27 พ.ค. 2022 เวลา 00:12 • ไลฟ์สไตล์
“กายป่วย แต่ใจไม่ทุกข์ด้วย เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง”
“ … คำว่า กายป่วยแต่ใจไม่ป่วย แสดงว่าสามารถยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ที่เรียกว่า การปล่อยวาง นั่นเอง
เมื่อเกิดการปล่อยวาง ก็จะเกิดการคลายจากความหลงยึดมั่นถือมั่นต่าง ๆ
โดยเฉพาะการหลงยึดกายนี่แหละ
คนเราที่ยึดมากที่สุด ก็คือ ยึดกาย นี่แหละ
ความเป็นตัวเรา ของเรานี่แหละ
พอกายป่าย ใจก็ยิ่งทุกข์หนักเข้าไปใหญ่
เพราะว่าเราไปหลงยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
ว่าเราป่วย เราเจ็บ เราทรมาน
ทำไมเราถึงต้องเป็นแบบนี้ เราจะหายจากนี้ได้อย่างไร
มันก็กระวนกระวาย
แต่เมื่อใดที่เราสามารถเข้าใจ สัจธรรม ความเป็นจริงของธรรมชาติ ว่าทุกอย่างมันก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
มันไม่ได้เกิดขึ้นตามใจของเราหรอก มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ที่เรียกว่า ธรรมชาติจัดสรร
เมื่อวางใจถูก เข้าใจ ก็ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น
เมื่อยอมรับได้ ใจมันก็คลายออก
จากการยึด การหลงต่าง ๆ
เมื่อจิตคลายออก จิตก็ตั้งมั่น แยกกาย แยกจิต
มีความตั้งมั่นตื่นอยู่ เป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ
มีสภาวธรรม มีความตั้งมั่นเป็นวิหารธรรมแทน
ก็จะเริ่มเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า มีธรรมะเป็นหลักของใจ
ถึงแม้กายจะป่วย แต่ใจก็ไม่ทุกข์ด้วย
ใจมีความสงบระงับ มีความเบาสบายได้นั่นเอง
ก็เป็นตัวอย่างให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษาเช่นกัน ว่ามันทำได้จริง ๆ นะ ว่า กายป่วย แต่ใจไม่ทุกข์ด้วยเนี่ย แล้วมันจะมีประโยชน์สำหรับทุกคนมากทีเดียว
เพราะว่าชีวิตคนเราเนี่ย มันยังไงมันก็ต้องเจอภัย
จากความแก่ จากความเจ็บไข้ได้ป่วย
จากความตายทั้งหมดทั้งสิ้นอยู่แล้ว
1
พวกเราเกิดมาก็หนีไม่พ้นความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักต่าง ๆ ก็เรียกว่าต้องเผชิญกับกองทุกข์ นั่นเองนะ
แต่ว่า กายทุกข์ แต่ใจไม่ทุกข์ด้วย มันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
นั่นก็คือ มีธรรมะเป็นหลักของใจ
เข้าถึงสิ่งที่เป็นแก่นเป็นสาระ นั่นเอง … “
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา