Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เจ้ากระต่ายขี้เซา
•
ติดตาม
7 พ.ค. 2022 เวลา 16:22 • ความคิดเห็น
เจาะลึกเอกสาร “ Packig List” นำเข้าเราต้องรู้
Packing List คือ เอกสารแสดงรายการจำนวนหีบห่อของสินค้า
ขอบคุณภาพจาก canva
เมื่อต้องการนำสินค้าเข้ามาใน
ราชอาณาจักรไทย Packing List เป็นอีกหนึ่งเอกสารที่มีความสำคัญที่ต้องใช้เป็นเอกสารสำคัญในการเดินพิธีการศุลกากรคู่กับ Invoice ที่ได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้
ตามอ่านได้ที่นี่ 👉
https://www.blockdit.com/posts/6270c786494892e56691a6da
เราก็ต้องตรวจสอบให้ดีและถี่ถ้วนเช่นกัน
เพื่อให้การนำเข้าของเราเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น เรามาเริ่มตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะต้องมีปรากฏอยู่บน Packing List กัน ค่ะ
👉 ชื่อ และ ที่อยู่ของบริษัทผู้ขายสินค้า (Consignor )
👉 ชื่อ และ ที่อยู่ของบริษัทผู้ซื้อสินค้า (นำเข้าสินค้า) (Consignee)
🌟ถ้าหากมีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องในการซื้อขายก็จะต้องระบชื่อ และที่อยู่ของบุคคลที่ 3 ให้ปรากฏอยู่บนหน้า Packing List ด้วย
👉 Invoice no. : เลขที่ Invoice ใน Packing List นี้ก็ยังคงต้องใส่
👉 Date : วันที่ออก Packing List จะต้องเป็นวันเดียวกับวันที่ใน invoice
👉 Incoterms : เงื่อนไขการขนส่ง ก็ยังคงต้องใส่
👉 Payment terms : เงื่อนไขการจ่าเงิน จะใส่ก็ได้ ถ้าไม่ใส่ก็ไม่ได้ผิด แต่ใส่ให้ครบไว้ดีกว่าค่ะ
👉 Shipment Method : ช่องทางการขนส่งมาทางเรือ /รถ / รถไฟ หรือ เครื่องบิน
👉 Country of Origin/ COO : ประเทศผู้ผลิต
👉 Shipping Marking : เครื่องหมายบนหีบห่อ เป็นข้อมูลที่เราสั่งให้ผู้ขายระบุเป็นชื่อบริษัท , PO no. ,Maker part no. ให้มีอยู่ใน Label บนหีบห่อที่ส่งมา ต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับที่ระบุไว้ในหน้า invoice
🌟ห้ามใส่ N/M ตรง Marking บน Packing List เพราะจะเสียค่าปรับจากกรมศุลกากรสูงสุดถึง 50,000 บาท
🌟หากใน Marking ใน Packing List กับ Label บนหีบห่อระบุข้อมูลไม่ตรงกันก็จะมีค่าปรับซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
3
👉 Description of Goods : ชื่อสินค้าเป็นชื่อเดียวกับที่ระบุไว้บนหน้า Invoice
👉 Package no. : จำนวนหีบห่อทั้งหมดที่นำเข้ามาทั้งหมด
👉 Quantity : จำนวนที่บรรจุอยู่ในแต่ละหีบห่อ
👉 Dimension : ขนาดของหีบห่อที่ทำการบรรจุสินค้าเข้ามา จะระบุเป็น กว้าง X ยาว X สูง หน่วยเป็น CM
👉 Net Weight (Kg) : น้ำหนักสุทธิของหีบห่อแต่ละอันที่ชั่งได้ เป็นน้ำหนักจริง ๆ
👉 Gross Weight (Kg): น้ำหนักรวมของสินค้าและหีบห่อเป็นการคำนวนมาจาก Dimension /5000 = Kg.
👉 Volume (CBM=คิวบิตเมตร) : การคำนวนหา CBM หากหน่วยเป็นเมตร ทำได้โดยการใช้สูตร กว้าง X ยาว X สูง =คิวบิคเมตรได้เลย
แต่ของเรา หน่วยเป็น CM ก็จะใช้สูตร กว้าง X ยาว X สูง แล้วหารด้วย 1,000,000 =คิวบิกเมตร เช่นกัน
👉 ส่วนสุดท้าย ตราประทับของบริษัทและลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนาม
ผู้ขายมีหน้าที่ออกเอกสาร
Packing List
ผู้ซื้ออย่างเรามีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้อง
การนำเข้ายังมีเรื่องราวให้เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยค่ะ จะทยอยเอามาเล่าบ่อย ๆ น๊า
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับใครที่สนใจในเรื่องการนำเข้าสินค้าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปน๊า
ติดตามผลงาน
Website :
https://everywaystory.blogspot.com/
Twitter:
https://twitter.com/EverywayStory
Facebook :
https://www.facebook.com/somjit.immareong
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
กำลังฝึกเขียนนิยาย
นำเข้าส่งออก
นำเข้าเราต้องรู้
การค้าระหว่างประเทศ
2 บันทึก
5
7
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นำเข้าเราต้องรู้
2
5
7
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย