื่องระยะเวลาจ่ายคืนเจ้าหนี้ให้สัมพันธ์กับระยะเวลาการเก็บหนี้จากลูกค้า และอาจมีวงเงินกู้หรือโอดีเพียงพอในการใช้งาน
5. สินค้าในสต็อก (Inventory)
1
เป็นอีกตัวเลขที่แสดงอยู่ในงบดุลเช่นกัน การบริหารสต็อกสินค้าให้สามารถหมุนเวียนได้เร็วนั้นนับว่าดี เพราะนั่นแสดงว่ากิจการสามารถขายออกได้เร็วเช่นกัน แต่การสต็อกสินค้าเอาไว้มากๆ นั้นไม่ดีกับธุรกิจนัก เพราะกิจการอาจต้องกู้เงินมาจ่ายเพื่อให้ได้สินค้ามาเก็บไว้
เท่ากับว่าเงินที่กู้มาจ่ายค่าสินค้านั้นนอนจมอยู่ในสต็อกเฉยๆ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และไม่รู้ว่าจะขายหมดเมื่อไหร่ แถมยังต้องรับความเสี่ยงว่าสินค้าจะขายได้หรือไม่อีกด้วย
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสินค้าหมดอายุ หรือตกรุ่นไปแล้ว หรืออาจจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างเหตุไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับกิจการอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้น ควรต้องทำการพยากรณ์ยอดขายของธุรกิจตัวเอง เพื่อนำมาวางแผนการสต็อกสินค้าให้เหมาะสม คือมีสินค้าขายเพียงพอต่อการขายไม่ขาดไม่เกิน และไม่สำรองเอาไว้มากเกินไปค่ะ
อย่างไรก็ดี ยังมีตัวเลขมากมายที่อยู่ในงบการเงิน ซึ่งล้วนมีความหมายในตัวของมันเอง บางตัวมีตัวเลขมากๆ ก็เป็นเรื่องดี แต่บางตัวก็เป็นเรื่องแย่
จึงต้องระวังอย่าติดกับดักของตัวเลขจนอาจตัดสินใจบริหารผิดพลาดและส่งผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจ ดังนั้น จะดีมากๆ ถ้าหากอ่านงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อย ถ้าอยากให้ธุรกิจ “สตรอง” ก็ควรเข้าใจ 5 เรื่องดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้นะคะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷
6 บันทึก
21
29
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เส้นทางแห่งการดำเนินธุรกิจ
6
21
29
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย