6 พ.ค. 2022 เวลา 12:19 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ทำความรู้จักกับ "Freelance Economy" การทำงานในอนาคต
ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ เป็นหนังที่ออกฉายมาตั้งแต่ปี 2015 แล้ว ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อนตอนนั้นอาชีพฟรีแลนซ์อาจจะยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากเท่าในทุกวันนี้
เนื้อเรื่องหลักถูกเล่าผ่านสายตาของยุ่น ฟรีแลนซ์ที่งานยุ่งที่สุดในประเทศไทย ทำให้เราได้เห็นภาพว่าวันหนึ่งๆ ของชีวิตฟรีแลนซ์ต้องเจอกับอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่เต็มทุกวันไม่เว้นวันหยุด การจัดการเรื่องเงินได้และภาษีเอง
ตลอดจนอนาคตที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมั่นคงจนทำให้ต้องทำงานหนักเพื่อเก็บเงินให้ได้เยอะๆ ตอนที่ร่างกายยังเอื้ออำนวย
ในบทความนี้ Bnomics จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า “ฟรีแลนซ์” และ “Freelance Economy” ที่อาจจะกลายเป็นอนาคตของวงการการทำงาน
📌 Freelance Economy คืออะไร?
คำว่า Freelance Economy อาจจะไม่คุ้นหูเท่ากับ Gig Economy แต่อันที่จริงก็มีความหมายคล้ายๆ กัน มันคือตลาดแรงงานสัญญาจ้างระยะสั้น โดยที่บริษัทก็จะจ้างคนมาทำงานในหน้าที่นี้เพียงแค่ระยะเวลาหนึ่งแลกกับค่าจ้างตามที่ตกลงไว้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ตำแหน่งและจ้างเป็นพนักงานประจำ ซึ่งคนที่เข้ามาทำงานในลักษณะนี้ก็จะถูกเรียกว่าฟรีแลนซ์ นั่นเอง
3
การทำงานฟรีแลนซ์ ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ถูกพูดถึงมาเกือบทศวรรษแล้ว ด้วยลักษณะงานที่มีความยืดหยุ่นและตัวฟรีแลนซ์เป็นผู้กำหนดเองได้ว่าจะเลือกรับงานไหน ทำให้เป็นงานที่ตอบโจทย์คนที่ชอบความยืดหยุ่นในการทำงาน ส่วนทางบริษัทก็สามารถลดต้นทุนองค์กรในการจ้างพนักงานประจำ
แต่เนื่องจากว่าฟรีแลนซ์ไม่ใช่พนักงานประจำ และตามกฎหมายก็ถูกมองว่าเป็นลูกจ้างอิสระ จึงมีหน้าที่ที่จะต้องจัดการยื่นภาษีเอง ไม่มีประกันสุขภาพจากบริษัท ต้องหาซื้อประกันชีวิตเอง และส่งเงินเข้ากองทุนบำนาญเอง ไม่มีวันลาพักร้อน หรือลาป่วย หรือเรียกง่ายๆ ว่า ไม่มีสวัสดิการใดๆ มารองรับ
เครดิตภาพ : GDH 559 (GTH)
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเองทั้งสิ้น แน่นอนว่าถ้าวันใดที่เขาป่วยหนักจนทำงานไม่ไหว ก็หมายถึงการขาดรายได้ทันที เหมือนในหนังเรื่องนี้ที่ยุ่นพยายามทำงานอย่างหนักเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในอนาคต และเมื่อป่วยก็ไม่ยอมไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแต่กลับยอมเสียเวลาไปโรงพยาบาลรัฐบาลแทนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
2
📌 การเติบโตของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว…หัวใจสำคัญของ Freelance Economy
ในปัจจุบัน มีฟรีแลนซ์ทั้งหมดราว 1.1 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นกว่า 31.4% ของแรงงานในตลาดแรงงานทั่วโลก การที่ Freelance Economy เติบโตมาได้อย่างนี้ก็คงต้องขอบคุณเทคโนโลยีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่เติบโตรวดเร็วอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น
เครดิตภาพ : GDH 559 (GTH)
  • 1.
    อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ข่วยเชื่อมต่อทุกคนทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ฟรีแลนซ์มีตลาดที่กว้างขึ้น สามารถรับงานจากประเทศไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในประเทศตัวเองเพียงอย่างเดียว
  • 2.
    มีซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้การทำงานระยะไกลร่วมกับคนอื่นเป็นเรื่องง่ายขึ้น เราสามารถเสนองาน และเขียนไปพร้อมๆ กับคนอื่นในแอพประชุมได้ในขณะที่คุยงานได้ทันที ไม่ต้องกลัวว่างานจะสะดุด
  • 3.
    มีซอฟต์แวร์ที่ช่วยในเรื่องของ Workflow ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ขั้นตอนการทำสัญญาจ้าง การจ่ายเงินค่าตอบแทน หรือการดูความคืบหน้าของโปรเจคที่ได้รับมอบหมายได้ ก็ทำให้ฟรีแลนซ์สามารถวางแผนงานของตัวเองได้ง่ายยิ่งขึ้น
2
📌 ทำไมหลังจากมีโควิด ผู้คนนิยมเป็นฟรีแลนซ์กันมากขึ้น?
ในช่วงโควิด สภาพแวดล้อมการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปจากแบบเดิมๆ ผู้คนคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ข้อมูลจาก Upwork แพลตฟอร์ตหางานฟรีแลนซ์รายใหญ่ ระบุว่าในปี 2020 มีคนอเมริกันกว่า 59 ล้านคนเป็นฟรีแลนซ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 2 ล้านคน
2
เครดิตภาพ : GDH 559 (GTH)
ทำให้สัดส่วนของฟรีแลนซ์ที่ทำงานเต็มเวลาเวลาเพิ่มขึ้นจาก 28%
  • ในปี 2019 เป็น 36%
  • ในปี 2020 ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้สร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจสหรัฐกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • และคาดว่าในปี 2027 ชาวอเมริกันจะเป็นฟรีแลนซ์ถึง 86.5 ล้านคน หรือคิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานในตลาดแรงงานสหรัฐฯ เลยทีเดียว
1
ทั้งนี้พบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Gen Z และคนที่มีทักษะสูง นิยมทำงานฟรีแลนซ์มากขึ้น เนื่องจากเคยเห็นคนรุ่นก่อนๆ ทำงานในบริษัทเต็มเวลาแบบเดิมๆ แล้วรู้สึกว่าชีวิตก็ไม่ได้ดีเหมือนที่ใครมักจะพูดกัน สำหรับคนรุ่นใหม่แล้ว
การทำงานในบริษัทเดียวตลอดชีวิตไม่ได้ถูกมองว่าเป็นความมั่นคงในชีวิต หรือความเสี่ยงต่ำอีกแล้ว แต่คนกลุ่มนี้มองว่าการเป็นฟรีแลนซ์สามารถให้ความสบายใจกับพวกเขาได้มากกว่า ซึ่งก็อาจจะขัดกับค่านิยมที่คนรุ่นเก่าเคยมอง
1
เครดิตภาพ : GDH 559 (GTH)
สำหรับคนรุ่นใหม่ การเป็นฟรีแลนซ์ก็เหมือนกันการที่เราไม่เอาไข่หลายๆ ฟองใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว เนื่องจากการทำงานฟรีแลนซ์ทำให้พวกเขาสามารถรับงานสัญญาจ้างระยะยาวกับลูกค้าหลายๆ รายพร้อมกันได้ ซึ่งมันน่าจะปลอดภัยกว่าการทำงานประจำที่เสี่ยงจะโดนไล่ออกเมื่อไหร่ก็ได้
ในโลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจอะไรที่คนรู้สึกว่าควรจะต้องหารายได้จากหลายหลายทางมากขึ้น และต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้นเพื่อให้สามารถปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ การทำงานฟรีแลนซ์จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้เป็นอย่างดี ซึ่งทางผู้บริหารของ Upwork ก็มองว่าแนวโน้มในอนาคตบริษัทจะจำเป็นต้องพึ่งพาฟรีแลนซ์เป็นตัวสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
2
แม้ว่าในปัจจุบัน เรามักจะเห็นฟรีแลนซ์กระจุกตัวกันอยู่ในสายกราฟฟิค หรือสายไอที แต่ตอนนี้หลายอุตสาหกรรมก็เริ่มมีความต้องการฟรีแลนซ์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสายบัญชี, บริการลูกค้า, Digital marketing, สาย HR , และอสังหาริมทรัพย์
ดังนั้นหากใครอยากจะเปลี่ยนตัวเองเป็นฟรีแลนซ์ ก็ควรจะลองศึกษารายละเอียดในสาขาที่ตัวเองถนัด เตรียมวางแผนทั้งทางด้านการทำงานและการเงินให้ดีๆ ก่อนที่จะเข้าสู่ Freelance Economy
เพราะที่แห่งนี้จะไม่มีใครมาคอยกำหนดคุณ มีแต่คุณที่เป็นคนกำหนดชีวิตของตัวเอง…
"คนที่คิดว่าความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว…คือคนที่เขาไม่มีใครให้คิดถึง"
1
เครดิตภาพ : GDH 559 (GTH)
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
เครดิตภาพ : GDH 559 (GTH)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา