5 มิ.ย. 2022 เวลา 02:14 • หนังสือ
✴️ บทที่ 2️⃣ สางขยะกับโยคะ : ปัญญาจักรวาลกับวิธีเข้าถึงปัญญาญาณนั้น ✴️ (ตอนที่ 53)
🌸 คุณสมบัติของผู้หยั่งรู้ตน 🌸
⚜️ โศลกที่ 5️⃣6️⃣ ⚜️ หน้า 319 – 320
หน้า 319 – 320
โศลกที่ 5️⃣6️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
บุคคลที่จิตไม่หวั่นไหวไปกับความทุกข์กังวล และไม่ยึดอยู่กับความสุขที่ได้รับ ผู้พ้นแล้วจากความรัก ความชัง และความกลัว ท่านเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า มุนีผู้มีปัญญาญาณตั้งมั่น
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
บรมวิญญาณผู้เข้าถึงสมาธิ ยังเปิดเผยพฤติกรรมและลักษณะของผู้มีปัญญาญาณให้แก่ผู้ภักดีที่ใคร่ครวญต่อไป
🌟 “มุนี” คือ ผู้มีญาณปัญญาอันยิ่ง (สามารถสลายจิตของตนไว้ในพระเจ้า) สามารถดำรงอยู่กับความสงบลึกซึ้งแห่งวิญญาณ อย่างที่อารมณ์มนุษย์ทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง ความทุกข์ใด ๆ ไม่กระทบกระเทือนต่อญาณปัญญาอันตั้งมั่นของท่าน สภาพการณ์น่าพึงพอใจใด ๆ ไม่อาจฉุดท่านให้มาหลงใหลความสุข และความเย้ายวนใจใด ๆ ที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเหล่านั้นได้
🌟 “มุนี” หรือ ผู้มีปัญญาถอนจิตจากมนินทรีย์ที่มีความบิดเบือน จิตท่านเพ่งอยู่ที่วิญญาณเท่านั้น ไฟฉายปัญญาของท่านส่องไปที่อาณาจักรความเกษมนิรันดร์ภายในเท่านั้น
🛑 ผู้ประเสริฐผู้เห็นว่าธรรมชาติของวิญญาณแตกต่างจากธรรมชาติของกาย ย่อมไม่หวั่นไหวเมื่อเกิดความทุกข์ทางกาย และไม่ดีใจจนเกินเหตุไปกับความสุขทางโลกที่ไร้ความเที่ยงแท้ วิญญาณย่อมไม่ผูกยึดอยู่กับประสบการณ์ทางกายที่ไม่ยั่งยืน ดังนั้น เมื่ออหังการดำรงอยู่กับอาตมัน (ตัวตนที่แท้) อารมณ์ที่ปัญญาหลับใหลจึงไม่อาจทำให้จิตของอภิมนุษย์เช่นนี้หวั่นไหวได้
“ความรักอย่างโลก ๆ” ที่อหังการมีต่อโภคทรัพย์ —การรักกายอย่างเกินการณ์ รักความสุขทางผัสสอินทรีย์ การยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งนั้นสิ่งนี้— ไม่อาจเข้าถึงผู้มีปัญญาได้
ในเมื่อความโชคร้ายที่ใกล้เข้ามาทําให้เกิดความกลัว ผู้มีญาณปัญญาผู้อยู่กับวิญญาณ จึงไม่มีเหตุให้ต้องหวั่นกลัว
ความโกรธเกิดขึ้นเมื่อความอยากทางกายหรือทางจิตไม่ได้รับการตอบสนอง มุนีไม่มีความอยากเช่นนั้น
✨ เมื่อเห็นความแตกต่างระหว่างความทุกข์กับความสุขด้วยจิตยามตื่น หรือด้วยจิตใต้สํานึกยามหลับอย่างสงบ และด้วยบรมสุขอันไพศาลแห่งอภิจิต มุนีผู้มีปัญญาจึงวางเป้าหมายชีวิตไว้เหนือสิ่งเล็ก ๆ และด้วยการทำสมาธิอย่างแน่วแน่ ท่านจึงสถาปนาปัญญาญาณไว้ในบรมสุขนิรันดร์แห่งอาตมันภายใน ✨
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา