9 พ.ค. 2022 เวลา 12:24 • คริปโทเคอร์เรนซี
Curve War ตอนที่ 4: Curve and Convex: A deeper dive
ตอนนี้มาทำความรู้จัก Curve และ Convex ในเชิงลึกกันบ้างนะครับ หลังจากใช้เวลาพยายามศึกษาอยู่พอสมควร เพราะ protocol ที่ดูเหมือนง่าย แต่จริงๆมีความซับซ้อนอยู่มาก
ผมเลยพยายามเขียนเป็น diagram เพื่อให้ตัวเองเข้าใจและเวลากลับมาดูอีกทีจะได้ไม่ลืมว่ามันทำงานยังไง ถ้าเอาแบบแปลตามที่เค้าเขียนใน documentation แต่ไม่เข้าใจ flow ทั้งหมด ผมคิดว่าน่าจะงง เพราะมีตัวแปรหลายตัว แล้วมันเชื่อมถึงกัน เหมือนเครื่องยนต์ที่ทำงานสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ อธิบายด้วยคำพูดอย่างเดียวน่าจะยากมาก
บทความยาวหน่อยนะครับ แต่เพราะระบบค่อนข้างซับซ้อน จะพยายามค่อยๆอธิบายไปทีละขั้นครับ
จากที่เคยเกริ่นไปในตอนต้นแล้วว่า Curve คือ swap ที่เกิดมาจาก stable coin ด้วย formula ที่พยายาม minimize slippage หรือความเพี้ยนของราคา แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบ protocol ของ Curve มี pain point อยุ่เรื่องนึง คือ ในการที่จะได้ Boost reward ของ Curve จำเป็นต้อง lock เหรียญ CRV ไว้นานถึง 4 ปี จริงๆก้เพื่อ incentivize ให้ reward กับคนที่ commit กับ Curve จริงๆ
ก่อนอื่นเลย มาทำความเข้าใจระบบการให้ reward ของ Curve กันก่อนครับ
Curve reward diagram
เนื่องจาก Curve เป็น Decentralized Exchange จึงให้ reward กับคนที่ให้ Liquidity โดยเอาค่า fee ที่ได้จากคนที่มา trade บน Curve ที่เก็บอยู่ 0.04% มาจัดสรร ซึ่งคนที่เป็น Liquidity provider หรือ LP จะได้รับ LP token หลังจาก deposit liquidity ไปในระบบแล้ว
ซึ่ง fee ของ Curve ที่ 0.04% นี้ ครึ่งนึงหรือ 0.02% จะถูกจัดสรรให้กับ LP token ตามแต่ pool ที่ LP นั้นฝากไว้ แปลว่าถ้า deposit ใน pool ที่มีการ trade มาก ก็จะยิ่งได้ yield สูงขึ้นตามไปด้วย แต่ก็ต้องแบ่งกับคนอื่นที่เข้ามาฝากอยู่ใน pool เช่นเดียวกัน ซึ่ง base yield APY นี้ สามารถดูได้จากตาราง Curve pool ว่าปัจจุบันให้ APY เท่าไหร่
ทีนี้ คนที่อยากได้ผลตอบแทนที่มากขึ้นไปอีก หรือพูดอีกอย่างคือ อยากได้ส่วนของ 0.02% อีกครึ่งที่เหลือของ Curve จะต้องมีขึ้นตอนเพิ่มเติม คือ ต้องฝากเหรียญ LP token ที่ได้มา แล้วได้เหรียญ $CRV กลับไป แต่ขึ้นตอนนี้ Curve จะยังไม่ให้ reward ต้องเอา $CRV ที่ได้มา lock เข้าไปใน Curve อีกที โดยรอบนี้ Curve จะให้ veCRV (vote-escrowed CRV) กลับมา
ซึ่ง veCRV นี้ จะได้มาจำนวนเท่าไหร่ ขึ้นกับระยะเวลาของการ lock CRV ซึ่งมีตั้งแต่สัปดาห์จนถึง 4 ปี ถ้าอยากได้แบบ 1:1 เราต้องฝาก CRV 4 ปี แต่ถ้าไม่ถึง เช่น 1 ปี ก็จะได้ veCRV ลดลงตามสัดส่วนคือ 0.25 veCRV
ซึ่ง Curve ก็จะจัดสรร fee อีก 0.02%ที่เหลือตาม veCRV ที่มีคนมา lock ตามสัดส่วน ในรูปของ 3CRV ซึ่งเป็น LP token ของ tripool (DAI+USDT+USDC) ซึ่งสามารถเอาไป stake ต่อเพื่อให้ได้ $CRV อีกที
แต่แปลว่าถ้าเราอยากได้ fee แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เราต้อง lock $CRV ใน Curve 4 ปี ซึ่งอาจเป็นวิธีที่คนหลายคนไม่นิยม เพราะระยะเวลา 4 ปีของ Crypto มันอาจจะนานมากๆ
เพื่อให้คนที่มา lock ได้ inventive เพิ่มขึ้น Curve ให้สิทธิคนที่ถือ veCRV ในการ vote ว่า เจ้าค่า fee ที่เหลือมา 0.02% นั้น จะจัดสรรให้กับ pool ไหน ตรงนี้เลยเป็นที่มาของ Curve War นั่นเองครับ ซึ่ง pain point ของคนที่มี $CRV ตรงนี้ ถูก solve โดย Convex protocol นั่นเอง
Convex protocol สร้างขึ้นมาเพื่อหาวิธีเพิ่ม liquidity ให้กับคนที่ไม่อยาก lock CRV ไว้นานถึง 4 ปี ได้ boost ที่ดีพอสมควร แลกกับการไม่ต้อง lock ยาว แล้วได้ reward อื่นๆ เช่น CVX ซึ่งเป็น governance เพิ่ม ซึ่งการทำงานค่อนข้างซับซ้อน จะพยายามอธิบายให้ง่ายที่สุดนะครับ
Convex reward for Cure LP provider
ขอเริ่มจากคนที่เคยเป็น LP บน Curve ก่อนละกันนะครับ จากเดิม คนที่เคยให้ liquidity กับ Curve พอได้ LP token มาแล้ว อาจจะเอาไป stake เพื่อให้ได้ CRV (ซึ่งแปลว่าจะต้อง lock ต่อไป หรือเอาไปขายในตลาดเลย) อีกทางเลือกคือ เอามาฝากกับ Convex ซึ่ง พอมาฝากกับ Convex ได้ Convex LP แล้ว ก็สามารถเอาไป Stake ใน Convex reward contract ต่อ ตอนนี้จะยังคล้ายๆกับ Curve นะครับ แต่ความต่างคือ
เดิม การที่จะได้ boost reward ที่เหลือทั้งหมด ต้อง lock ยาว 4 ปี แต่รอบนี้ เรามีโอกาสได้ส่วนที่เหลือทั้งหมด แต่ต้องแลกกับการจ่ายค่า fee ให้ Convex ซึ่ง Convex เก็บอยู่ประมาณ 17% ของ CRV ที่ได้จากกระบวนการนี้ โดยค่า fee ทีเหลือ คำนวณคร่าวๆแล้วเทียบเท่ากับการ lock ประมาณ 3 ปีกว่า ซึ่งอาจจะคุ้มกว่าสำหรับคนที่ไม่อยาก lock ยาว
และนอกจากนี้ Convex LP token ที่เราได้มา ยังสามารถแลกกลับไปเป็น Curve LP token เดิมเมื่อไหร่ก็ได้ และ Convex ยังให้ $CVX มาเพิ่ม เพื่อเป็น reward เพิ่มเติม ซึ่งเราสามารถเอา CVX ไป stake ต่อเพื่อให้ได้ reward ส่วนที่จ่ายไปกลับมา 5% ตาม diagram ต่อไปนะครับ
Convex reward for Cure staker
ทีนี้ กรณีที่เราต้องการเป็น staker อยู่แล้ว ไม่ได้ต้องการ liquidity มากขนาดนั้น เราสามารถเอา CRV ที่ไม่ว่าจะมาจากการที่เราฝาก LP token กลับเข้าไปหรือมาจากการซื้อในตลาด stake ไปกับ Convex ซึ่ง Convex ก็จะเอา CRV ของเราไป Stake ต่อใน Curve
แต่ต้องย้ำว่า ถ้าเป็นการ stake แล้วเราจะไม่สามารถเอา CRV นั้นกลับมาได้อีกเลย คือ ไปแล้วไปเลยนะครับ แต่ Convex จะให้ cvxCRV (convex CRV) กลับมาแทน ซึ่งจะจ่าย reward ที่เราควรจะได้จาก Curve กลับมาให้เหมือนเดิม แต่ต้องแลกกับสิทธิในการเปลี่ยน CRV ของเราเป็น veCRV ซึ่งก็คือการโอนสิทธิที่ว่า ไปให้ convex แบบถาวร แลกกับผลตอบแทน
หลังจากได้ cvxCRV มาแล้ว เราสามารถเอาไป stake ต่อ ซึ่ง Convext ก็จะเอาผลตอบแทนที่เทียบเคียงกันที่ได้จาก Curve มาจ่ายให้เราเช่นเดิม เหมือนตอนเราเป็น CRV stakers
แต่พอ stake กับ Convex เราจะได้ส่วนแบ่งค่า fee ที่ได้มาจาก Convex ด้วย โดยค่า fee ที่ Convex เก็บ 17% นั้น 10% จะแบ่งให้กับ cvxCRV staker ส่วนอีก 5% จะแบ่งให้กับ CVX stakers ซึ่ง CVX ก็คือ reward ที่เราจะได้จากทั้งการ stake และ LP นั่นแหละครับ แต่ fee ที่จ่ายจะอยู่ในรูปของ cvxCRV ก็คล้ายๆกับ incentive ให้เรา stake กลับเข้าไปในระบบใหม่
หรืออีกทางเลือกนึง คือ พอเรามี cvxCRV กับ CRV เราสามารถเอาคู่เหรียญนี้ไป LP กับ SushiSwap ซึ่งเป็นตังกลางในการให้ liquidity กับคนที่มี cvxCRV แลกกลับเป็น CRV ได้ ซึ่ง LP token ที่ได้จาก sushiswap จะอยู่ในรูปของ $CVX ซึ่งเราสามารถเอากลับไป stake ใน convex ได้เช่นกัน
สรปคือ ไม่ว่าจะ contribute ในรูปแบบไหน เราจะได้ $CVX เป็นการตอบแทน แต่อาจจะในสัดส่วนที่ต่างกัน ซึ่ง CVX เองก็ incentive ให้ stake ต่อเพื่อให้ได้ Convex fee ข้างต้น
ทีนี้ยังมีค่า fee เหลืออยู่อีก 2% สำหรับ 1% แรก จะแบ่งให้กับคนที่ lock $CVX เป็น vote lock CVX เวลา Convex vote ว่าจะให้ pool ไหนใน curve ได้ reward fee ไป กับอีก 1% ที่เหลือจะเก็บไว้เป็น treasury ของระบบ
จะเห็นว่าการทำงานค่อนข้างซับซ้อน แต่ Convex ก็ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหา liquidity ของคนที่มี $CRV ที่อยากได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น โดยไม่อยาก lock เหรียญไว้นานถึง 4 ปี ก็ต้องยอมรับว่าเป็นวิธีคิดที่ฉลาดมากๆ
แต่ถ้าถามว่า ถ้าจะลงทุนกับเหรียญไหนดีระหว่าง CRV หรือ CVX ผมเลือก CVX ทั้งๆที่เราก็ทราบกันดีว่า Curve war แปลว่า คงต้องอยากได้ CRV สิ แต่ทำไมผมถึงคิดว่า CVX อาจจะน่าสนใจกว่า
ไม่ใช่เพราะ Curve protocol น่าสนใจน้อยกว่า Convex นะครับ ผมคิดว่า Curve จะยังอยู่อีกนาน แต่เหตุผลที่ในที่สุดแล้วเลือก CVX เพราะ tokenomic ของ CVX ดีกว่า CRV ครับ
Curve token schedule
CVX schedule
จาก Tokenomic ของ Curve จะเห็นว่าตอนนี้ Curve ยังอยู่ในช่วงของการ inflattion ที่ยังมีเหรียญที่จะปล่อยออกมาอีก 2 ใน 3 ซึ่งการเพิ่มขึ้นระดับนี้ ผมไม่แน่ใจว่า demand ของ Curve จะทันกันกับ supply ของเหรียญที่จะออกมา เลยเชื่อว่า supply ที่ออกมาน่าจะทำให้ economic ของเหรียญถูกแชร์ไปมากกว่า demand ที่เพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่าเหรียญส่วนใหญ่ของ CRV จะถูก lock อยู่ในระบบ แต่ก็ยังวางใจไม่ได้ คงต้องคอยสังเกตุติดตามว่า reward ที่ให้กับ pool สำคัญๆ ให้ผลตอบแทนที่ลดลงเรื่อยๆหรือไม่
เว้นแต่ถ้าเห็น demand ใหม่ๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของ stable coin ใหม่ๆ ในระบบจาก protocol อื่นๆ หรือการเพิ่มขึ้นของ demand ที่ Curve ก็เป็นอีกทางเลือกในการ swap เหรียญจาก stable coin เป็นเหรียญอื่นๆ จากที่เป็นบาง pool ก็แลกจาก USDC เป็น BTC ETH เลยก็มีครับ
ส่วน Convex นั้น supply ออกมาเกือบจะถึง 100 ล้านเหรียญแล้ว ถ้าไม่ได้มีการออกเหรียญมาเพิ่ม แปลว่า supply ของ CVX น่าจะหมดในเวลาต่อมา และ CVX มีส่วนได้รับ fee จาก Curve เช่นเดียวกับ CRV ในรูปของการ stake
ถึงแม้ตอนนี้จะเป็นแค่บางส่วน แต่ถ้าเทียบว่า ยังมีเหรียญ CRV ออกมาได้อีกสามเท่าของจำนวนปัจจุบัน แต่เหรียญ CVX แทบจะไม่มีเพิ่มแล้ว และถ้า CVX ยังคงความเป็น dominant ใน CRV อยู่ โอกาสที่จะเห็นผลตอบแทนของการ stake CVX น่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ความเสี่ยงที่สำคัญเลย คือ อนาคตอาจจะมี protocol อื่น ที่มาแทน Convex ได้เหมือนกัน แต่วันนี้ CRV ที่มีอยู่ส่วนใหญ่ยังอยู่กับ Convex แม้ส่วนที่เหลืออีก 2 พันล้านเหรียญ ยังไม่รู้ว่าจะตกอยู่ในมือใคร ถ้า Convex ยังคงรักษาความเป็น dominance ใน Curve ได้ ก็มีโอกาสที่ Convex จะยังเป็นเจ้าของเหรียญ Curve ที่กำลังจะออกมาต่อไป
จบแล้วนะครับ สำหรับ Curve และ Convex ส่วนสุดท้ายจะเป็นการ Bribe หรือติดสินบนให้คนที่มี Curve อย่าง Convex ได้ reward เพิ่มเพื่อไป vote ให้กับ pool ของตัวเอง เป็นตอนถัดไปนะครับ
สุดท้ายนี้ เช่นเคยครับ บทความนี้ไมได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเชียร์ให้ซื้อหรือขาย เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ณ เวลาที่เขียนเท่านั้นครับ ผมไม่ใช่ Financial advisor และผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล และปรึกษาที่ปรึกษาการลงทุนของท่านก่อนการตัดสินใจลงทุนนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา