15 เม.ย. 2022 เวลา 05:05 • หนังสือ
มาปลุกไฟนักเขียนให้กลับมากันเถอะ 🔥🔥🔥 (ตอนที่ 4)
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
วันนี้ยังคงเป็นช่วงวันหยุดยาวของใครหลายๆ คนอยู่ใช่มั้ยคะ
แอดมินเองได้หยุดอยู่บ้าน  ไม่ต้องเข้าเวรเหมือนในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา  แต่ก็นั่งทำงานจากที่บ้านได้สบายๆ  ด้วยระบบออนไลน์  ที่แสนทันสมัยในยุคนี้
บางครั้งความทันสมัยนี้  ก็ทำให้วันหยุดไม่เป็นวันหยุดจริงๆ  😅🤣
1
เรื่องแบบนี้  ก็อยู่ที่เราบริหารเวลาให้ดี  ก็สามารถมีความสุขกับมันได้ว่ามั้ยคะ
สำหรับวันนี้  แอดมินมาชวนคุยเกี่ยวหนังสือ        เล่มเดิมค่ะ  ยังอ่านไม่จบซะที   หยิบมาอ่านเมื่อมีเวลา ครั้งละ 2-3 ตอน
อยากจะเขียนแทบตาย  (จริงๆนะ)
เขียนโดย  ไพลิน  รุ่งรัตน์
วันนี้จะมาเล่าว่าได้อะไรจากการอ่านครั้งนี้บ้าง
มีใครเป็นเหมือนแอดมินบ้างค่ะ  ที่เคยอ่านนิยายสักเรื่อง  แล้ววันหนึ่ง  นิยายที่เราอ่าน  กลายมาเป็นละครโทรทัศน์  หรือภาพยนต์
ในตอนแรก  แอดมินก็นึกดีใจนะคะ  ว่านิยายที่เราอ่านแล้วชอบ  มาเป็นละครโทรทัศน์ให้ได้ดู  ได้เห็นหน้าตาพระ-นาง  ไม่ต้องจินตนาการเองแล้ว
แต่พอถึงวันที่ได้ดูละครจริงๆ  กลับไม่เป็นอย่างที่คิด  คือมันไม่สนุกเหมือนตอนที่เราอ่านจากหนังสือนิยาย
คุณไพลิน  กล่าวว่า  ตอนเราอ่านเราใช้จินตนาการตามตัวอักษร  ที่นักเขียนพรรณนาไว้  ซึ่งจินตนาการของแต่ละคน  ก็แตกต่างกันไป  ไม่มีสิ้นสุด  แล้วแต่จะตีความ  พอเรามาดูละคร  มันไม่เหมือนที่เราจินตนาการ  เราก็เลยบอกว่ามันไม่สนุก
1
ซึ่งแอดมินรู้สึกแบบนั้นจริงๆ  ค่ะ  เคยอ่านนิยายที่เศร้าจนร้องไห้ออกมา  แต่ดูละครกลับเฉยๆ  แปลกจริงๆ  เลย
2
เหมือนมันไม่ได้ดั่งใจเรานะคะ  แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่เคยอ่านนิยายเรื่องนั้นมาก่อน  เริ่มจากการดูละครเลยก็จะอีกอารมณ์นึงนะคะ  ก็ดูสนุกกันตั้งแต่เริ่มแรก
แต่ก่อนแอดมินชอบดูโทรทัศน์นะคะ  แต่หลังๆ  มันเริ่มน่าเบื่อ  ทั้งละคร  รายการต่างๆ  ไม่ค่อยส่งเสริมความคิดเท่าไหร่นัก  เลยหันมาหาอ่านบทความใน Internet   กลับมาอ่านนิยาย  เหมือนสมัยก่อน  รู้สึกดีขึ้นเยอะเลย
1
การอ่าน  ช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดได้ดีมากนะคะ  ผิดกับการดูจากสื่อโทรทัศน์  เหมือนเขาบังคับให้เราเห็น  ได้ยิน  สิ่งที่เขาปรุงแต่งมาแล้ว  จะจินตนาการไปเป็นอย่างอื่นก็ยาก
แต่ใช่ว่าสื่อโทรทัศน์  จะไม่มีประโยชน์ซะทีเดียว  ช่องทางนี้ก็เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการอ่าน  ช่วยให้เขาสามารถ  รับรู้เรื่องราว  ข่าวสาร  ต่างๆ  ได้เป็นอย่างดี
เพราะฉะนั้น  เมื่อการอ่านเป็นเรื่องสำคัญ  ผู้เขียนอย่างเราๆ  ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ  หรือมือสมัครเล่น  ก็ควรเขียนอย่างสร้างสรรค์  จะช่วยให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ
1
คุณไพลิน  ผู้เขียน  แสดงความกังวลเกี่ยวกับนักเขียนรุ่นใหม่  ๆ  บางคนเขียนด้วยอารมณ์โกรธ  ไม่มีการขัดเกลา ทั้งที่มีเวลาทบทวน  อ่านซ้ำ
พอไม่อ่านคำเขียนของตนเองอีกครั้ง  ทุกคนมั่นใจตัวเองทุกคนรู้สึกเป็นอิสระ  และปรารถนาจะแสดงออกอย่างเปิดเผย  เด็กไม่ต้องเคารพผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่ไม่ต้องเมตตาเด็ก  ทุกคนแสดงความคิดเห็นตามใจ  เป็นไปตามอารมณ์ที่ไม่มีขีดคั่น
❌️ผลลัพธ์  คืออะไร
• นักเขียนแตกกันเป็นก๊กเป็นเหล่า
• นักเขียนผิดใจกัน
• นักอ่านปวดหัว  ไม่รู้เรื่อง  รำคาญใจ  แทนที่จะได้อ่านเรื่องดีๆ  กลับต้องมาอ่านเรื่องที่เขาทะเลาะกัน
• ภาพลักษณ์วงการวรรณกรรมเสีย  ไม่ต่างจากวงการการเมือง
💡คุณไพลิน  เสนอความเห็นในการรักษาภาพลักษณ์นักเขียน  ไว้ได้ดีเลยทีเดียว
1. มองตัวเองผิดไว้ก่อน  หาที่ผิดจนกว่าจะเจอ  คราวนี้จะเขียนหรือจะตอบโต้อย่างไร  ก็จะเบาลง
2. อย่าตอบโต้ทันที  เพราะอาจยังโกรธมาก
3. นึกอยู่ในใจเสมอว่า  อารมณ์โกรธของเรา  คือ  อาหารอันโอชะของนักอ่านกระหายเลือดที่รออยู่
2
สำหรับนักอ่าน  คุณไพลิน  ฝากไว้  1 ข้อ  คือ  อย่าสนุกเมื่อได้เห็น 'คำเขียนที่ทะเลาะกันเลย'  เพราะมันจะเพาะความก้าวร้าวไว้ในใจ  โดยไม่รู้ตัว
แอดมินเห็นว่า  นักเขียน  ก็สำคัญ  นักอ่าน  ก็สำคัญ  ในการสร้างสรรค์ผลงานเขียนที่ดี
2
ถ้าคนอ่านชอบอ่านแต่เรื่องความขัดแย้ง  เรื่องไม่ดี  ผู้เขียนที่อยากเอาใจผู้อ่าน  แทนที่จะเขียนเรื่องดีๆ  ก็หันไปเขียนเรื่องไม่ดีซะงั้น
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว  เพื่อนๆ  มีความเห็นเป็นอย่างไรมาแสดงความคิดเห็นกันได้นะคะ
สำหรับแอดมิน  ยังเป็นนักเขียนสมัครเล่น  เพิ่งหัดเขียนได้ไม่นาน  แต่ตั้งใจว่าจะเขียนด้วยสติ  และสร้างงานเขียนที่ดี  มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน  ไปเรื่อยๆ  ค่ะ  แม้บางครั้งอาจจะไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระใดๆ  มีแต่ผักสีเขียวๆ  มาให้ดู  แค่นั้นก็หวังว่าจะสร้างความสดชื่นได้บ้าง 😅😅😅
ขอบคุณที่อ่านบทความนี้
สวนบ้านส้ม ❤️🌱🐈‍⬛
15 เม.ย. 2565

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา