17 พ.ค. 2022 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
วัดศรีสวาย
วัดศรีสวาย
หลักฐานที่ปรากฎในปัจจุบันวัดนี้เป็นสัดเนื่องในพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัยรุ่นหลัง อยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุห่างออกไปประมาณ 350 เมตร
โบราณสถานตั้งอยู่ภายในกำแพงวัด ประกอบด้วยปราสาทสามองค์ แต่ละองค์ตั้งแยกกันอยู่บนฐานศิลาแลง ปราสาทตอนบนก่อด้วยอิฐ ด้านหน้าปราสาทเป็นวิหารสองตอน มีกำแพงแก้วและคูน้ำอยู่ที่มุมทิศเหนือและทิศตะวันออก
ทับหลัง รูปนารายณ์บรรทมสินธุ์
พบโบราณวัตถุประเภททับหลัง ประตูจำหลักศิลาเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กร และพระพุทธรูปสำริดหลายชิ้น
เดิมทีวัดศรีสวายคงเป็นศาสนสถานพราหมณ์ฮินดู ศิลปะเขมรแบบบายน ในสมัยสุโขทัยยุคแรก วัดแห่งนี้ตั้งอยู่นออกเมืองสุโขทัยเก่าทางทิศใต้ ซึ่งเป็นโบราณสถานสมัยเดียวกันกับปราสาทวัดพระพายหลวงและศาลตาผาแดง
แต่ภายหลังอาจพังทลายลงมาเหลือแต่ฐาน แล้วมีการปฏิสังขรณ์ปรับปรุงขึ้นใหม่ด้วยการก่ออิฐ ซึ่งรูปแบบไม่ใช้ทั้งปราสาทเขมรและปรางค์อยุยา แต่เป็นรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นที่สุโขทัยโดยมีการได้รับอิทธิพลสิลปะลังกา จึงคาดการร์กันว่าควรอยู่ในช่วงเวลารางกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ส่วนลวดลายอาจเป็นงานที่เกิดการบูรณะในรุ่นหลังราวพุทธศตวรรษที่ 20 หรือสมัยอยุธยาตอนต้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20
ลวดลายที่วัดศรีสวาย
อ้างอิงจากหนังสือ: ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา