19 เม.ย. 2022 เวลา 07:55 • คริปโทเคอร์เรนซี
Curve War ตอนที่ 3: Yearn Finance ผู้จุดประกายให้เกิด Convex
ตอนนี้เรามาทำความรู้จัก Yearn Finance กันหน่อยครับ แล้ว Yearn มาเกี่ยวอะไรกับ Curve War
ต้องเล่าว่า ก่อนจะมี Convex ที่ตอนนี้ต้องถือว่าเป็นผู้คุมใหญ่ของ Curve ไปแล้ว คนที่ทำ concept เดียวกันกับ Convex โดยเป็น yield enhancer และเป็น CRV accumulator มา Convex ก่อน ก็คือ Yearn finance นี่เอง ซึ่งสุดท้าย Yearn finance ก็หลบฉากไป กลายเป็น Convex ที่ขึ้นมาแทน
Yearn Finance เป็น protocol ที่ Andre Conje (คนที่เพิ่งประกาศลาวงการไปเมื่อต้นเดือนมีนาคม) ซึ่งต้องถือว่าเป็น genius คนนึงในวงการคริปโตเลยก็ว่าได้ เค้ามี pain point นึงในโลกของ DeFi มาก่อน คือ สมัยก่อนพวก lending protocol ทั้งหลาย ไม่ว่าจะ Maker, AAVE, DyDx etc เค้าจะต้องคอยมาดูทุกเช้าว่า platform ไหน ให้ yield ดีสุด ก็ย้ายเงินไปไว้ที่นั่น แรกๆก็คงไม่เท่าไหร่ แต่พอต้องทำเหมือนเดิมซ้ำๆทุกเช้า ก็ชักจะไม่ไหว
เลยสร้าง yearn หรือ y-earn finance ขึ้นมา โดยจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ Yearn คือ Vaults เป็น platform ที่ให้ community สามารถเข้ามาสร้าง strategies ในการหาผลตอบแทนจาก yield protocol ทั้งหลายในโลกของคริปโตได้ โดยคนคิดกลยุทธ์จะได้ส่วนแบ่งจากกำไรไป พูดอีกอย่าง ก็เหมือนกับเป็น Fund management platform ที่สามารถให้ใครก็ได้เข้ามาเป็น fund manager โดยสร้าง strategy ที่เขียนด้วย solidity และผ่านการ vote โดย community ของ Yearn ด้วย YFI token ซึ่ง Vaults ที่ใหญ่ๆเช่น yearn ETH vault หรือตัวที่จะต้องพูดถึงคือ yearn Curve vault นั่นเอง
ตัวอย่างการเพิ่มผลตอบแทนโดยการฝากใน vault เช่น yearn ETH เมื่อเราฝาก ETH ใน vault เราจะได้ ytokens กลับมา ซึ่งจำนวน token ที่จะได้กลับมา ขึ้นกับผลตอบแทนที่ได้ หักค่า fee ทั้งหมดแล้ว
ภาพจาก YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=9vTaNl2_B8A
จากตัวอย่าง ถ้าเราฝาก ETH เข้าไป vaults จะเอา ETH ไปฝากไว้กับ MakerDao แล้วกู้ DAI ออกมา จากนั้นเอาเงินที่กู้ได้ เข้าไปฝากใน YDaiVault อีกต่อนึง ซึ่งเงินตรงนี้ ก็จะถูกเอาไปใช้เป็น Liquidity ที่ Curve ซึ่งก็จะได้ CRV มาในท้ายที่สุด ซึ่ง vault อาจจะเอา CRV บางส่วนที่ได้เป้นผลตอบแทนกลับมา แลกเป็น ETH เพื่อวน loop ซ้ำ หรือ บางส่วนก็ฝากเข้าไปใน Curve เพิ่มเพื่อ boost ผลตอบแทน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นไปตาม strategy ที่กำหนดไว้ โดยเราจะรู้ผลตอบแทนคร่าวๆของ vault ก่อนจะฝาก ซึ่งก็คล้ายๆกับการที่เราซื้อกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนก็จะเอาเงินเราไปหาผลตอบแทนตามที่ต่างๆให้นั่นเอง
การที่ vault สามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า หรือง่ายกว่าการที่เราทำเอง ประกอบด้วยสองส่วน 1) ทุกอย่างเป็น automatic โดยระบบจะทำทุกอย่างให้เราโดยอัตโนมัติตาม code เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีที่สุดตามที่เขียนไว้ โดยเราไม่ต้องทำเองแบบ manual และ 2) economy of scale ซึ่งอย่างที่เราใช้บริการกองทุนรวม เพราะหลายๆอย่าง เราทำเองหมดอาจจะไม่คุ้ม พอรวมๆกันขึ้นมาเป็น pool ใหญ่ ค่าใช้จ่ายบางอย่างก็ถูกลง รวมถึงค่า gas ใน Ethereum ซึ่งในบางเวลาอาจจะแพงมากๆ พอเงินน้อยๆ ทำคนเดียว ทำเอง จ่ายค่า gas เองคนเดียวอาจจะไม่คุ้ม แต่พอรวมเงินเข้าเป็นกอง vault แล้วทำทีเดียวเป็น transaction ใหญ่ๆ ค่า gas ก็หารกันเกิดการประหยัดจากขนาด economy of scale ทำให้คุ้มค่า gas ในการทำ transaction ได้
คล้ายๆกับการที่เราซื้อกองทุนโดยผู้จัดการกองทุน ก็จะทำหน้าที่ไปหาสินทรัพย์ลงทุนให้เราแทน โดยเราไม่ต้องไปนั่งเฝ้าหน้าจอทุกวัน ซื้อขายเองตลอดเวลา ซึ่งเราอาจจะไม่มีเวลา หรือค่าดำเนินการด้วยตัวเองทั้งหมดอาจะไม่คุ้ม หรือ asset class บางอย่าง รายย่อยอย่างเราก็อาจจะไม่คุ้มค่าใช้จ่ายที่จะไปลงทุนเองคนเดียว พอเป็นรูปแบบกองทุน เราสามารถลงทุนได้ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมเพียงไม่กี่ % ให้บริษัทจัดการ แม้เงินลงทุนอาจจะไม่มากนั่นเอง พูดง่ายๆคือ yVault ของ Yearn ไม่ต่างจาก platform ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นบริษัทจัดการกองทุนนั่นเอง
แต่การที่มีคนทำให้ ก็ต้องมีค่าธรรมเนียม ซึ่งตอนนี้ yearn คิดค่าธรรมเนียมคล้ายๆกับ hedge fund ทั่วไปในต่างประเทศเลย คือ มี base fee 2% กับ performance fee ที่ 20% โดย base fee จะใช้สำหรับจ่ายค่า gas อื่นๆ ส่วน performance fee นั้น ครึ่งนึงหรือ 10% ถูกจ่ายให้กับ strategist หรือคนที่คิด strategy ของ vault นั้นๆ ส่วนที่เหลือก็จะเข้า treasury ของระบบ ต่อไป
แต่กระบวนการฝากใน Curve นั้น เพื่อให้ได้ boost สูงสุด กระบวนการนี้จะไม่มีการ reverse กลับมาเป็น CRV แปลว่า เราจะเสีย CRV ของเราไปตลอดกาล เช่นเดียวกับ Convex แต่เราสามารถเอา yveCRV นั้น ไปแลกเป็น ETH หรืออื่นๆ ได้ที่ SushiSwap เช่นเดียวกันกับ Convex เพื่อแลกกลับมาเป็นเหรียญที่ liquid กว่าได้เหมือนๆกัน
ในเมื่อส่วนใหญ่ yearn กับ convex ก็เหมือนๆกัน แล้วอะไรทำให้ สุดท้าย Convex กลายเป็นผู้คุม Curve แทน Yearn ไปได้ทั้งๆที่ yearn มาก่อน แต่ถูก convex คว้าตำแหน่งไปภายในเวลาไม่กี่เดือน
ส่วนตัวมองว่า เหตุผลน่าจะเป็นเพราะสองส่วน ซึ่งทั้งหมด link ไปสู่ค่า fee ของระบบ เพราะ Convex เก็บค่า fee ถูกกว่า แม้จะถูกกว่ากันไม่มากนัก โดยคิด performance fee ประมาณ 17% แต่ส่วนที่ต่างมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่อง benefits sharing design
โดย Yearn finance จะจ่าย performance fee จำนวน 10% ให้กับ strategist ส่วน Convex fee นั้นจ่ายเข้าระบบทั้งหมด ซึ่งสดท้ายคนที่ได้ประโยชน์คือ คนที่ถือเหรียญ CVX อยู่ดี และนอกจากนี้ Convex ยังได้ bribe หรือสินบนเพื่อให้ vote ให้กับ liquidity pool เพิ่มเติมอีกด้วย
ถ้าเราเทียบผลตอบแทนของทั้งสอง protocol net fee ระหว่าง Yearn กับ Convex ก็จะเห็นเลยว่า ผลตอบแทนที่ได้จาก Convex นั้นสูงกว่า จนทำให้ตอนนี้ Convex ขึ้นมาเป็นผู้คุมผลประโยชน์ที่เกิดจาก Curve ที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะเป็นแบบนี้ได้ตลอด เพราะก่อนจะมี Convex ก็เป็น Yearn มาก่อนเหมือนกัน
vaults composition โดย tokenterminal
จะเห็นว่าก่อหน้านี้ vault โตมาจาก stable coin ตามมาด้วย stable coin swap อย่าง Curve ก่อนจะถูก Convex แย่ง market ไปช่วงปลายปี 2021 อีกทั้งเดือนมีนาคม Andre Conje ก็ประกาศลาวงการออกไปอีก เพราะฉะน้้นอะไรก็ไม่แน่นอนสำหรับโลกของ Crypto และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาครับ
จากรูปด้านล่าง จะเห็นได้ว่า TVL ของ Yearn นั้นนำมาก่อน แต่หลังจาก convex เกิดได้ไม่กี่เดือน TVL ของ Convex แซงหน้า yearn จนขึ้นไปสูงสุดที่เกือบ $20bn ในขณะที่ Yearn ยังอยู่แถวๆ $2-3bn
Convex TVL from tokenterminal
Yearn TVL from tokenterminal
แต่สำหรับ convex ตราบใดที่ยังไม่มีใครที่สามารถคิดระบบที่สร้างผลตอบแทนให้ได้ดีกว่าที่ Convex ทำได้ตอนนี้ แต่ยิ่งนานไป Convex ก็อาจจะยิ่งใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆจนเข้าสู่การเป็น winner take all ก็เป็นได้ จนอาจจะมี another Curve protocol ในอนาคต ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ
จบ yearn แต่เพียงเท่านี้ครับ
ส่งท้ายด้วยบทความนี้เขียนขึ้นจากความเข้าใจของผมส่วนตัว ณ เวลาที่เขียน ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลง หรือผมอาจจะเข้าใจผิดได้ ยังไงศึกษาด้วยตัวเองเพิ่มเติมนะครับ แล้วมาแชร์กันได้ครับ ขอบคุณครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา