23 เม.ย. 2022 เวลา 13:00 • สุขภาพ
เคล็ดลับสุขภาพกับพบแพทย์👩‍⚕
😢🤪เมื่อพูดถึงโรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้วคนมักจะนึกถึงคนที่อารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ซึ่งรูปแบบอาการหลักของโรคนี้ก็เป็นในลักษณะดังกล่าว แต่ก็มีรายละเอียดของอาการที่ต่างกันออกไป
⚠ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งโรคนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรสังเกตอาการเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาการจะรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิต ไปจนถึงการฆ่าตัวตาย
หลายครั้งที่ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมาเยือนโดยไม่รู้ตัว เพจพบแพทย์ #Pobpad จึงได้นำรูปแบบและสัญญาณของอาการโรคไบโพลาร์มาให้ทุกคนได้ลองสำรวจตัวเองและคนรอบข้างกัน
อาการโรคไบโพลาร์แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบหรือ 2 ขั้วหลัก ๆ ดังนี้
😢แบบที่ 1: ขั้วภาวะซึมเศร้าหรือดีเพรส (Depression)😢
🔸รู้สึกไร้เรี่ยวแรง อ่อนเพลีย หมดพลังงาน ไม่สดชื่น
🔸ซึมเศร้า เก็บตัว เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย
🔸เหนื่อยหน่าย เบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง
🔸ครุ่นคิด วิตกกังวลต่อสิ่งต่าง ๆ ฟุ้งซ่าน มองโลกในแง่ร้าย
🔸ไม่มีความสุขในชีวิต ไม่มีอารมณ์ขัน ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกดีหรือผ่อนคลาย
🔸รู้สึกผิดหวัง ว่างเปล่า โดดเดี่ยว ไร้ค่า มีความคิดอยากตายหรืออยากฆ่าตัวตาย
🔸มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ไม่สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ ไม่มีสมาธิในการทำสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วง
🔸ทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดน้อยลงมาก ไม่อยากทำอะไร
🔸มีปัญหาในการนอน นอนไม่หลับ นอนมากหรือน้อยเกินไป
🔸มีปัญหาด้านการกิน กินอาหารปริมาณมากหรือน้อยจนเกินพอดี
🔸มีแนวโน้มใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
🤪แบบที่ 2: ขั้วภาวะอารมณ์ดีผิดปกติหรือแมเนีย (Mania)🤪
ขั้วแมเนียสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดย่อยคือภาวะอารมณ์ดีผิดปกติทั่วไปและในช่วงภาวะคึกคักเล็กน้อย โดยจะต่างกันตรงนี้ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติทั่วไปอาจแสดงอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และภาวะคึกคักเล็กน้อยจะแสดงอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น
🔹รู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีพลังงานสูงมากจนผิดปกติ
🔹อารมณ์ดี ร่าเริงเกินไปอย่างไม่สมเหตุสมผล อยู่ไม่นิ่ง
🔹โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย อารมณ์ไม่คงที่ ไม่มีเหตุผล
🔹ทำกิจกรรมต่าง ๆ มาก ๆ ในคราวเดียวกัน
🔹หุนหันพลันแล่น คิดเร็ว พูดมาก พูดเร็ว ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
🔹มีความต้องการทางเพศสูง อาจมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าได้ง่ายโดยไม่ป้องกัน
🔹ประมาท ตัดสินใจได้ไม่ดี มีความผิดพลาดสูง ใช้ชีวิตบนความเสี่ยง ใช้เงินฟุ่มเฟือย
หากพบว่าตัวเองมีสัญญาณของโรคไบโพลาร์หรืออารมณ์ขั้วใดขั้วหนึ่งติดต่อกันหลายสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพจิต ซึ่งการตัดสินใจไปพบแพทย์ถึงปัญหาสุขภาพจิตเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะบางคนอาจมีความเชื่อว่าโรคทางจิตหมายถึงการเสียสติ เป็นบ้า หรือบ้างก็ว่าเป็นการคิดไปเอง
☝️แต่ในความเป็นจริงมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์บ่งชี้ว่าปัญหาสุขภาพจิตเช่นนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาไม่ต่างจากความผิดปกติที่เกิดกับร่างกาย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ป่วยเองหรือคนรอบข้างควรให้กำลังใจและเปิดใจเพื่อเข้ารับการรักษา ซึ่งจะช่วยให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง
💙ไบโพลาร์ กับสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม >> https://bit.ly/3ud36WJ
💙ความหมาย โรคไบโพลาร์ >> https://bit.ly/3xbYjXG
📌อ่านบทความเพิ่มเติมหรือปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ >> https://bit.ly/3zSwYYP
📌อ่านจบแล้ว อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ แท็กเพื่อน และกดติดตามเพจพบแพทย์กันด้วยนะ
ช่องทางการติดตาม
👨‍⚕ POBPAD | เว็บไซต์ข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้
โฆษณา