8 พ.ค. 2022 เวลา 05:31 • ความคิดเห็น
เจาะลึกเอกสาร "Bill of Lading (B/L)" นำเข้าเราต้องรู้
Bill of Lading ( B/L ) บางครั้งเราอาจจะเห็น Ocean Bill of Lading หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ใบตราส่งสินค้าทางทะเล”
ทางอากาศเขาจะไม่เรียกว่า B/L แต่จะเรียกเป็น Air Way Bill (AWB) ซึ่งจะได้ทำความรู้จักกันในบทความถัดไปค่ะ
ขอบคุณภาพจาก canva
B/L เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้เป็นหลักฐานในการขนส่ง ผู้รับขนส่ง (Carrier/Freight Forworder) จะเป็นผู้ออกเอกสารฉบับนี้ให้กับผู้ขายสินค้า (Consignor) โดยข้อมูลในเอกสาร B/L นี้จะมีรายละเอียดโดยอ้างอิงมาจาก Invoice และ Packing List
ที่ได้เขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ตามอ่านได้ที่นี่ค่ะ
ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามานั่นคือชื่อของยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง เมืองท่าต้นทางที่ใช้ในการขนส่ง และเมืองท่าที่เป็นจุดหมายปลายทาง
เพื่อให้การนำเข้าของเราราบรื่น เรามาเริ่มตรวจสอบรายละเอียดต่างที่จะต้องมีปรากฏอยู่บนเอกสาร Bill of Lading กันค่ะ
👉 Shipper / Exporter : ระบุชื่อ และ ที่อยู่ของบริษัทผู้ขายสินค้า (Consignor )
👉 Consignee : ระบุชื่อ และ ที่อยู่ของบริษัทผู้ซื้อสินค้า (นำเข้าสินค้า) (Consignee)
👉 Notify Party : เท่าที่เราเห็นจะระบุเป็น “Same as Consigne”
👉 Pre - Carriage by (Mode) : เรือลำเล็กที่จะใช้ขนสินค้าไปขึ้นเรือลำใหญ่ ตลอด 10 กว่าปีที่ทำงานด้านนี้มายังไม่เคยต้องระบุเพราะของเราขนขึ้นเรือใหญ่อย่างเดียว
👉 Place of Receipt : สถานที่รับสินค้า (FCL) /เมืองท่าที่รับสินค้า (LCL) อย่างเช่น NINGBO , CHINA
👉 Ocean Vessel/Voyage : ชื่อเรือที่ทำการขนส่ง เช่น SIRI BHUM V. 351S ( V. 351S เป็นเลขเที่ยวของเรือลำนั้น ๆ )
หากอยากรู้ว่าเรือลำที่ขนสินค้าของเรานั้นอยู่ที่ไหนแล้วสามารถเช็คได้ตามบทความนี้ค่ะ ใส่แค่ชื่อเรือไม่ต้องใส่ Voy no. นะคะ
👉 Port of Loading : เมืองท่าที่ขนสินค้าขึ้นเรือ เช่น NINGBO, CHINA
👉 Port of Discharge : ท่าเรือที่จะทำการตรวจปล่อยสินค้าที่ปลายทาง เช่น BANGKOK, THAILAND (หากตรงนี้ระบุเป็นแหลมฉบังก็จะต้องไปเดินพิธีการเพื่อตรวจปล่อยสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง….. ระบุไว้ที่ไหนต้องไปเคลียร์สินค้าที่ท่านั้น ๆ )
 
👉 Port of Delivery : สถานที่นำส่งสินค้าที่ปลายทาง เช่น BANGKOK, THAILAND
👉 Bill of Lading no. : ผู้รับขนส่ง (Carrier) เป็นผู้ระบุ
👉 Export Reference : ผู้รับขนส่ง (Carrier) เป็นผู้ระบุ
👉 For Delivery of Goods Pleasee Apply to : ชื่อ และ ที่อยู่พร้อมเบอร์โทรของ Freight Forwarder ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ระบุไว้เพื่อให้ผู้นำเข้าทราบว่าเมื่อได้รับเอกสาร B/L จะต้องติดต่อใครเพื่อทำการ Enter เอกสารให้กับทางสายเรือ เพื่อดำเนินการต่อในขั้นตอนการเคลียร์สินค้า
(เรื่อง Enter เอกสารจะได้นำมาเล่าในบทความถัดไป)
👉 Marks and Numbers /Container & Seal Numers : เป็นข้อมูล Shipping Marks ที่อยู่บนหน้า Invoice และ Packing List หากนำเข้ามาแบบเต็มตู้ (FCL) ก็จะมีระบุเบอร์ของตู้ Container เอาไว้ด้วย
👉 Number and Description of Package and Goods : ระบุจำนวนของหีบห่อ มากี่กล่องหรือกี่พาเลท อ้างอิงข้อมูลจาก Pacing List และชนิดของสินค้าที่นำเข้ามาเป็นอะไร หากใน invoice ระบุรายละเอียดไว้เยอะ เพราะต่างสี ต่างขนาด ไม่ต้องยกมาทั้งหมดให้ระบุเป็นชนิดเช่น WIRE / Relay / Connector / Electronic Equipment …. ประมาณนี้
👉 Gross Weight : น้ำหนักรวมของสินค้าและหีบห่อ คำนวนมาจาก Dimension ที่ระบุใน Packing List
👉 Measurement : เป็นข้อมูลปริมาณสินค้า ที่ได้มาจาก Volume ใน Packing List ที่คำนวนด้วยการเอาขนาดของหีบห่อ ที่มีหน่วยเป็น CM มาคำนวน สูตรคือ กว้าง X ยาว X สูง /1,000,000 = คิวบิคเมตร
👉 Place and Date of Issue : สถานที่และวันที่ออกเอกสาร Bill of Lading
👉Laden on Board Date : วันที่เรือบรรทุกสินค้าออกจากท่าเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง
ผู้ขายมีหน้าที่ออกเอกสาร
Bill of Lading
ผู้ซื้ออย่างเรามีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้อง
การนำเข้ายังมีเรื่องราวให้เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยค่ะ จะทยอยเอามาเล่าบ่อย ๆ น๊า
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับใครที่สนใจในเรื่องการนำเข้าสินค้าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปจ้า
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นที่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรียรักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกเขียนนิยาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา