7 เม.ย. 2022 เวลา 11:00 • หนังสือ
มาปลุกไฟนักเขียนให้กลับมากันเถอะ 🔥🔥🔥 (ตอนที่ 3)
ขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay.com
อยากจะเขียนแทบตาย (จริงๆ นะ)
ไพลิน รุ่งรัตน์
หนังสืออยากจะเขียนแทบตาย  (จริงๆนะ)❤
ของคุณไพลิน  รุ่งรัตน์    มีเทคนิคอะไรมาบอกเราอีกนะ
สำหรับการปลุกไฟนักเขียน  ตอนที่ 3  นี้  ขอเสนอเรื่อง
• การใช้ภาษาและถ้อยคำ
ถึงเราจะไม่ได้จบอักษรศาสตร์  แต่รักจะเขียน  ก็ควรเขียนให้ดีใช่มั้ยคะ
ทำอย่างไรดีล่ะเนี่ย‼️
คุณไพลิน  รุ่งรัตน์  แนะนำแบบนี้ค่ะ 💡
ภาษาเป็นการสะสม  เป็นประสบการณ์  ต้องเรียนรู้  และเข้าใจ  มีเทคนิคอยู่  3  ข้อ  ลองนำไปปรับใช้กันนะคะ
1. อ่านเท่านั้น  ที่จะเพิ่ม  'คลังคำ'
2
การอ่าน  ทำให้ได้เรียนรู้การใช้ภาษาที่แตกต่างกันของนักเขียนแต่ละคน  รวมทั้งการใช้สำนวน  ลีลาในการเขียน  บางคนใช้คำสวยงาม  คำพรรณนา   บางคนใช้ภาษาสั้นๆ  ได้ใจความ
เมื่อเราอ่าน  เราก็จะได้เรียนรู้  และสามารถนำมาปรับใช้ในงานเขียนของเราได้
2.  พจนานุกรม  มีไว้ใช้ประโยชน์
1
คนเขียนบทความ  เขียนหนังสือ  เรื่องสั้น  หรือนวนิยาย  อย่าคิดว่าพจนานุกรม  ไม่สำคัญนะคะ    พจนานุกรมมีไว้ตรวจสอบ  ตรวจทานศัพท์  หาความหมายของคำที่ไม่มั่นใจ
นอกจากพจนานุกรม  เราควรมีหมวดคำที่มักเขียนผิด  หรือคำศัพท์เฉพาะกลุ่มไว้ด้วย   งานเขียนของเราก็จะให้ความหมายที่ถูกต้อง  ตรงกับสิ่งที่เราอยากสื่อสารกับผู้อ่านได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งสมัยปัจจุบัน  แอดมินคิดว่าการพกพจนานุกรมของเราง่ายขึ้นมากนะคะ  เพราะมีอยู่ในระบบออนไลน์  ในมือถือ  ไม่ต้องพกเป็นหนังสือเล่มหนาๆ  เหมือนสมัยเป็นนักเรียนอย่างแต่ก่อน
1
3.  อย่าพยายามใช้ภาษาที่ตัวเองไม่รู้จัก
2
อย่าใช้คำใหญ่เกินงาม  งานเขียนไม่ได้ต้องการศัพท์แสงมาก  แต่ต้องการความพอดีในถ้อยคำมากกว่า
1
เป็นอย่างไรบ้างคะ  สำหรับแนวทางการใช้ภาษาและถ้อยคำในงานเขียน   แอดมินว่าดีมากๆ  เลยนะคะ
หวังว่าบทความนี้  จะเป็นประโยชน์กับผู้อยากเขียน  เหมือนแอดมิน  ไม่มากก็น้อยนะคะ
สำหรับผู้ที่อ่าน  บทความนี้เป็นบทความแรก  สามารถอ่านบทความก่อนหน้านี้  เพิ่มเติมได้ที่  link นี้เลยค่ะ ⬇️⬇️⬇️
ขอบคุณที่อ่านบทความนี้  แล้วพบกันในบทความถัดไปนะคะ
สวนบ้านส้ม❤🌱🐈‍⬛
8 เม.ย. 2565

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา