Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน เขียน เรียน รู้
•
ติดตาม
31 พ.ค. 2022 เวลา 02:00 • หนังสือ
เรียนแบบนี้แต่แรก ก็เก่งไปนานแล้ว: Learning how to learn
“จุดประสงค์ของการเรียนรู้คือ การเติบโต และจิตใจคนเราสามารถเติบโตได้เสมอ ตราบเท่าที่เรายังมีชีวิต”
“The purpose of learning is growth, and our minds, unlike our bodies, can continue growing as long as we live.”
คำกล่าวของ Mortimer Adler ปราชญ์และนักการศึกษาชาวอเมริกัน ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ว่า เราสามารถพัฒนาตนเองได้ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)
การเรียนรู้ที่ดีนั้น เราต้องรู้ว่าจะเรียนรู้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด หนังสือ Learning how to learn: เรียนแบบนี้แต่แรก ก็เก่งไปนานแล้ว โดย Dr. Barbara Oakley Dr. Terrence Sejnowski และ Alistair McConville สามารถให้คำตอบนี้ได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ไม่ว่าจะ “อายุเท่าไรก็ไม่สำคัญ เพราะใคร ๆ ก็ปลดล็อกพลังสมองได้”
วันนี้ขอนำเสนอ 10 เคล็ดลับจากหนังสือเล่มนี้ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ไม่ว่าคุณเป็นใครก็สามารถลองทำดูได้
1. การใช้ประโยชน์จากการใช้สมองโหมดจดจ่อ (fucused mode) และ โหมดผ่อนคลาย (relaxed mode)
ถ้ากำลังตั้งใจเรียน อ่านหนัง ใช้พลังงานในโหมดจดจ่อจนหมด ถึงเวลาเปลี่ยนมาใช้โหมดผ่อนคลายแทนบ้าง เช่น ไปอ่านหนังสือสบาย ๆ เล่นเกม หรือออกกำลังกายดู เมื่อกลับมาโหมดจดจ่ออีกครี้ง สมองจะได้แล่นฉิว
2. สร้างชุดข้อต่อสมองด้วยการปฏิบัติ ทำซ้ำและทบทวน
การทบทวน ฝึกทำโจทย์ ฝึกปฏิบัติ หรือทดลองทำด้วยตนเอง จะทำให้เราจำขั้นตอนและทบทวนได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เครื่อข่ายของสมอง (neural network)ในการจดจำและนำมาใช้ แข็งแรงมากขึ้น เปรียบเหมือนการสร้างชุดข้อต่อของสมอง
3. เรียนรู้แบบสลับ
ควรเรียนรู้สิ่งที่ยากขึ้นบ้าง แทนที่จะเรียนรู้แต่สิ่งที่ง่าย ๆ ตลอด เพราะสมองต้องการความท้าทาย และต่อยอดเอาความรู้ง่าย ๆ ไปประยุกต์สู่สิ่งที่ยาก ๆ
4. กระจายเวลาเรียนรู้
การกระจายเวลาการเรียนรู้โดยเว้นระยะห่างของการเรียนรู้สิ่งเดิมหลายวัน ทำให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น ภาษาอังกฤษคือ spaced learning เนื่องจากความจำใหม่ ๆ ของเราจะมีการสลายตัว เหมือนสารกัมมันตรังสี หรือเรียกว่ามีค่าครึ่งชีวิตของความรู้ การทบทวนความรู้โดยเว้นช่วงเวลาห่างออกไป จะทำให้ความทรงจำแน่นหนาขึ้น ค่าครึ่งชีวิตของความรู้ถูกยืดออกไป ทำให้เราจดจำได้คงทน
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย ทำให้มีสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสมองหลั่งออกมา ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรงและสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาทให้แกร่งมากขึ้น
6. ทดสอบตัวเอง ลองให้คนอื่นถาม หรือไปสอนคนอื่น
กระบวนการเหล่านี้เป็นการทบทวนตัวเองที่ดี จากพีระมิดการเรียนรู้ (The learning pyramid) ของ Edgar Dale เสนอแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ไว้เป็นลักษณะรูปพีระมิดไว้ว่า การเรียนรู้ในลักษณะเชิงรับ หรือ passive learning เช่น การฟัง การอ่าน นั้น ช่วยให้เกิดการจดจำได้ไม่มาก เปรียบเหมือนส่วนยอดพีระมิดที่มีพื้นที่ไม่มาก
ส่วนการเรียนรู้เชิงรุก หรือ active learning เช่นการอภิปราย การปฏิบัติ และการสอน จะช่วยให้เราจดจำได้ดีขึ้น เปรียบเหมือนส่วนฐานของพีระมิดที่มีพื้นที่กว้าง โดยเฉพาะการสอนผู้อื่นช่วยให้เราจดจำได้ถึง 90% เทียบการการฟังหรืออ่าน ทำให้เราจดจำได้เพียง 5-10% เท่านั้น
7. ใช้ภาพตลกขบขันและการเปรียบเทียบ
การใช้ภาพและการเปรียบเทียบเป็นเครื่องมือที่ดีช่วยกระตุ้นให้สมองเราจดจำความรู้ได้ดีขึ้น เพราะสมองจดจำเป็นภาพได้ดีกว่าเป็นตัวอักษร
8. ใช้เทคนิคโพโมโดโร (Pomodoro)
เทคนิคโพโมโดโร เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เรามีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่เรียนรู้และมีช่วงเวลาผ่อนคลาย หลักการคือ ปิดสิ่งรบกวนทั้งหมด แล้วตั้งเวลา 25 นาที เพื่อเรียนรู้หรือทำงานอย่างเข้มข้น เมื่อครบเวลาแล้วจึงพัก หรือให้รางวัลตนเอง
9. กินกบของคุณก่อน
จากหนังสือของ Brian Tracey กินกบตัวนั้นซะ เทคนิคนี้นำเสนอแนวทางการหลบหลีกการผัดวันประกันพรุ่ง โดยให้เริ่มต้นวันทำงานที่ยากที่สุดก่อน เพื่อที่ว่า ถ้าคุณทำไม่ได้ จะได้หยุดพักสมองในโหมดผ่อนคลายซึ่งจะช่วยให้เราปิ๊งไอเดียดี ๆ และกลับมาจัดการงานที่ยากนั้นได้ในที่สุด
10. หาวิธีเรียนรู้นอกห้องเรียน
ค้นหาเพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้แหล่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ อ่านหนังสืออื่น ๆ เข้าร่วมชมรม ทำกิจกรรมที่ชอบ การเรียนรู้ที่หลากหลายในแนวราบ ร่วมกับแนวลึก กระตุ้นให้สมองเกิดการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ
ยกตัวอย่าง การประสานของความรู้ต่างสาขา ต่างวิชา เช่น การเรียนรู้เรื่องการศึกสงคราม กลยุทธ์ส่งครามโดยการส่งทหารจำนวนน้อย ๆ ต่อกลุ่ม หลาย ๆ กลุ่ม ซุ่มไปโจมตีข้าศึกจากหลาย ๆ ทาง นำมาซึ่งแนวคิดการฉายรังสีขนาดต่ำ ๆ หลายทิศทาง เพื่อรักษาก้อนมะเร็ง เพื่อไม่ให้เนื้อเยื่อข้างเคียงบอบช้ำ
เราสามารถนำเคล็ดลับ 10 ข้อนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในทุก ๆ เรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนำไปปฏิบัติใช้ดูกันครับ คิดว่ามีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย
หนังสือ
การศึกษา
2 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องเล่าจากหนังสือ
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย