6 มิ.ย. 2022 เวลา 17:08 • หนังสือ
ข้อควรระวังเมื่อมีการให้ฟีดแบ็ก 🗣
ฟีดแบ็กแตกต่างจากการปกป้องหรือสนับสนุน
ในแง่ที่แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม
มากกว่าการยืนกรานความคิดเห็นของผู้บริหาร
เกี่ยวกับความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาโดยรวม
การให้และรับฟีดแบ็กจะดำเนินต่อไปตลอดกระบวนการฝึกสอน
อันได้แก่ การทำความเข้าใจประเด็นปัญหาที่ต้องจัดการ
การวางแผนดำเนินงานร่วมกัน และการประเมินผลลัพธ์
จากการให้ฟีดแบ็กไม่ว่าจะเชิงบวกหรือเชิงลบ
โดยต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
* #มุ่งเน้นที่พฤติกรรมของผู้รับฟีดแบ็ก ไม่ใช่ลักษณะนิสัย
ทัศนคติหรือบุคลิกภาพ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและอิทธิพลของพฤติกรรมนั้นต่อโครงการหรือสมาชิกในทีม
เช่น แทนที่จะพูดว่า คุณเอทั้งขี้โมโหและถือตัว ควรเปลี่ยนเป็น
ในการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา ดิฉันเห็นคุณเอ พูดแทรกเพื่อนร่วมงานคนอื่นหลายครั้งแล้ว
* #ต้องเป็นรูปธรรม แทนที่จะบอกผู้รับฟีดแบ็กว่า คุณทำดีมาก
ควรเปลี่ยนเป็น เนื้อหาที่ใช้นำเสนอมีประสิทธิภาพในถ่ายทอดข้อความเพื่อความเข้าใจได้ดี
* #ต้องเผชิญหน้าด้วยความจริงใจ ให้ฟีดแบ็กโดยมีเจตนาชัดเจนว่าต้องการช่วยให้ผู้รับฟีดแบ็กได้พัฒนาตัวเอง
* #ต้องปฏิบัติได้จริง โดยให้ฟีดแบ็กภายในขอบเขตที่ผู้ฟังปฏิบัติตามได้
ฟีดแบ็กที่ทำไม่ได้จริง ไม่ว่าจะพยายามเพียงใดนั้นเป็น ฟีดแบ็กที่ไม่มีประสิทธิภาพ
Feedback
🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁
ขอบคุณข้อคิดดี ๆ จากหนังสือ
“คนเก่งให้FEEDBACKที่แตกต่าง”
เขียนโดย คิมซังบอม โชยุนโฮ และ ฮาจูยอง
แปลโดย ชนามาศ เพ็งสมบูรณ์
Amarin HOW-TO
😊😊😊😊😊😊😊😊😊
My Memories Reviews ep.843
6/6/2022
.
#MyMemoriesReviews
#เรื่องน่าจำนำมาเล่า
#คนเก่งให้FEEDBACKที่แตกต่าง
#feedback #AmarinHowTo

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา