7 พ.ค. 2022 เวลา 07:23 • ศิลปะ & ออกแบบ
อ่านแบบสกรีน
.
.
ภาษาไม่ทางการหรือวิชาการ แต่ด้วยการเล่าช่วงแรกกับท้ายผมชอบมาก(ให้หลายคนมาเล่าความทรงจำ บางคนเป็นนักเขียน) โดยเฉพาะการผลิตงานฉีดพลาสติก ทำแม่พิมพ์ทองเหลือง แต่อ่านข้ามๆช่วงแนะนำตัวการ์ตูนตุ๊กตุ่นเก่งๆหลานเรื่องดังในอดีต
.
.
ทำให้เห็นภาพเชื่อมโยงด้านอื่น ว่าการเล่นของเด็กไทย
ยุคก่อนมีการดัดแปลง ทักษะสร้างสรรค์ นอกจากการเข้าสังคม มีกติกา มาตรวัด การคำนวณคาดคะเน กำไรขาดทุน การพนัน ภาษาสำนวน การพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ จากของเล่น(ยุคผมก็มี การพับกระดาษ ดีดยางลบ เต๊าะเหรียญจากแถมขนม ต่อบ้านกระดาษจากแถมขนม)
.
.
อิทธิพลของสื่อ เทคโนโลยี อ่านเล่มนี้นึกอยากได้ หนังสือคนพันธุ์ป๊อป เพราะเห็นการวนลูปของกระแส เมื่อการ์ตูน หนังดังก็ย่อมไปใช้ด้านการตลาด หรือการเล่าเรื่องที่มีจุดร่วม หากนำประเภทของเส้นเรื่อง มาแยกคงได้หมวด คล้ายแยกประเภทของเล่น ของสะสม
.
.
ความทรงจำที่เราอยากลืม เมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนผ่าน ในภาวะเติบโต หรือ อัยอายที่จะกล่าวถึง (นึกถึง inside out) เรื่องของความทรงจำของประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ทั้งเนื้อหาจากสื่อและวัตถุ ของเล่น โดยสุดท้ายกลายเป็นของสะสม ที่มีรสนิยม เป็นเกณฑ์กำหนดราคา นอกเหนือวัสดุและการผลิต เป็นอุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจที่แปลก คล้ายพระเครื่อง สินค้าแบรนด์เนม
.
.
เจอเรื่อง หุ่นอภินิหาร โกดา ที่พ่อชอบในการกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ตัวผมยาวๆสีทอง(ร้านขายของสะสมยุคเก่ามักจะมี) เหนืออื่นใด เพิ่งรู้ต้นกำเนิดเพลงกีฬาสี...พายุ พระอาทิตย์ สี...ผู้พิชิต มีที่มาจากเพลงการ์ตูนดังในอดีต...
.
.
ร่องรอยในยุคสมัยต่างๆสะท้อนผ่านงานทั้งภาพ เสียง เนื้อหา วัตถุ จนกลายเป็นความทรงจำที่เป็นปัจเจก
บ้างเล่ายุคอวกาศดาราศาตร์ ผ่านจรวด เทคโนโลยี บ้างอยากหนีจากความเป็นจริง เหนือธรรมชาติ บ้างชอบการต่อสู้เลือดสาดจนสงสัยว่าเหมาะกับเด็กจริงหรือ เสียดายหาคนรวบรวมสิ่งเหล่านั้นของเด็กได้ยาก หรือสื่อผลิตเพื่อสร้างเด็กจริงๆที่สนุกและมีสาระคงยากกว่าการทำเม็ดเงินด้วยการตลาด
.
.
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโลกยุคใหม่ ผมคิดเองว่า เราต้องสร้างพื้นที่ระบบนิเวศน์ มีผู้สร้าง มีผู้เสพ การสนับสนุนของนโยบายและโครงสร้าง ช่วยทำให้เกิดสิ่งแวดล้อม รัฐได้แต่พูดแต่ยากทำ เอกชนใช้เป็นแค่เครื่องมือการตลาด เราขาดพื้นที่และคลังข้อมูล เลวร้ายสุด คือการทำความเข้าใจ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา