15 เม.ย. 2022 เวลา 15:59 • คริปโทเคอร์เรนซี
บันทึกเรื่อง Curve protocol และ Curve War
Curve War คือ การพยายามควบคุมการจัดสรร reward ของ Curve ผ่าน Governance Token ของ Curve คือ veCRV (voting escrow CRV) ซึ่งได้มาจากการ stake $CRV โดยจำนวน veCRV จะแปรผันตามระยะเวลาที่ lock CRV (สูงสุดที่ 4 ปี) ซึ่งตัว Curve เอง พูดง่ายๆก็คือ ตลาดแลกเปลี่ยน stable coin ที่ใหญ่ที่สุดของ Cryptocurrency โดยเริ่มจากชื่อ stableswap ก่อนจะมาเป็น curve โดยเดิมที Curve อยู่บน Ethereum ก่อนจะ support chain อื่นๆ ที่ค่า gas ถูกกว่า เช่น Polygon, Avalanche, Optimism เป็นต้น
Curve reward มีได้ตั้งแต่ไม่กี่ percent จนไปถึง double digit จากการ boost reward ซึ่งจะได้มาจากการ lock CRV หรือการหาประโยชน์อื่นๆ เช่น การ farm ผ่าน pool ที่เป็น lending profotol เช่น Maker หรือ การได้ incentive เพิ่มเป็นเหรียญอื่นๆ แต่หลักๆ ก็คือ ค่า fee ที่ได้จากการ swap บน Curve ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 0.04% (ไม่รวมค่า gas) โดยค่าธรรมเนียม จะถูกแบ่งครึ่งระหว่าง Liquidity Provider กับ Protocol ทำให้อาจจะมีบาง Pool ที่ได้ reward ที่เพิ่มขึ้นไปจากผลของการจัดสรร reward ส่วนเพิ่มที่จะถูก vote ทุกสัปดาห์
หลักการของ Curve คล้ายๆกับ Uniswap ที่เป็น Automated Market Maker ซึ่ง formula ที่เป็นสมการหลักของ Uniswap ของ X*Y=k ซึ่งเป็นกราฟประเภท Hyperbolar แต่ สมการของ Curve ต่างออกไปนิดหน่อย โดยมีการยืด curve ส่วนโค้งออกไป เพื่อลดผลกระทบของเวลาที่ liquidity ต่ำๆ ซึ่งทำให้ spread ของราคาเกิดถ่างออกมากเกินไป ซึ่งเป็นคุณสมมบัติที่สำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยน stable coin ทำให้ Curve เป็นที่นิยมมากสำหรับการแลกเปลี่ยน stable coin
ที่มา: Automatic market-making with dynamic peg Michael Egorov, Curve Finance (Swiss Stake GmbH) June 9, 2021
โดย มี TVL เป็นอันดับสองในกลุ่ม DeFi ที่ $21.2bn รองจาก AAVE ที่เป็น Lending profotol ที่มี TVL $22.4bn
จากการที่ Curve เป็น stable coin swap ซึ่งเป็นเหรียญพื้นฐานที่สุดของทุก chain ทำให้มีหลายๆ protocol พยายามที่จะเข้ามา control reward ตรงนี้บน Curve โดยก่อนหน้านี้ Pool ที่มี liquidity มากอันดับต้นๆที่เป็น stable coin คือ 3Pool ซึ่งเป็น stable swap ของ DAI+USDC+USDT ที่มี TVL เป็นรองแค่ ETH+stETH ก่อนจะมี UST+3Pool ตามมาทีหลัง
จากข้อมูล DuneAnalytics ล่าสุดบอกว่า veCRV ถูกถือมากที่สุดโดย Convex protocol โดย Convex เป็น protocol ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาของคนที่ต้องการ boost yield จาก CRV โดยทำตัวเหมือนเป็น agent ที่ช่วยทำเรื่อง stake CRV แบบ automatic ให้
แต่การจะมี veCRV ได้มากๆ ต้องใช้เงินและเวลามาก เพราะ veCRV จะได้ ratio 1:1 กับ CRV จะต้อง lock CRV ถึง 4 ปี แล้วยังลดลงตามเวลา ทำให้ต้องคอยมา extend บ่อยๆ เป็น pain point ที่ทำให้ส่วนใหญ่คนไม่ค่อยอยากถือ veCRV
Convex เลยมาตอบโจทย์ตรงนี้ โดยทำทุกอย่างให้ เสมือนว่าเรา lock 4 ปีตลอดเวลา โดยต้องแลก CRV เป็น CVX token แต่เราสามารถเอา CVX แลกเป็น CRV กลับเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะ Convex ก็มี Liquidity pool ของ CRV เช่นกัน ทำให้คนนิมถือ Convex มากกว่า CRV จนทำให้ Convex มี power สูงมากในการ vote โดยรอบถัดไป Frax ได้รับการ vote มากที่สุด โดยจะเห็นว่า ส่วนใหญ่ require 51% vote
ด้วยความที่ Convex ถือว่ามี power ในการ vote ทำให้เกิดการติดสินบน CVX holders หรือให้เงินเพิ่มกับ CVX เพื่อให้ vote ให้กับ pool ใดๆ โดยจะเห็นว่า Frax ได้ bribe เยอะสุด แต่ถ้าเทียบต่อหน่วย vlCVX แล้ว จะพอๆกันที่ $0.56
ถ้ามาดู CRV tokenomics ตอนนี้ supply ออกมาประมาณหนึ่งในสาม
ส่วน CVX จะมีแค่ 100m เหรียญเท่านั้น
ซึ่งปัจจุบัน supply ออกมาแล้วถึง 88% ปัจจุบันมี market cap ที่ $1.6bn
ด้วยความที่ Convex ถือ veCRV มากสุดตอนนี้ และยังไม่มี protocol อื่นที่มาแทนที่ ทำให้ CVX เลยมีอิทธิพลในการกำหนด reward ของ Curve pool สูงสุด
แต่ส่วนตัวมองว่าการถือ CRV อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก เพราะ 1) supply ยังออกมาอีกค่อนข้างมาก 2) return จาก protocol ที่เป็นค่า fee annualized ที่ $56m (protocol revenue $29m) เทียบกับ market cap at current supply $2.5bn vs fully diluted $7bn
CVX ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า โดยมี annualized revenue $531m (protocol revenue $31m) vs market cap แบบ fully diluted $2.8bn รวมถึงมีโอกาสได้ revenue /CVX เพิ่มจากการที่ supply limit แต่ veCRV ยังสามารถออกมาเพิ่มได้อีกหลายเท่า
เว้นแต่ มี protocol อื่นที่มาแทนที่ทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า Convex

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา