Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอสายดาร์ก
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2022 เวลา 05:52 • สุขภาพ
ความหวัง...ที่ไม่เป็นจริง อาจจะเป็นสิ่งทำร้ายมากกว่าของขวัญ
หลายครั้ง เรามักจะบอกว่าเราอยู่ได้ด้วยความหวัง...ส่วนหนึ่งก็คือเป็นเช่นนั้นจริงๆ ความหวังคือสิ่งที่ทรงพลังมากกว่าความกลัว ความหวังผลักดันเราได้รุนแรงกว่าความกลัว
แต่บางกรณี ความหวังอาจจะเป็นภัย ก็เป็นได้ ถ้า ความหวังนั้น ไม่มีทางที่จะเป็นจริง...
4
เป็นคนไข้คนหนึ่งที่อายุก็น้อยกว่าเราเล็กน้อย เคยได้เจอกันครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน มาด้วยอาการเหนื่อย ไปรักษากับแพทย์ท่านอื่นแล้วไม่ดีขึ้น เมื่อได้เห็นภาพเอกซเรย์ ก็รู้ทันทีว่า...เวลาของคนไข้คนนี้เหลืออยู่จำกัด
ลักษณะเอกซเรย์ปอดของเขา เข้าได้กับมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่ปอด หน้าที่แรกที่ต้องทำ คือ ตรวจให้เจอว่าเขาเป็นอะไรกันแน่..และแพร่กระจายมาจากที่ไหน หลังจากสืบค้นไม่นาน ก็พบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแพร่กระจายมายังเนื้อปอด และเยื่อหุ้มปอด
1
คนไข้คนนี้เป็นผู้ชายอายุ 37 ปีเท่านั้น มีภรรยาและลูก 2 คนที่เรียนชั้นประถมและมัธยม ในวันที่วินิจฉัยนั้นใครจะคิดว่า อายุเท่านี้จะเป็นโรคร้ายแรงเช่นนี้ ดังนั้นการบอกข่าวร้ายจึงต้องเตรียมการอย่างดี หลังจากบอกกับผู้ป่วยและภรรยาตามความจริงตามขั้นตอนต่างๆ พบว่าทั้งสองคนรับกับข่าวนี้ได้ดีกว่าที่คิด มีร้องไห้บ้าง แต่ก็สามารถตั้งสติและรับฟังแนวทางการรักษาต่อไปได้
แน่นอนคำถามที่แพทย์จะถูกถามเสมอคือ...จะหายมั้ย
มะเร็งกะเพาะอาหารระยะแพร่กระจาย....ที่เป็นอยู่นี้ จะหายมั้ย
1
สิ่งที่ตอบไปคือ
โรคนี้รักษาได้...ปัจจุบันยารักษามีทางเลือกมากมาย ให้คุณหมอมะเร็งจะช่วยพิจารณา การรักษาจะเพิ่มเวลา เพิ่มคุณภาพชีวิตให้คุณได้ แต่อย่างไรก็ดี โรคนี้อาจจะไม่หายขาด หลังจากรักษาไปเวลาหนึ่ง โรคอาจจะกลับมาได้ ทางทีมแพทย์จะทำการปรับยา แต่อย่างไรก็ดี วันหนึ่งอาจจะเป็นวันที่เราสู้กับโรคไม่ได้ก็ได้ ดังนั้น ให้อยู่กับปัจจุบัน วันนี้ที่รักษาได้ ทุกนาทีจากนี้คือเวลาที่มีค่า
2
หลังจากไปรับการรักษาโดยให้เคมีบำบัดที่รพ.ตามสิทธิประกันสังคม อาการต่างๆก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ผ่านไปเป็นปี
…จนวันหนึ่ง เขากลับมาหาอีกครั้ง เพราะเหนื่อยมากขึ้น...ใช่ค่ะ เขาเหนื่อยมากขึ้น อาการของโรคกลับมาใหม่เป็นสิ่งที่บอกว่ามันเริ่มดื้อต่อยาเคมีบำบัดแล้ว
มิใช่ไม่มีหนทางรักษา มันยังมี แต่ทางเลือกเหลือน้อยลงกว่าเดิม
คุณหมอเจ้าของไข้เริ่มปรับสูตรยาเป็นสูตรสอง ผลข้างเคียงเริ่มมากขึ้น พร้อมกับสมรรถนะที่เร่ิมลดลงของคนไข้
1
แต่ทุกครั้ง คนไข้และภรรยาจะมีความหวังอยู่เสมอ พร้อมที่จะไปหาหมอคนอื่นๆนอกเหนือสิทธิประกันสังคมที่ตนมีเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด
หน้าที่ของเราในฐานะหมอปอด จึงได้รักษาภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และเล่าพยากรณ์โรคโดยภาพรวมให้เขาฟัง
2
...เพราะการจะทำลายความหวังของใคร ไม่ใช่สิ่งที่ใครก็ตามอยากทำ....นอกจากมันจำเป็นจริงๆ
1
วันนั้น ก็ได้แต่บอกว่าโรคดุขึ้น ทุกอย่างอาจจะตอบสนองไม่ดีเหมือนแรกๆ หมออยากให้เราเตรียมพร้อมไว้บ้าง เผื่อทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่หวัง... ซึ่งคนไข้และภรรยาก็เข้าใจดี
และมีการพูดคุยกับคนไข้ ถึงวันหนึ่งถ้าโรครักษาไม่ได้ ความต้องการของคนไข้เป็นอย่างไร
คนไข้ตอบยิ้มๆว่า "ผมสู้คับหมอ...."
คำนี้ หลายคนอาจจะคิดว่า สู้แปลว่าให้ทำทุกอย่าง เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจ
แต่สำหรับหมอที่คิดว่า คำว่าสู้อาจจะเป็น harm กับคนไข้ได้ จึงต้องถามว่า "สู้ แปลว่าอะไร"
“ผมคิดว่าถ้ามีทางรักษา ผมยังสู้ต่อคับ”
จึงต้องถามกลับว่า “แล้วคิดมั้ยว่า ถ้าวันนึงไม่มีทางรักษาแล้วหล่ะ...”
คนไข้: “ผมเตรียมไว้หมดแล้วหมอ ประกัน เงิน เอกสาร ผมเคลียไว้หมดแล้ว ถ้ามันไม่ไหว ก็ไม่เป็นไร”
หมอ: "แปลว่า ถ้าตราบใจยังมีทางไปต่อได้ เราก็จะสู้เต็มที่เนอะ แต่ถ้าการรักษามันสุดทางแล้ว ก็ยอมรับได้ใช่มั้ย"
2
คนไข้พยักหน้า แทนคำตอบ
"ถ้างั้นหมอตามต่อ ถ้าถึงวันที่การรักษาไม่สามารถทำได้แล้ว แต่เป็นไปเพื่อยืดเวลาออกไปช่วงหนึ่ง เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การใช้เครื่องหรือยาเพื่อกระตุ้นการทำงานของร่างกาย...เรายังต้องการมั้ย"
คนไข้มองหน้า แล้วบอกว่า "ไม่เอาแล้วหมอ....ถ้าไม่ไหว ก็ให้ผมสบายๆ"
2
คำว่าสู้ของเขา คือสู้แบบมีเหตุผล แต่ถ้าแพทย์ไม่ได้ถามต่อ อาจจะตีความหมายไปว่า คนไข้ต้องการทำทุกอย่าง เพื่อยืดเวลาออกไปให้นานที่สุด ก็เป็นได้...
5
เวลาผ่านไป สองเดือน หลังได้ยาสูตรสอง การตอบสนองไม่ดีนัก ผลข้างเคียงจากยาเริ่มมากขึ้น อาการอ่อนเพลียก็เป็นมากขึ้น ขณะเดียวกัน ทางภรรยาก็ยังไม่หยุดที่จะหาทางเลือกอื่นๆให้กับคนไข้
หมอมะเร็งที่ดูแล บอกว่าจะให้สูตรสาม...แต่สูตรสามก็อาจจะได้ผลไม่ดีนัดและอาจจะมีผลข้างเคียงได้ (เพราะตอนนั้นกำลังคนไข้ก็ถอยไปมากแล้ว) ภรรยาจึงถามหาทางเลือกอี่น หมอจึงได้บอกว่า ให้ไปติดต่อสถาบันจุฬาภรณ์ เผื่อมีทางเลือกในการให้ยาพุ่งเป้า....สิ่งนี้เหมือนแสงที่ปลายอุโมงอันมืดมิด
1
ความหวังนี้คือฟางเส้นสุดท้ายที่หวังได้ ภรรยาจึงเอื้อมคว้าไว้อย่างไม่ต้องคิดทบทวนใดๆ
ได้เดินหน้าทำเรื่องติดต่อส่งตัว เดินหน้าทำเรื่องขอรักษาต่างๆนาๆ ในขณะที่สภาวะตอนนี้ของคนไข้ทรุดลงมากแล้ว
1
การปรับยาเพื่อลดอาการเหนื่อยก็ค่อยๆทำไป คุมได้บางช่วง บางช่วงก็มีอาการเยอะ
และแล้ว วันหนึ่งก็อาการหนักขึ้นมาก ภรรยาจึงพาไปยังรพ.ที่มีสิทธิประกันสังคม
1
แน่นอน คนไข้ถูกแยกตัว ไม่ได้อยู่กับครอบครัว มีอาการเยอะขึ้น จนเริ่มมีการพูดการใส่ท่อช่วยหายใจ
1
ภรรยาจึงโทรมาปรึกษา จึงได้อธิบายสิ่งต่างๆให้เข้าใจ แต่ภรรยาก็บอกว่า ยังไม่พร้อมที่จะให้คนไข้จากไป ต้องการให้ใส่ท่อและปั๊มหัวใจ เพื่อยืดเวลาออกไป รอยาพุ่งเป้าจากจุฬาภรณ์ และบอกว่าคนไข้ยังสู้อยุ่
7
ณ จุดนี้ เห็นชัดเจนว่า ความหวังของภรรยานั้นสูงมาก สูงเกินกว่าจะเกิดขึ้นจริงได้ เพราะโอกาสที่ยาพุ่งเป้านั้นจะได้ผลก็ไม่มากนัก ขนาดที่จะฝากความหวัง และแลกมาด้วยความทุกข์ทรมานของคนไข้ในวาระสุดท้าย
จึงถึงจุดที่หมอต้องกล้าที่จะทำลายความหวังของเขา เพื่อให้เขากลับมาตระหนักถึงความจริงตรงหน้า และยอมรับเพื่อทำเวลาสุดท้ายนี้ให้ดีที่สุด จึงได้บอกไปว่า ณ จุดนี้ การรักษาต่างๆ ก็อาจจะไม่ได้ผลแล้ว ไม่ว่าจะที่ไหน อะไร ก็ไม่สามารถทำให้คนไข้กลับมาดีขึ้นได้แล้ว ทางเลือกที่ดีที่สุดตอนนี้ คือดูแลให้เค้าสุขสบายที่สุด เท่าที่จะทำได้ และได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างดีที่สุด
2
ภรรยาร้องไห้ เสียดังผ่านทางโทรศัพท์
....จึงได้บอกไปว่า หมอได้มีโอกาสคุยกับคนไข้หลายครั้ง คนไข้เป็นคนสู้มากๆ และที่ได้ทำมาก็เก่งมากแล้ว แต่เคยได้คุยกันถึงจุดนึงที่การรักษานั้นไปต่อไม่ไหว คนไข้ต้องการให้ดูแลให้สุขสบาย ไม่ต้องการใส่ท่อหรือใช้เครื่องมือต่างๆทำให้ยืดเวลาออกไป โดยไม่หายจากโรค
หมอรู้ว่าคนไข้เป็นคนสู้ แต่หมอได้คุยกับเขาแล้ว ว่าสู้ของเขา คือสิ่งนี้
1
หมอถามต่อว่า "คุณรู้ใช้มั้ย ว่าตอนนี้สิ่งที่คนไข้ต้องการมากที่สุดคืออะไร"
ภรรยาตอบว่า "เค้าต้องการกลับบ้าน แต่ถ้ากลับ เค้าจะอยู่ไม่ได้"
หมอ: "แต่ถ้ากลับบ้าน เราจะได้อยู่กับเค้า เค้าจะได้อยู่กับครอบครัวและคนที่เค้ารักนะ"
5
ภรรยาร้องไห้ต่อไป จึงได้ให้เขาไปทบทวน
สุดท้าย ภรรยาพาคนไข้กลับบ้าน ทางทีมจึงได้ลงไปให้ยาเพื่อควบคุมอาการเหนื่อยให้คนไข้ที่บ้าน ครอบครัว ญาติๆได้มีโอกาสใกล้ชิดคนไข้ ได้ดูแล คนไข้อยู่ที่บ้านได้อีกประมาณ 5 วันก็จากไปอย่างสงบ
3
ภรรยาได้โทรมาขอบคุณที่ทำให้เขาและครอบครัวได้มีโอกาสดูแลคนไข้ในวาระสุดท้ายและได้ทำตามสิ่งที่คนไข้ต้องการ
3
เป็นอีกหนึ่งเคสที่ได้มีโอกาสดูตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย จนจบกระบวนการ
มีการทาง early palliative care approach มาโดยตลอด
คนไข้ได้ยาเพื่อควบคุมอาการเหนื่อย อาการไอ มาต้ังแต่เริ่มแรก
มีการทำ family meeting มาตลอด
1
จะเห็นได้ว่า การทำ early palliative care มิใช่การทำลายความหวังคนไข้เสมอไป แต่เป็นการชวนคิด ทบทวน และจัดการอาการควบคุ่ไปกับการรักษา ทำให้มีโอกาสได้วางแผน มีโอกาสได้เตรียมตัว เพื่อการเดินทางครั้งสุดท้าย
3
#earlypalliativecare
#AdvanceCarePlanning
#koonhospital
#palliativecare
20 บันทึก
83
7
33
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
แชร์ประสบการณ์คนไข้
20
83
7
33
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย