5 เม.ย. 2022 เวลา 11:00 • หนังสือ
มาปลุกไฟนักเขียนให้กลับมากันเถอะ🔥🔥🔥 (ตอนที่ 2)
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
จากการปลุกไฟ ครั้งที่ 1 ⬇️⬇️⬇️
แอดมินยังอ่านหนังสือไม่จบ เลยเล่าเท่าที่ได้อ่าน ครั้งนี้ก็จะมาเล่าเพิ่มเติมนะคะ ถามว่าอ่านจบหรือยัง ก็ยังอ่านไม่จบค่ะ😅
ยังไม่สามารถนั่งอ่านหนังสือได้ทุกวัน อย่างที่ตั้งใจไว้ เพราะเวลาอ่าน แอดมินชอบอ่านตอนอยู่เงียบๆ คนเดียว มันมีสมาธิจดจ่อกับเนื้อหามากกว่า อ่านหนังสือไปด้วย เปิดทีวีไปด้วยไม่ไหวค่ะ 555🤣
เรื่องเล่าจากหนังสือวันนี้ ก็ยังเป็นหนังสือเรื่องเดิมนะคะ
อยากจะเขียนแทบตาย (จริงๆ นะ)
เขียนโดย ไพลิน รุ่งรัตน์
รอบนี้อ่านแล้วได้อะไร มาค่ะ ตามมา จะเล่าให้ฟัง 📖
💡การเขียนบทความก็คล้ายกับการเล่าเรื่อง เพียงแต่เปลี่ยนจากการพูดของคนเล่า เป็นการเล่าผ่านตัวหนังสือ ส่วนเทคนิคการเล่าเรื่องก็มีหลายเทคนิค เลือกเทคนิคการเล่าเรื่องให้เหมาะกับเรา หรือจะฝึกใช้หลายๆ เทคนิคได้ยิ่งดี
📍• เทคนิคการเล่าเรื่อง มีอะไรบ้าง
1. เทคนิคจดหมาย เหมือนเราเขียนจดหมายหาใครสักคน เขียนบอกเล่าเรื่องราวที่เราอยากให้เขารับรู้
2. เทคนิคเล่าประสบการณ์ คุยกับผู้อ่าน (อันนี้แอดมินใช้บ่อย) เราควรเรื่องประสบการณ์ที่มาเล่าให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน อาจจะเป็นประโยชน์ด้านการนำไปปฏิบัติ หรือด้านกำลังใจ ก็ได้ทั้งหมด
3. เทคนิคเรื่องแต่ง ใช้บทสนทนาช่วยในการดำเนินเรื่อง (อันนี้มีเพื่อนใน BD เขียนเรื่องสั้นสนุกหลายคนเลย) ส่วนสำคัญของเทคนิคนี้ ก็คือ การสร้างพลอตเรื่องขึ้นมาก่อน แล้วค่อยๆ ใส่เหตุการณ์และบทสนทนาลงไป (อยากหัดเขียนแบบนี้บ้างเหมือนกันนะ)
1
4. เทคนิคการเล่าตามลำดับเวลา อันนี้คล้ายๆ การเขียนไดอารี่
แค่ 4 เทคนิคนี้แอดมินว่า ถ้าเราฝึกฝนบ่อยๆ งานเขียนของเราจะต้องพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอนเลยค่ะ
นอกจากเรื่องของเทคนิคการเล่าเรื่องแล้ว การเขียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ก็จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้มากขึ้นด้วยนะคะ
1
อุปสรรคของคนอยากเขียนอีก 1 เรื่อง คือ การใช้สมาธิในการเขียน ต้องอยู่เงียบๆ ต้องอยู่ในห้องคนเดียว กว่าจะได้บทความสักบทความก็ใช้เวลานาน เพราะเวลาที่จะอยู่คนเดียวมันน้อยนิด นอกจากเวลานอน
💡แต่ถ้าเราฝึกให้สามารถสร้างงานเขียน หรือบทความได้ทุกสถานการณ์ ก็น่าจะดีนะคะ วันนี้แอดมินมีเทคนิคดีๆ ของ คุณไพลิน รุ่งรัตน์ มาเล่าให้ฟัง ใครสนใจสามารถนำไปใช้ได้ แอดมินว่าจะลองดูทุกวิธีเลย
 
📍• เทคนิคการสร้างงานเขียนในสถานการณ์ต่างๆ
1. หัดเขียนในอากาศ เช่น ระหว่างการเดินทาง หรือช่วงการพักผ่อน ช่วงการออกกำลังกาย เมื่อมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้ลองนึกในหัว ลองคิดดูว่า จะบรรยายภาพที่เห็นอย่างไร แค่นี้ก็เป็นการฝึกฝน ที่ทำได้ง่ายๆ
2. พกสมุดบันทึกเล่มน้อย หรือสมัยนี้อาจเป็น Tablet หรือโปรแกรมจดโน๊ตในมือถือ ก็ยิ่งสะดวก แล้วใช้วิธีบันทึกอารมณ์ หรือพลอตเรื่องที่นึกได้ หรือเกิดขึ้นในตอนนั้นไว้ ใส่เวลา สถานที่ ไว้ด้วย เมื่ออยากเขียนก็หยิบบันทึกออกมาอ่านย้อนความทรงจำ เดี๋ยวเรื่องราวก็หลั่งไหลออกมาได้
3. พกเครื่องอัดเสียง หรือมือถือที่มี Application อัดเสียง เวลารู้สึกอะไร ก็กดอัดเสียงเล่าไว้ บรรยาย หรือแสดงอารมณ์ไว้ เมื่ออยากเขียนก็เอามาฟัง จะได้งานเขียนในแบบที่มีอารมณ์ดิบๆ เมื่อเอามาเรียบเรียงดีๆ อาจจะได้งานเขียนที่น่าสนใจได้เลย
4. ความฝัน อันนี้แล้วแต่บุคคล บางคนแค่นอนกลางวันก็ฝันเป็นเรื่องเป็นราว บางคนนอนหลับทั้งคืนก็ไม่เคยฝันเลย ถ้าใครมีความฝัน เมื่อตื่นมาลองทบทวนความฝันแล้วจดเรื่องราวไว้ เรื่องราวในฝันอาจกลายเป็นเรื่องสั้น หรือนิยาย สนุกๆ ก็ได้นะ
เป็นยังไงบ้างคะ พอได้เทคนิคการเขียนบทความกันบ้างหรือป่าว สำหรับแอดมิน หลังจากการอ่านหนังสือของคุณไพลิน ก็คิดว่าตัวเองได้ไอเดียเยอะเลยค่ะ ได้ทั้งไอเดียการเขียน ได้ทั้งความสนุก ได้ทั้งแง่คิดเกี่ยวกับการเป็นนักเขียน
❤การเขียนบทความขึ้นมา เราไม่ควรคาดหวังว่าจะมีคนชอบเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เรารู้สึกท้อแท้ ไม่อยากเขียนต่อ เรื่องราวที่เราเขียน อาจถูกใจใคร ไม่ถูกใจใคร เป็นเรื่องปกติ
❤แค่เราไม่หยุดเขียน อย่างน้อยตัวเราเองก็ได้ฝึกฝนการเขียน การเล่าเรื่อง การใช้ภาษาให้ดียิ่งๆ ขึ้น
❤อ่านถึงตรงนี้แล้ว มีความเห็นอย่างไร มาร่วมแชร์ ร่วมพูดคุยกันได้เลยค่ะ
โปรดติดตามตอนต่อไปด้วยน้า (ยังอ่านไม่จบ ต้องอ่านต่อไป น่าจะได้เทคนิคดีๆ อีกเป็นแน่)😁
ขอบคุณที่อ่านบทความนี้
สวนบ้านสัม ❤🌱🐈‍⬛
5 เม.ย. 2565

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา