17 เม.ย. 2022 เวลา 09:10 • คริปโทเคอร์เรนซี
ตอนที่ 2: Curve Finance จุดเริ่มต้นของสงคราม Curve War
จากบทความตอนที่แล้วเรื่อง Curve War ตอนนี้มาทำความรู้จัก Curve Protocol ให้มากขึ้นอีกหน่อยครับ
Curve Protocol คือ currency swap ที่มี TVL มากเป็นอันดับสองรองจาก AAVE ในโลกของ DeFi การทำงานของ Curve อย่างที่เคยเกริ่นไปว่าอาศัยสมการที่คล้ายๆ Uniswap แต่เป็นรูปแบบที่ modify เพื่อลดผลของ slippage หรือการที่ราคาเบี่ยงเบนออกจากค่าที่ควรจะเป็นไปมากเนื่องจาก สภาพคล่องต่ำหรือความผันผวนของราคาที่รุนแรง
สมการของ Curve เทียบกับ Constant product ที่ Uniswap ใช้
ทีนี้ Curve สำคัญยังไง ทำไม Chain ที่ใช้ stable coin โดยเฉพาะที่เป็น algorithmic stable coin ถึงให้ความสนใจ
คำตอบในมุมที่ผมเข้าใจมีสองส่วน คือ 1) ในมุมของ liquidity ของ stable coin และ 2) ในมุมของ asset utilization
1) Curve คือ liquidity provider
Stable coin เสมือนประตูแรกๆของการเข้าสู่โลกของ crypto ทำให้ในมุมโลก CeFi คือคล้ายๆตลาด Foreign exchange นั่นเอง เสมือนเราแลกเปลี่ยนเงินก่อนที่จะทำไปใช้ใน project หรือโครงการอื่นๆ ทีนี้ stable coin หลักๆที่เราใช้กัน ใหญ่สุดคือ USDT ซึ่งเป็นสกุลหลัก แต่ในหมู่ stable coin เอง ก็มีเหรียญอื่นๆที่ได้มาจากหลากหลาย protocol หรือ platform ซึ่งตัวหลักๆคือ USDC และ DAI ที่ได้มาจาก Maker ซึ่งแต่ละกันมี ecosystem ต่างๆกันไป แต่เวลาที่ต้องเปลี่ยนมาอยู่ในสกุลที่เป็นหลักตอนนี้ (ถึงแม้จะมีข้อกังขามาอยู่ตลอด) USDT ของ Tether ทำให้ต้องมีการแลกหรือ swap คล้ายๆกับเวลาแลกเงินกลับมาเป็น US Dollar ทำให้ตลาดนี้ค่อนข้าง liquid
นั่นคือจุดเริ่มต้นของ Curve ทีนี้ ดวยความที่เป็น dex เลยต้องมี liquidity provider ใน Pool เพื่อสร้าง liquidity แต่ถ้าเราไปดู TVL ปัจจุบันตอนนี้ น่าสนใจว่า Pool ที่ใหญ่ที่สุดที่มี TVL กว่าหนึ่งในสามของ Curve กลับไม่ใช่ stable coin แต่กลับเป็น Pool คู่ ETH+stETH ซึ่งเป็น Staking ของ Etherum บน Lido Finance ประกอบกับ Curve v2. เริ่มสร้าง algorithm ที่ทำให้คน farm สามารถเลือกช่วงแบบเดียวกับ Uniswap ได้ ทำให้เป็นอีกประเด็นที่คนพูดกันถึงการแย่ง market share ระหว่าง Uniswap กับ Curve แต่ยังขอไม่พูดถึงตอนนี้ละกันครับ
Curve Pool เรียงตาม TVL
กลับมาที่ Curve ตัวของ Curve มีรายได้หลักๆอยู่สองสามส่วน ส่วนที่เยอะที่สุดคือ Fee ที่ได้จาก transaction ซึ่งตัวหลักคือ swap มีค่าธรรมเนียม 0.04% (เทียบ Binance ที่ 0.1%) โดย Liquidity provider จะได้ค่าธรรมเนียมตรงนี้ครึ่งนึงแบ่งๆกัน ส่วนอีกครึ่งนึงจะเป็นของ veCRV ซึ่งก็คือคนที่ stake $CRV กลับเข้าไปในระบบ
ซึ่งเวลาเราดูตารางของ Curve ก็จะเห็นว่า base fee อยู่ที่ระดับไม่กี่ % เท่านั้น ค่า fee ที่สำคัญอีกส่วนคือ pool ที่เกี่ยวข้องกับ lending protocol ก็มักจะเอาเหรียญนั้นๆ ไปปล่อยกูเพิ่ม ทำให้ LP ใน Pool นี้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเงินฝากนอกหนือกไปจาก fee ที่ได้จาก swap volume บน Curve และพันธมิตร นอกนั้นก็จะเป็นพวกค่าฝากค่าถอนซึ่งถือว่าไม่มากนัก สังเกตุว่า pool ที่เชื่อมกับ lending protocol จะมี yield สูงกว่า pool ที่เป็น swap ธรรมดา แต่ก็เสี่ยงเรื่อง credit risk มากขึ้นเช่นกัน
เพียงแต่ความน่าสนใจของรายได้จะอยู่ทีส่วนที่สอง คือ Curve Goverannce ซึ่งสามารถ boost ผลตอบแทนเพิ่มจากเดิมโดยอาศัยค่า fee ส่วนที่เหลืออีกครึ่งนึง ซึ่งเอามาจัดสรรให้กับคนที่่ stake CRV ที่จะได้เหรียญ veCRV ซึ่งใครที่มี veCRV สามารถเข้าไป vote ได้ว่า จะให้ fee ส่วนนี้ ไปอยู่กับ pool ไหน
สรุปกันอีกที
Farm เหรียญใน Curve จะได้ LP token ซึ่งอยู่ในรูป CRV หรือ 3CRV ซึ่งเป็น LP ของ 3Pool คนที่ farm ได้รายได้เป็น 50% ของ platform fee
ถ้าเอา CRV ไป Stake ต่อ จะได้ veCRV (voting escrow CRV) ซึ่งคนที่ถือ veCRV จะได้ค่า fee ส่วนที่เหลือ รวมถึง vote การจัดสรร fee ดังกล่าวได้ด้วย เพียงแต่! veCRV ที่จะได้ ขึ้นกับเวลาการ lock CRV ต้อง lock นาน 4 ปี ถึงจะได้ค่า fee ส่วนนี้ 1:1 และถ้าเวลาผ่านไป veCRV จะลดลงเรื่อยๆตามเวลา ทำใหต้องคอยไป extend เรื่อยๆ ทำให้เกิด protocol ที่มาช่วยเป็น agent ในการจัดการตรงนี้ แล้วเก็บค่าธรรมเนียม คล้ายๆเป็น property agent คอยจัดการธุระตรงนี้ให้ ซึ่งก็คือ convex นั่นเอง เรื่อง Convex ขอยกไว้เป็นตอนถัดไปครับ
มาถึงประเด็นที่สอง ว่าทำไมพวก Algorithmic stable coin ถึงให้ความสำคัญกับ Curve กันนัก กลับไปที่เรื่องแรกก่อนว่า รายได้หลักของ Curve คือ ค่า fee เพียงแต่ fee ที่ได้ จะขึ้นกับ volume การ swap ของ stable coin นั่นแปลว่าช่วงไหนที่มี activity มาก ก็จะได้รายได้มาก ช่วงไหน activity น้อย รายได้ก็จะน้อยตาม อยางช่วงนี้เป็นต้น ถ้ามีดูค่า fee ตอนนี้ base APY อยู่ที่แถวๆ 0.5% เท่านั้น ถึงแม้จะรวม boost เข้าไป ถ้าช่วงตลาดซบเซา ก็อาจจะยังไม่ค่อย attractive อยู่ดี
ทีนี้พวก Chain ที่เป็น algorithmic stable coin เค้าสนใจอะไรกัน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ algorithmic stable coin ก่อน ซึ่ง stable coin กลุ่มนี้ใช้หลักการของ self ecosystem demand มาสร้างเสถียรภาพของราคาเพื่อให้ยังอยู่ใน peg ดังนั้น แปลว่า ตราบใดที่ยังมีการใช้เหรียญ คนยังเชื่อในเหรียญ ราคา stable coin ก็ยังคงความเป็น stble coin อยู่ได้ แต่ความเสี่ยงหลักคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ demand การใช้เหรียญลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จะเกิดสถานการณ์ vicious cycle แบบ Bank run ทำให้ราคาทั้ง stable coin และเหรียญที่ถูกใช้เป็นกลไลในการ maintain ราคาจะ tank ทันที ทำให้เหรียญอย่าง Luna ที่มี UST เป็น stable coin พยายามสร้าง demand จากการฝากใน ecosystem ตัวเอง ด้วยการ offer interest rate สูงถึง 19%
แต่อย่างที่เป็นว่ามันไม่ sustainable ทางแก้มีหลายทาง ที่ทำไปแล้วแล้วดูน่าสนใจคือ การกลับไปหาหลักการเดิมคือ พยายามใช้อะไรมา back เพื่อสร้างระดับของ pshchological floor เช่น BTC หรือ AVAX แต่อีกทางก็ต้องพยายามสร้าง demand ของเหรียญด้วย ซึ่งอย่างที่คุยมาคือ ถ้า ecosystem ตัวเองไม่พอ ก็ต้องหาทางไปสร้าง demand ผ่านการแลกเปลี่ยนในตลาด อย่าง Curve ในเมื่อ use case ของ stable coin คือ gateway การเข้าไปมีบทบาทในตลาด exchange ย่อมทำให้เป็นการขยาย use case และสร้างโอกาสในการใช้ใน ecosystem อื่นๆได้
แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะอย่างที่เห็นว่าจุดแข็งอย่างนึงของ Curve คือ การมี TVL ที่ใหญ่ที่สุดในโลกของ Swap เหรียญไหนที่มี demand ในการ stake ใน Curve แปลว่าเหรียญนั้นย่อมต้องถูก lock ใน system ไปอย่างน้อย 4 ปี ในมุมนึงคือการสร้าง demand ในรูปของ Reserve currency และการทำให้ supply ในระบบหายไปอย่างน้อยๆก้เท่ากับระยะเวลาที่ถูก lock ใน Curve ซึ่งแปลว่า เหรียญที่ถูก burn เพื่อสร้าง stable coin จะไม่มีการกลับมาอย่างน้อยๆ 4 ปี ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ Frax ทำอยู่ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ฉลาดโดยไม่ต้องใช้เงินให้ incentive ด้วยตัวเอง แต่ไปทำผ่าน Convex ซึ่งใช้เงินน้อยกว่ามาก รวมถึงให้ผลยาวนานหลายปี และประเด็นนี้เลยเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามที่หลังๆควรจะเรียกว่า Convex war มากกว่า Curve war
frax ได้สัดส่วนที่สูงในการจัดสรรผลประโยชน์ของ admin fee
อีกเรื่องที่คนอาจจะสงสัยว่า อะไรทำให้ Boost ได้ 2.5x ของ base fee อันนี้จากความเข้าใจ ต้องกลับไปดู Tokenomics ของ Curve
Curve Tokenomics
============
The total supply of 3.03b is distributed as such:
62% to community liquidity providers
30% to shareholders (team and investors) with 2-4 years vesting
3% to employees with 2 years vesting
5% to the community reserve
ปัจจุบัน Curve ออกมาแล้วประมาณ 1 พันล้านเหรียญ จากทั้งหมด 3 พันล้านเหรียญ ช่วงนี้ inflation สูงมาก (เป็นอีกเหตุผลที่ส่วนตัวคิดว่า CVX น่าสนใจกว่า ถ้าจะเล่นกับเกมส์นี้) โดยในนี้ มี CRV ที่เอาไป lock อยู่ประมาณ 43% ซึ่งส่วนค่า fee 50% ส่วนทีสอง คนที่จะได้คือ veCRV เท่านั้น ซึ่งได้ใช่ 1:1 แต่แปรผันตามเวลา เพียงแต่ระยะเวลาเฉลี่ยตอนนี้คือ 3.6 ปี (จากยาวสุด 4 ปี)
ถ้าบอกว่า คนที่เป็น LP ส่วน 60% แรกที่ไม่ได้ lock ได้ fee 50% แรก ส่วนคนที่ stake CRV ได้เป็น veCRV ถึงจะได้ส่วนที่เหลือ ทำให้ return ของส่วนที่สองจะดีกว่าส่วนแรกมาก (ตัวหารน้อยกว่า แต่ก็แลกกับ liquidity ที่ lock ไปสี่ปี) ถ้ารวมสองส่วนนี้เข้าด้วยกันแบบ pro rata ธรรมดาๆ ก็จะได้ว่า คนที่ยอมสละ liquidity โดยยอม lock CRV ไป 4 ปี มีโอกาสได้ return สูงกว่าคนที่ไม่ stake ประมาณ 2.5 เท่าพอดีๆ ซึ่งการจะได้ boost ระดับนี้ แล้วยังได้ liquidity แต่ยอมเสียค่านายหน้า 17% (หรือน้อยกว่าถ้า stake CVX ด้วย) ทำให้ Convex เป็นพระเอกขี่ม้าขาวเข้ามาในเกมส์จนเกิดเป็น Curve War
สรุป Curve protocol ในหนึ่งแผ่น
จบประมาณนี้ก่อนครับ ตอนหน้าจะพยายามศึกษาเรื่อง Convex & Bribe ในตอนถัดไปครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา