Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
17 พ.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ฝันร้ายของเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยทั่วโลก กำลังสูงขึ้น
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านๆ มา เราคงจะเห็นข่าวใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นดอกเบี้ย เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่รุนแรงในรอบ 40 ปี ในขณะเดียวกัน ประเทศอื่น ๆ ก็ทะยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือ ส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยกันบ้างแล้ว
📌 หลาย ๆ ประเทศ เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% นับว่าเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 20 ปี
ธนาคารกลางของอังกฤษ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่จุดที่อัตราดอกเบี้ย แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี
โดยการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ ก็เพื่อตอบสนองอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 7% ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี
ธนาคารกลางของออสเตรเลีย ก็ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ปี 2010 จากปัญหาระดับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
เช่นเดียวกับ อีกหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย ที่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (repo rate) 0.40% สู่ระดับ 4.40% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ หรือ ฮ่องกงที่พึ่งได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐอเมริกาไปติด ๆ
📌 ทำไมการขึ้นดอกเบี้ยของประเทศมหาอำนาจทางการเงิน ถึงเป็นฝันร้ายต่อประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่
จากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ธนาคารของประเทศต่าง ๆ ต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาบางแห่งที่อยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ก็ได้กำลังเผชิญภาวะเงินเฟ้อสูงกว่ากรอบเป้าหมาย การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว ในระบบเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง
แล้วถ้าเหล่าประเทศมหาอำนาจทางการเงิน ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลอย่างไรต่อประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มตลาดเกิดใหม่บ้าง ?
ในอดีต ประเทศกำลังพัฒนาที่มีนโยบายการเงินและการคลังที่เพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ มีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ดี อัตราเงินเฟ้อที่คงที่ และการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งจะสามารถทนต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่พัฒนาแล้วได้
อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคระบาดโควิด 19 ได้ทำลายการป้อมปราการเหล่านั้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก เนื่องจากเงินทุนที่ไหลสู่ตลาดเกิดใหม่นั้นลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม และหลายประเทศเริ่มประสบปัญหาการไหลออกของเงินทุนแล้ว
หรือ อีกปัญหาที่ประเทศอื่นๆ จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ คือ ภาระหนี้ที่จะสูงขึ้นจากการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ จะทำให้ต้นทุนด้านดอกเบี้ยสูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนานั้นล้าหลังประเทศอื่นอยู่แล้ว จะทำให้ประเทศเหล่านี้ยากลำบากมากขึ้น
📌 ตัวอย่าง ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา ต่อประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่
อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นมักเป็นข่าวร้ายสำหรับประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ (EME) เนื่องจากเป็นการเพิ่มภาระหนี้ กระตุ้นการไหลออกของเงินทุน และทำให้เกิดภาวะทางการเงินที่ตึงตัว ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤติทางการเงินได้
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (เส้นสีดำ) ที่เพิ่มขึ้น ในช่วงต้นทศวรรษ 1980s นั้นสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอุบัติการณ์ของวิกฤตการณ์ทางการเงินใน EME (แถบสีเขียว) อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์อื่น ๆ เช่น ในช่วงกลางทศษวรรษที่ 2000 กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ได้มีปัญหาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจากสหรัฐเพียงเล็กน้อย
จากการวิจัยของธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า การหลั่งไหลทางการเงินไปยังตลาดเกิดใหม่ของนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ
ประการแรก คือ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ โดยอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ที่ได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีนั้น มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบค่อนข้างดีต่อตลาดการเงินเกิดใหม่ เนื่องจากประโยชน์ของ GDP ของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นจากความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากคู่ค้าและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะไปชดเชยต้นทุนของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ในทางกลับกัน หากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายของเฟดที่ผันผวน สิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อตลาดเกิดใหม่มากกว่า
ปัจจัยสำคัญประการที่สองที่มีอิทธิพลต่อนโยบายการเงินของสหรัฐฯ คือ เงื่อนไขภายในประเทศของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่เอง เช่น ภาวะการเงินในประเทศที่มีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจมหภาคสูงมีแนวโน้มที่จะอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ มากกว่าประเทศที่มีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจมหภาคต่ำ
ดังนั้น การทำเศรษฐกิจภายในประเทศให้เกิดเสถียรภาพ และมีภาคการเงินที่เข้มแข็ง คงช่วยลดความเสี่ยงทางสถานการณ์ทางการเงินได้ ไม่มากก็น้อย
⏬ Download PDF File
https://www.bnomics.co/global-economic-updates-57/bbl-160522/
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
https://www.cnbc.com/2022/05/05/bank-of-england-hikes-interest-rates-in-bid-to-fight-soaring-inflation.html
●
https://www.brookings.edu/blog/future-development/2022/02/28/developing-economies-face-a-rough-ride-as-global-interest-rates-rise/
●
https://www.federalreserve.gov/econres/notes/feds-notes/are-rising-u-s-interest-rates-destabilizing-for-emerging-market-economies-20210623.htm
เศรษฐกิจ
fed
ดอกเบี้ย
6 บันทึก
6
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
6
6
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย