3 มิ.ย. 2022 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
[[ 筷子 ตะเกียบ ขงจื๊อเขียนธรรมเนียม และ สารพัดความเชื่อ | เรื่องของตะเกียบ ตอนที่ 2 ]]
ในตอนที่แล้วเราเล่าถึงที่มาของตะเกียบไปกันแล้ว ว่าเปลี่ยนชื่อมากี่รอบ ออกมาจากครัวแล้วส่งมีดกลับไปแทนที่ได้ยังไง มาในตอนนี้มาดูความเชื่อที่เกี่ยวโยงกับตะเกียบกันว่ามีอะไรบ้าง ไปจนถึงวิธีการจับตะเกียบที่ถูกต้อง และ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเล็กๆน้อยๆ ของจีนกับญี่ปุ่น มาเริ่มกันเลย
ใครยังไม่อ่านตอนที่ 1 ย้อนกลับไปอ่านได้ที่นี่ https://bit.ly/3LVSG3y
[ 礼记 มีบันทึกการใช้ตะเกียบโดย 孔子 และ 12 ธรรมเนียมการใช้ตะเกียบ ]
อีกหนึ่งหลักฐานที่แสดงความนิยมของตะเกียบว่าแพร่หลายมาตั้งแต่โบราณเลย คือการบันทึกธรรมเนียมการใช้ตะเกียบใน《礼记》(Lǐjì | บันทึกพิธีกรรม) ของ 孔子 (Kóngzǐ | ขงจื้อ) ให้ใช้อย่างถูกต้องตามธรรมเนียม(โบราณ) ควรมีอะไรบ้าง มาดูกัน
1. 三长两短 (sān cháng liǎng duǎn) - ห้ามวางตะเกียบไม่เรียบร้อย การวางตะเกียบไม่เรียบร้อย สั้นๆ ยาวๆ ไม่เท่ากันถือเป็นเรื่องอัปมงคลเหมือนโครงสร้างของโลงศพไม่รวมฝาโลง สั้น 2 ด้าน ยาว 3 ด้าน
2. 仙人指路 (xiān rén zhǐ lù) - ห้ามชูนิ้วเมื่อจับตะเกียบ การใช้นิ้วชูขึ้นมาเหมือนกับการสั่งหรือด่าคนอื่น
3. 品箸留声 (pǐn zhù liú shēng) - ห้ามอมหรือกัดตะเกียบ เป็นการเสียมารยาท อาจส่งเสียงรบกวนผู้อื่น และ อาจถูกมองว่าไร้การศึกษา
4. 击盏敲盅 (jī zhǎn qiāo zhōng) - ห้ามใช้ตะเกียบเคาะจานชาม** ขอทานในสมัยจีนโบราณมักจะเคาะจานชามเพื่อขออาหาร ทำให้ดูเป็นกิริยาที่เลียนแบบขอทาน
5. 执箸巡城 (zhí zhù xún chéng) - ห้ามถือตะเกียบขยับไปมาเลือกไม่ได้ว่าจะคีบอะไรสักทีบนโต๊ะ ดูเหมือนจะคีบแต่สิ่งที่ชอบที่สุด ทำเหมือนไม่มีคนอื่นร่วมโต๊ะอยู่ เป็นการเสียมารยาท
6. 迷箸刨坟 (mí zhù páo fén) - ห้ามเขี่ยอาหารหาเนื้อสัตว์ เป็นการเอาเปรียบผู้ร่วมโต๊ะอาหาร
7. 泪箸遗珠 (lèi zhù yí zhū) - ห้ามทำน้ำในอาหารหยดใส่อาหารจานอื่นระหว่างคีบ จะถูกมองว่าเสียมารยาท หากมองในมุมมองปัจจุบันก็ถือว่าไม่ถูกสุขลักษณะ
8. 颠倒乾坤 (diān dǎo qián kūn) - ห้ามใช้ตะเกียบกลับด้าน จะถูกตำหนิว่าหิวจนไม่สังเกตอะไรเลย
9. 定海神针 (dìng hǎi shén zhēn) - ห้ามทำตะเกียบตกในจาน ถือว่าเป็นเรื่องน่าขายหน้า
10. 当众上香 (dāng zhòng shàng xiāng) - ห้ามปักตะเกียบไว้บนชามข้าว ถือว่าเป็นเรื่องไม่สมควรเหมือนการจุดธูปไหว้คนตาย
11. 交叉十字 (jiāo chā shí zì) - ห้ามวางตะเกียบไขว้กัน การวางไขว้กันเป็นรูปกากบาทคนอื่นจะตีความว่าคุณกำลังปฎิเสธการกินอาหารร่วมกันกับเขา
12. 落地惊神 (luò dì jīng shén) - ห้ามทำตะเกียบตกพื้น ถือว่าเสียมารยาทเป็นอย่างมาก และ โบราณเชื่อว่าเป็นคนอกตัญญูเพราะเป็นการรบกวนบรรพบุรุษที่ฝังอยู่ในพื้นดิน
[ สารพัดความเชื่อคู่ตะเกียบในมือคุณ ]
ทำไมตะเกียบต้องยาวเท่านี้ ทำไมตะเกียบต้องปลายมนก้นเหลี่ยม ทำไมถึงนิยมใช้ในงานแต่งและอีกสารพัดคำถามที่ยังค้างคาใจว่าทำไมตะเกียบถึงมีความเชื่อผูกมากันแบบนี้ มาลองดูความเชื่อเด่นๆ กันดีกว่ามีอะไรบ้าง
[ 阴阳两合 (yīn yáng liǎng hé | หยินหยางสองประสาน) ]
คนจีนเชื่อว่าตะเกียบเนี่ยเป็นเหมือน 阴 และ 阳 ข้างที่ไม่ขยับแทน 阴 ข้างที่ขยับคือ 阳 อยู่คู่กันเพื่อให้สามารถใช้งานได้
[ 天圆地方 (tiān yuán dì fāng | ฟ้ากลมดินเหลี่ยม)]
ความเชื่อนี้เป็นที่มาของ ปลายตะเกียบต้องมน เปรียบเหมือน ฟ้า และ อีกด้านต้องเหลี่ยม เปรียบเหมือน ผืนดิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่สอดคล้องกับ 阴阳两合 หากพิจารณาดูแล้ว แนวคิดนี้คือการออกแบบตะเกียบให้ไม่กลิ้งไปมานั่นเอง
[ 天地人 (tiān dì rén | ฟ้า ดิน คน)]
ตำแหน่งการจับตะเกียบเองก็ทำให้เกิดความเชื่อเชิงสัญลักษณ์จากช่องว่างของตะเกียบ คนจีนใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับตะเกียบบน นิ้วกลางอยู่ตรงกลางรองรับตะเกียบบน นิ้วนางและนิ้วก้อยรองรับตะเกียบล่าง ช่องว่างที่เกิดขึ้นเสมือนเป็น 天 อยู่ด้านบน 地 อยู่ด้านล่าง และ 人 อยู่ตรงกลาง
[ 七寸六分 (qī cùn liù fēn | 7 ชุ่น 6 เฟิน)]
ความเชื่อที่กำหนดความยาวมาตรฐานของตะเกียบ คือ 七寸六分 หรือแปลงเป็นหน่วยปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ 22-24 ซ.ม. ซึ่งเชื่อว่าเป็นตัวแทนของ 七情六欲 (qī qíng liù yù | อารมณ์ทั้ง 7 และ ความปรารถนาทั้ง 6) ของมนุษย์
七情[1] ได้แก่ 喜 (xǐ | ความยินดี)、怒 (nù | ความโกรธ)、哀 (āi | ความเศร้า)、惧 (jù | ความกลัว)、爱 (ài | ความรัก)、恶 (è | ความเกลียด)、欲 (yù | ความปรารถนา)
六欲[2] ได้แก่ 见欲 (jiàn yù | ตา/รูป)、听欲 (tīng yù | หู/เสียง)、香欲 (xiāng yù | จมูก/กลิ่น)、味欲 (wèi yù | ปาก/รส)、触欲 (chù yù | กาย/สัมผัส)、意欲 (yì yù | ใจ)
[ สารพัดความเชื่อกับงานแต่ง ]
นอกจากนี้ตะเกียบยังมีความเชื่อว่าเป็นของมงคลในงานแต่ง และมักเล่นคำกันเยอะ ถึงขนาดบางพื้นที่ใช้ตะเกียบเพื่อคีบเปิดผ้าปิดหน้าเจ้าสาวเลยก็มี คำที่นิยมพูดถึงกันได้แก่
- 快快生子 (kuài kuài shēng zǐ | มีลูกไวไว)
- 成双成对 (chéng shuāng chéng duì | คู่รักเคียงคู่)
- 快快乐乐 (kuài kuài lè lè | มีความสุข)
- 团团圆圆 (tuán tuán yuán yuán | อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา)
[ จับตะเกียบให้ถูกต้อง ทำอย่างไร ]
การจับตะเกียบหลายๆ คน ก็ยังคงไม่เข้าใจ บางทีคนที่จับได้ก็ไม่รู้จะสอนยังไง เพราะรู้ตัวอีกทีก็จับถูกแล้ว แล้วคนจีนมีวิธีจับยังไงให้ถูกต้องและคีบได้จริงๆ มาดูกันเลย
1. 筷子使用拇指、食指和中指 轻轻地握住
kuài zǐ shǐ yòng mǔ zhǐ 、 shí zhǐ hé zhōng zhǐ qīng qīng dì wò zhù
นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และ นิ้วกลาง จับตะเกียบเบาๆ
2. 拇指是指向食指的指甲
mǔ zhǐ shì zhǐ xiàng shí zhǐ de zhǐ jiǎ
นิ้วโป้งวางอยู่ข้างๆ นิ้วชี้
3. 从拳头伸出 1 公分(1cm)
cóng quán tóu shēn chū 1 gōng fēn
ให้ส่วนบนของตะเกียบยื่นเลยออกมาจากกำปั้นประมาณ 1 ซ.ม.
4. 只上侧移动
zhī shàng cè yí dòng
ขยับขึ้นด้านบนเท่านั้น
5. 筷尖要齐
kuài jiān yào qí
ปลายตะเกียบเสมอกัน
6. 放在无名指指甲的旁边
fàng zài wú míng zhǐ zhǐ jiǎ de páng biān
วางตะเกียบล่างไว้ข้างเล็บนิ้วนาง
7. 拇指和食指的中间把筷子夹住
mǔ zhǐ hé shí zhǐ de zhōng jiān bǎ kuài zǐ jiā zhù
หนีบตะเกียบไว้ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง
พอจะจับตะเกียบกันเป็นบางยัง ลองไปใช้ดูได้ผลยังไงมาเล่าให้ฟังหน่อยนะ
[ ความแตกต่างเกี่ยวกับตะเกียบของจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ]
เล่ามาซะยาว แต่ก็อยากจะเสริมอีกนิดนึงเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับตะเกียบในจีน เกาหลี และ ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปร่างและขนาดแล้ว ยังมีจุดเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรรู้ตามนี้เลย
ขนาดและรูปร่าง ตะเกียบ
- จีน ยาวที่สุดในบรรดาทั้งหมด นิยมทำรูปร่างเป็นปลายกลมก้นเหลี่ยม แต่ปลายจะไม่เรียวมาก นิยมใช้ไม้ไผ่หรือไม้ในการสร้าง
- ญี่ปุ่น สั้นที่สุดในบรรดาทั้ง 3 ประเทศ ปลายมนเรียวมากทึ่สุด นิยมทำจากไม้ไผ่หรือไม้เช่นกัน
- เกาหลี ความยาวอยู่ระหว่างกลางจีนกับญี่ปุ่น มีลักษณะแบน ทำจากโลหะ
การวางตะเกียบบนโต๊ะ
- จีน วางตะเกียบไว้ด้านข้างบนที่รองตะเกียบ ปลายตะเกียบชี้ไปด้านหน้า
- ญี่ปุ่น วางตะเกียบเป็นแนวนอน ขนานไปกับลำตัวเรา และบางพื้นที่จะมองว่าการวางตะเกียบโดยชี้ไปด้านหน้าทางคนอื่นเป็นเรื่องไม่สุภาพ
การใช้ด้านก้นตะเกียบ
- จีน มองว่าใช้ก้นตะเกียบเป็นเรื่องไม่สุภาพ (สอดคล้องกับเรื่องการออกแบบตะเกียบให้ปลายเหลี่ยม และ สุขลักษณะ) หากต้องตักอาหารจะใช้ตะเกียบกลาง หรือ ช้อนกลางแทน
- ญี่ปุ่น อนุโลมให้ใช้ก้นตะเกียบคีบอาหารจานกลางเพื่อเข้าจานตัวเอง หรือคีบให้คนอื่นหากไม่มีตะเกียบแยก และ กลับด้านมาใช้ปลายเหมือนเดิมเมื่อต้องนำเข้าปาก นี่เป็นเหตุผลเรื่องสุขลักษณะเช่นกัน และทำให้ตะเกียบบางแบบมีปลายมนเรียวทั้ง 2 ด้าน
---
สารพัดเรื่องราวของตะเกียบอัดไปแน่นๆ เน้นๆ ไม่อยากจะเชื่อว่าจากแท่งไม้คู่หนึ่งในมือเราที่ใช้รับประทานอาหารจนเป็นเอกลักษณ์ จะมีเรื่องราวที่ผูกเกี่ยวคล้องกันมาอย่างล้ำลึกและซับซ้อนกันขนาดนี้ ใครเคยได้ยินเรื่องไหนมาบ้าง หรือมีเรื่องที่ยังไม่ได้เล่าอีก แวะมาเล่ากันให้ฟังได้เลยนะครับ
เรื่องต่อไปอยากให้เล่าเรื่องอะไร มาพิมพ์บอกกันไว้ได้เลย
---------------------------
อยากสนับสนุนเพจ ลองดูสินค้าที่น่าสนใจได้ตามลิงค์นี้ https://tutustory.kol.eco/ หรือ ทำได้ง่ายๆ ช่วยแชร์โพสนี้เลย
---------------------------
ติดตามเรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีนมาคุยกันได้ที่
Line | @tutustory หรือที่ลิงค์ https://lin.ee/aZcB2Jo
TikTok | @tutu.story หรือที่ลิงค์ https://vt.tiktok.com/ZGJAtGVQe/
Instagram | @tutu.story หรือที่ลิงค์ https://instagram.com/tutu.story
[ เพิ่มเติม ]
- [1] หมายเหตุ: เนื่องจาก 七情 มีหลายตำราอ้างอิง และสอนแตกต่างกัน จึงขอยึดตาม《礼记》ที่ใช้เล่าเรื่องเป็นหลักในบทความนี้
- [2] หากเทียบ กับประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว จะเรียกเป็นคำเหล่านี้แทนในปัจจุบัน
- 见欲 คือ 视觉 (shì jué)การมองเห็น
- 听欲 คือ 听觉 (tīng jué)การได้ยิน
- 香欲 คือ 嗅觉 (xiù jué)การดมกลิ่น
- 味欲 คือ 味觉 (wèi jué)การรับรส
- 触欲 คือ 触觉 (chù jué)การสัมผัส
---
โฆษณา