Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
3 พ.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าเงินบาทที่อ่อนลง อาจทำให้ค่าครองชีพของประชาชนแพงขึ้น
📌 เงินเฟ้อไทยพุ่งสูงสุดรอบ 13 ปี
ในเดือนมีนาคม 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 5.73% จาก 5.3% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปี ซึ่งผิดกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 1-3% เป็นเดือนที่สามติดต่อกัน
ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาพลังงานเพิ่มขึ้น 32.43% โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 31.43% ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 39.95% และอาหารเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ นอกจากนี้ ราคาฐานในเดือนเดียวกันของปีที่แล้วที่ต่ำได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นเป็น 2% แรงกดดันเงินเฟ้อรอบสองคาดว่าจะยังคงถูกควบคุมไว้ เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนตัว
จากการสำรวจความคิดเห็นภาคธุรกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย การคาดการณ์เงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ประมาณ 2% สำหรับทั้งในระยะสั้น (1 ปีข้างหน้า) และระยะกลาง (5 ปีข้างหน้า) และโดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
📌 ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่ำสุดรอบ 5 ปี
เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงที่ 34.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี
ในเดือนเมษายน ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เนื่องจากความคาดหวังของนักลงทุนทั่วโลกที่ธนาคารกลางของสหรัฐจะดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อลดงบดุล ผลักดันให้ผลตอบแทนของรัฐบาลสหรัฐฯ สูงขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนเมษายน หลังจากที่ร่วงลง 0.7% ในเดือนมีนาคม เนื่องจากความแตกต่างของนโยบายการเงินระหว่างธนาคารกลางของสหรัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย ความเชื่อมั่นภายในประเทศถดถอยจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอน และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน
📌 ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอาจส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น
แม้ว่าการที่ค่าเงินบาทอ่อน จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก แต่ผู้ส่งออกควรตระหนักว่าหากค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป อาจเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดราคาหรือจัดการงบการเงินเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่นๆ
นอกจากนี้ ค่าเงินที่อ่อนค่ามักส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศ ต้องใช้จำนวนเงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าเนื่องจากมูลค่าของเงินลดลง
และประเทศไทยต้องนำเข้าสินค้า เช่น พลังงานที่กำลังเป็นปัญหาด้านราคาที่สูงอยู่แล้วในขณะนี้ ดังนั้นการที่ค่าเงินบาทอ่อนลง อาจทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อค่าครองชีพของคนในประเทศ
📌 รัฐบาลได้อนุมัติมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
รัฐบาลประกาศใช้มาตรการงบประมาณใหม่รวม 120,000 ล้านบาท เพื่อต่อสู้กับแรงกดดันด้านราคาและช่วยเหลือคนยากจน (ร้อยละ 0.7 ของ GDP) มาตรการเหล่านี้ เช่น มาตรการคนละครึ่ง มาตรการลดเงินสมทบของบริษัทและพนักงานในกองทุนประกันสังคม เงินอุดหนุนสวัสดิการสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และการตรึงราคาน้ำมันดีเซลสูงสุด 30 บาท/ลิตร ที่สิ้นสุดไปเมื่อเดือนเมษายน
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
https://documents1.worldbank.org/curated/en/099502004222241731/pdf/IDU000fe1d9909bb304d1c0b28a07ecb00e54f4c.pdf
●
https://tradingeconomics.com/thailand/inflation-cpi
ค่าครองชีพ
เศรษฐกิจไทย
ค่าเงินบาท
6 บันทึก
5
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
6
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย