27 เม.ย. 2022 เวลา 14:16 • ศิลปะ & ออกแบบ
รีวิวแบบอ่านไป50-75%
เล่มนี้หามานาน ไปเจอใน asia book ตอนนี้เหลือไม่กี่เล่มแล้วในคลัง
อ่านบทแรก น่าสนใจ คนเขียนชาวอเมริกัน
รวบประวัติภาพยนตร์ โมชั่นฝรั่งเศส
(ถ้าเคยดูหนัง Hugo เล่าตอนนี้ด้วย โมชันกราฟิกแรก)
กับชนชั้นนำสยาม แค่ย่อหน้าเดียว
อธิบายความเป็น โรงหนังยุคแรก
ผ่านร้านโชว์ห่วย ศูนย์กลางชุมชน
โดยชุมชนสร้างเป็นรูปแบบตรอก และลานล้อมตึก
ตรงนี้ตรงกับงานวิชาการไทยที่ ชุมชน shop house
ยุคแรก เป็นแบบนี้ทั้งหมด
ศัพท์บางตัวยาก กับบางบทความใช้บรรยายภาษาศิลป์
มีสถานที่น่าสนใจ แต่เริ่มสนุกข้อมูล
เพราะช่วงแรกปรามาสวิธีเขียนเขา ต่อมาสนุก
การเล่าไม่ใช่วิชาการเลย เสียดายน่าทำไทม์ไลน์
เหมือนหนังสือนี้ทำจาก งานป.โทเขาเอง
(อเมริกันชน จากฟิลาเดเฟีย มาเรียน มช.)
เนื้อหาที่พอแยกได้แบ่งยุคกว้างไปเป็น 3 ส่วน
1.ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
2.ยุคสงครามเย็น
3.ยุค...ขอเรียกว่า เอาตัวรอดที่สุดท้ายไม่รอด
ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
มาพร้อมความแปลกใหม่
ศิวิไลซ์ และแนวคิดการยกระดับ ทุกอย่างดูดี รัฐมีส่วน
บางอาคารเปลี่ยนจากวัสดุและรูปแบบท้องถิ่นเพื่อจุคน
หรือเป็นโครงการขนาดใหญ่ทันสมัย มีเครื่องปรับอากาศ
ขนาดฟิล์ม 35 mm ที่ต้องพากษ์นอกจอ เป็นหนังเงียบ
ความแวดล้อมทั้งชุมชน สายไฟ การขนส่ง รวมศูนย์
ภาพถ่ายยุคเก่าจะเห็นชัดว่า สยาม เจริญตาน่าพิศมัย
รอยต่อสมัย จอมพลป. ได้สร้าง ผังเมือง และหนังรัฐบาล
ถนนมีวงเวียนที่ทอดยาวจนบรรจบที่โรงหนัง
หนังโฆษณาชวนเชื่อ สร้างความเป็นไทยชาตินิยมปลูกใจ
ยุคสงครามเย็นหรือคาบเกี่ยว
มีโรงหนังที่เกิดกลางสวนหรือไร่นา ในพื้นที่ห่างไกล
บางทีก็เป็นเพียงอำเภอเล็ก แต่เจ้าของใจใหญ่
สร้างอาคารยุคกลางศตวรรษ20 โมเดิร์น หรือ บูลทัลลิสต์
แข็งๆเหลี่ยมๆดิบหนาทนทานถึก นิยมยุคนั้น
ศูนย์กลางการรวมตัวแห่งใหม่ของชุมชน สร้างรายได้
พอช่วงหลังเกิดการตัดถนนสายอื่น หรือเทคโนโลยีเปลี่ยน ธุรกิจไม่อาจไปต่อได้
ยุคฐานทัพอเมริกัน 6 ที่ในไทยสร้างรายได้และเศรษฐกิจ
หลังสงครามเวียดนาม และความร่วมมือเพราะกลัว
ศูนย์กลางความบันเทิงกระจายไปตามที่ตั้งทัพทหาร
ภาคกลาง ภาคตะวันออกและอีสาน ที่มีมากสุด
บางแห่งเป็นโรงแรมแล้วมีทหารเช่าห้องดูหนัง
หรือกิจการหนังรายใหญ่ขยายเครือสาขาไปหัวเมือง
ช่วงนี้มีโรงหนังที่มีชื่อคุ้นชินที่อยู่จนเราพอพบเห็น
หรือเปลี่ยนสภาพ เป็นอีกธุรกิจ และการเข้ามาของสื่อ
ความบันเทิงในบ้านพักรูปแบบใหม่ ทำให้หมดยุคเฟื่องฟู
จนบีบคั้นที่สุด วิกฤตต้มยำกุ้ง
ยุคแห่งการเอาตัวรอด
ห้างสรรพสินค้า เริ่มมีพื้นที่และโรงหนังชั้นบน
เครือธุรกิจโรงหนังขนาดใหญ่ขยายไปทุกที่
บีบให้โรงหนังยุคเก่าต้องปรับตัว ฉายควบ หนังทางเลือก
จนไปไม่ไหว บางที่ทุบอาคาร บางทีปรับปรุงธุรกิจ
อาจไม่ใช่ครั้งแรกที่ co-working space เกิดในยุคนี้
โรงหนังยุคเก่ามีมานานแต่ในแง่ multi-entertrainment
ห้างสรรพสินค้าหรือโรงหนังเฟรนไชส์ คงไม่ต่างจากอดีต
ตอนนี้เกิดความท้าทาย การค้าออนไลน์ หรือแพลตฟอร์ม
ธุรกิจบันเทิงข้ามชาติกับภาวะแสวงหาปัจเจกนิยม
อนาคตคงมีการทบทวนการใช้พื้นที่โรงหนังเก่าเพื่อใช้งาน
บางแห่งเตรียมทำพิพิธภัณฑ์ชุมชน
บางที่เริ่มศึกษาการทำสถานที่จัดกิจกรรมหลากหลาย
งานศิลปะ ออกแบบ หรือสังคมสูงวัย รวมถึงกีฬา
ไลฟ์สไตล์วัยรุ่นรูปแบบใหม่ แม้แต่ multiverse
หน่วยงานและปัจเจกชนควรช่วยรักษาแบบไม่แช่แข็ง
เพราะโรงหนังเก่าเหล่านี้มีทำเลที่ดี ใกล้ตลาด คมนาคม
พร้อมเรื่องราวน่าสนใจ เต็มไปด้วยความทรงจำ
เราพอจำแนก อำนาจการเมือง เศรษฐกิจ และอิทธิพลความคิดผ่านสถานที่อย่างโรงหนังและภาพยนตร์
พอทำสิ่งที่หลงไหล ก็สนุกไปกับมัน
เหมือนงานวิจัยที่ไม่รู้จบ เชื่อมโยงข้อมูลทุกด้าน
Softpower แบบ popculture
เราคงทำแนวนี้ไปตลอด เหมือน คุณ อเนก นาวิกมูล
บ้านแกไม่ไกลบ้านผม ไม่เคยเจอตัวแต่รับรู้ผ่านงาน
สหวิชาชีพ มันต้องขับเคลื่อน
อนุรักษ์ไม่ใช่แช่แข็งแบบคนแก่ฝ่ายขวาคิด
งบดูแลสถานที่เก่า บ้านโบราณหลายล้าน
แต่โรงมหรสพ ถูกทุบตลอด เพราะนายทุนกินรวบ
สุดท้าย โรงหนังยุคใหม่ก็ไปไม่รอด เพราะขาดสิ่งจำเพาะ
ระบบวนมาที่เก่า สิ่งที่จำเพาะและประสบการณ์ปัจเจก
ผมเข้าโรงหนังครั้งแรกน่าจะเจ็ดแปดขวบ
แบทแมนทิมเบอร์ตัน โรงสแตนด์อโลน
ข้างบ้านย่าสุพรรณบุรี(คนแถวนั้นรู้จักปู่ ทนายสมชาย แกชนะเป็นนายกฯเทศมนตรีฯสามสมัยในอดีต)
คนละโรงกับฟ้าสยาม เสียดายที่ไม่ได้ไปดู ใช้งานเลย
บ้านย่าเป็นบ้านไม้มีชานยื่น เห็นโรงนี้ชัดเจน คนมาดูหนัง
ตึกเก่าแบบโมเดิร์น แต่ข้างในตกแต่งพอใช้
นอกนั้นเป็น ลิโด กับ สกาล่า ที่เคยใช้งาน
ข้อมูลเชื่อมกับ ยุครุ่งเรืองของย่านการค้า คมนาคม
เยาวราชเป็นแหล่งโรงมหรสพ รวมถึงหนัง 18+ บางแห่ง
ของกินบริเวณโดยรอบที่อยู่ในความทรงจำ
แสงนีออน อาชีพป้าย หรือการทำโคมโครงไผ่ก่อนโปสเตอร์ ที่สร้างศิลปินไทยหลายคน หรือคาเฟ่ร้านเก่าย่านที่มีการค้นหาดารา ผกก. นสพ. ยุควังบูรพา อาชีพสามล้อรถจ้าง หรือวัฒนธรรมสมัยนิยมช่วงต่างๆ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา