Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ยืดเหยียดสันหลังยาว by Mint Physiotherapist
•
ติดตาม
15 เม.ย. 2022 เวลา 14:59 • สุขภาพ
วิ่ง! กระโดด! เตะ! เจ็บใต้ก้น เจ็บหลังขา หรือว่าจะเป็นHamstrings strain ?
เรามาทำความรู้จักกล้ามเนื้อ Hamstrings กันก่อนนะคะ
Hamstrings คือกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง เริ่มเกาะจากกระดูกก้นตรงที่เราใช้นั่ง (บริเวณใต้ก้นย้อย) ยาวไปเกาะปลายที่กระดูกต้นขาและกระดูกขาท่อนล่าง ทำหน้าที่เหยียดสะโพก และ งอเข่า แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อย่อย 3 มัดใหญ่ๆ คือ
1.Biceps femoris muscle (สีเหลือง)
2.Semimembranosus muscle (สีฟ้า)
3.Semitendinosus miscle (สีแดง)
กิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ Hamstrings จะเป็นในลักษณะของการกระชาก เช่น การวิ่งเร็วๆทั้งที่ไม่เคยวิ่งด้วยความเร็วเท่านี้มาก่อน , การเตะขา , การกระโดด , การขยับเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งหากเคยมีการบาดเจ็บที่เข่า ไม่ว่าจะเป็นผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า เอ็นสะบ้าอักเสบ หรือจะเคยข้อเท้าพลิก เจ็บเอ็นร้อยหวาย หรือไม่เคยบาดเจ็บแต่มีการควบคุมกล้ามเนื้อและร่างกายขณะใช้งานได้ไม่ดี จะทำให้ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิด Hamstrings strain จากกิจกรรมต่างๆข้างต้นได้มากขึ้น
เมื่อต้นขาด้านหลังเราบาดเจ็บ จะแสดงอาการยังไง ?
- เจ็บแปล๊บทันทีที่กล้ามเนื้อ Hamstrings หรือ บริเวณจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อ(ตรงใต้ก้นย้อย) โดยบริเวณที่มักพบว่าเกิดการบาดเจ็บคือ ตรงรอยต่อระหว่างเอ็นและส่วนของกล้ามเนื้อ ของBiceps femoris muscle
- พบจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อ/จุดที่ไวต่อการสัมผัสแล้วเกิดอาการเจ็บแปล๊บขึ้น
- เมื่อเหยียดเข่าตรง หรือขยับงอเหยียดเข่า จะยิ่งกระตุ้นอาการเจ็บมากขึ้น
- ก้าวขาแล้วเจ็บเวลาเดิน
ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ Hamstrings แบ่งได้เป็น 3 เกรด
- เกรด 1 มีการฉีดขาดเล็กน้อย : ตำแหน่งที่เจ็บเล็ก เมื่อยืดหรือขยับขาจะตึงๆหรือมีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อย เดินลงน้ำหนักได้
- เกรด 2 มีการฉีกขาดบางส่วน : ตำแหน่งเจ็บจะกว้างและระดับความเจ็บจะมากกว่าเกรด 1 อาจมีการบวมเล็กน้อย กำลังของกล้ามเนื้อ Hamstrings ลดลง ในช่วง24-48ชม.จะเดินลงน้ำหนักลำบาก
- เกรด 3 มีการฉีกขาดรุนแรง : กล้ามเนื้อฉีกขาดแยกออกจากกันเป็น 2 ส่วน อาจเห็นเป็นร่องของกล้ามเนื้อ 2 ฝั่งที่แยกออกจากกันได้ มีเลือดออกในกล้ามเนื้อและมีอาการบวมมาก เดินลงน้ำหนักไม่ได้เลย หากบาดเจ็บที่เกรดนี้ ควรพบแพทย์และรับการผ่าตัด
AKE test คืออะไร ? AKE ย่อมาจาก Active Knee Extension เป็นวิธีที่ใช้ในการทดสอบมุมการทำงานของกล้ามเนื้อ Hamstrings ในคนที่เป็น Hamstrings strain โดยจะให้นอน จัดท่าให้สะโพกงอ 90 องศา แล้วให้เตะเข่าเหยียดขึ้นเอง โดยวัดมุมองศาการเหยียดเข่าที่หายไป ซึ่งในงานวิจัยของ Smirnova L et al. ที่ศึกษา AKE test ในนักกีฬาฟุตซอลที่บาดเจ็บกล้ามเนื้อHamstrings พบว่า การบาดเจ็บเกรด1 ทดสอบ AKE test ได้มุมน้อยกว่า 15 องศา จะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูการบาดเจ็บ 25.9 วัน , เกรด 2 ทดสอบ AKE test ได้มุม 16-25 องศา จะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูการบาดเจ็บ 30.7 วัน และ เกรด3 ทดสอบ AKE test ได้มุม 26-35 องศา จะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูการบาดเจ็บ 75 วัน
หากบาดเจ็บที่เกรด 1และ 2 สามารถรับการรักษาทางกายภาพบำบัดได้ โดยในช่วงระยะอักเสบ (ช่วง 3-5 วันหลังบาดเจ็บ) ควรต้องหลีกเลี่ยงการขยับหรือใช้งานกล้ามเนื้อ เพื่อไม่ให้กระตุ้นอาการบาดเจ็บและเพิ่มความเสียหายของกล้ามเนื้อ หากมีอาการบวมอักเสบ ให้นอนยกขาสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้สารอักเสบไหลเวียนออกจากบริเวณที่บาดเจ็บ ในระยะนี้ นักกายภาพบำบัดจะใช้เครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดระยะเวลาอักเสบให้สั้นลง และลดระดับความเจ็บปวด หรือใช้เทคนิคกระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลือง เพื่อลดอาการบวมอักเสบได้เช่นกัน
เมื่อถึงช่วงพ้นระยะอักเสบ จะเป็นช่วงที่ต้องเพิ่มมุมการทำงานของกล้ามเนื้อ Hamstrings ให้ยืดเหยียดได้มากขึ้น ลดความตึงตัวของเส้นประสาท และฟื้นฟูกำลังของกล้ามเนื้อโดยใช้ท่าเช่น Glute bride , Squat , Deadlift , Lunge , Nordic curl เป็นต้น โดยความหนักและความยากในการออกกำลังที่มีการหดตัวแบบยืดยาวออก(Eccentric contraction)ของกล้ามเนื้อ Hamstrings จะต้องทำในระดับที่ผู้ป่วยทำได้โดยไม่กระตุ้นอาการบาดเจ็บมากนัก จำนวนครั้ง 6-12 ครั้ง ออกกำลังที่2-3วัน/สัปดาห์
การป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ จะต้องมีการฝึกการทรงตัว เพิ่มความมั่นคงของข้อต่อ ฝึกเพิ่มการควบคุมของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ฝึกความคล่องตัวและทักษะที่ใช้ในประเภทกีฬานั้นๆ นอกจากนี้ควรมีการวอร์มอัพ และ คูลดาวน์ โดยเพิ่มท่าออกกำลังกายและท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อHamstrings เข้าไปในโปรแกรมด้วย
ปีใหม่ไทยนี้ เดินทางปลอดภัยนะคะทุกคน ❤️
Reference : Clinical Practice Guidelines Hamstring Strain Injury in Athletes J Orthop Sports Phys Ther 2022;52(3):CPG1–CPG44. doi:10.2519/jospt.2022.0301
วิ่ง
กายภาพบำบัด
ฟุตบอล
1 บันทึก
1
4
5
1
1
4
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย