Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
"หุ้น" กันมั๊ย!
•
ติดตาม
9 มิ.ย. 2022 เวลา 01:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ชวนรู้จักศัพท์ในบทวิเคราะห์หุ้น”
หลายๆ ท่านที่ตัดสินใจเข้าสู่การลงทุนในตลาดทุนอย่างเช่น “หุ้น” (หลักทรัพย์) นั้น ก็มักจะพยายามหาข้อมูลของหุ้นตัวนั้นๆ ที่สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน
ด้วยความหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุดบนความเสี่ยงที่น้อยที่สุด โดย “บทวิเคราะห์หุ้น” ก็ถือเป็นข้อมูลชั้นดีอีกแหล่งหนึ่งที่นักลงทุนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
แต่ปัญหาสำหรับมือใหม่หัดเทรดก็คือ...มักได้พบเจอกับคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจนไปต่อไม่ถูก เรามาลองดูความหมายของศัพท์ในบทวิเคราะห์ฯ ที่สามารถพบกันได้บ่อยๆ ว่ามันหมายถึงอะไรกันบ้างดีกว่า...
1) Outperform Market
หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งประหนึ่งคุณชัชชาติ และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวม เช่น ประเมินว่าสิ้นปี SET Index ปรับขึ้น 5% แต่หุ้นตัวนี้คาดว่าจะเติบโต 15% ถือว่าเป็นหุ้นที่นักวิเคราะห์ให้ความสนใจ ส่วนใหญ่แนะนำให้ซื้อได้
Image Credit: pixabay.com
2) Underperform Market
หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานค่อนข้างอ่อนแอ และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนแย่กว่าตลาดหุ้นโดยรวม ซึ่งอาจจะมาจากแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทที่เป็นช่วงขาลง หรือราคาหุ้นยังไม่สะท้อนปัจจัยลบทั้งหมด มักแนะนำให้รีบออกก่อนจะสายไป
3) Overweight
แนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นตัวนั้น เมื่อเทียบกับน้ำหนักลงทุนปกติ โดยอาจจะขายสินทรัพย์อื่นในพอร์ตที่มีแนวโน้มผลตอบแทนลดลง หรือนำเงินลงทุนก้อนใหม่มาซื้อหุ้นดังกล่าวเพิ่มได้ เพราะนักวิเคราะห์ประเมินว่าแนวโน้มของราคาหุ้นน่าจะปรับขึ้นได้ต่อเนื่อง
4) Underweight
แนะนำให้ลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นตัวนั้น เมื่อเทียบกับน้ำหนักลงทุนปกติ โดยสามารถขายหุ้นบางส่วนในพอร์ตออกไป แล้วนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่มีโอกาสเติบโตมากกว่า
Image Credit: pixabay.com
5) Neutral
แนะนำให้คงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นตัวนั้นไว้เช่นเดิม เพราะประเมินว่าหุ้นจะให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับกลุ่ม หรืออัตราผลตอบแทนโดยรวม
6) Target Price/Fair value
ราคาเป้าหมาย/ราคาเหมาะสมของหุ้น ซึ่งประเมินจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น ผลประกอบ, กระแสเงินสด, อัตราส่วนการเงิน, แนวโน้มธุรกิจในอนาคต ฯลฯ หากราคาเป้าหมายสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบัน ก็ถือว่าหุ้นตัวนั้นน่าลงทุน แต่หากหากราคาเป้าหมายต่ำกว่าราคาหุ้นปัจจุบัน ก็แปลได้ว่าหุ้นอาจจะแพงเกินไปจนไม่น่าลงทุน
7) Trading buy
แนะนำให้ซื้อเก็งกำไร ซึ่งมักเกิดกับหุ้นที่ราคาปัจจุบันใกล้เคียงกับราคาพื้นฐาน ซึ่งมีข่าวดีที่ทำให้ราคาหุ้นวิ่งต่อไปได้ในระยะสั้น แต่อาจจะไม่สามารถยืนราคาได้ในระยะยาว
8) Accumulative Buy
แนะนำให้ทยอยซื้อหุ้นสะสม เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานยังดี แต่อาจจะมีปัจจัยลบมากดดันในระยะสั้น จึงเหมาะที่จะซื้อสะสมในระยะยาว แล้วรอเวลาให้หุ้นกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง
Image Credit: pixabay.com
9) Laggard
หุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นช้าหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานไม่มีความแตกต่างกัน
10) Turnaround
หุ้นที่เคยมีผลประกอบการขาดทุน จนราคาปรับตัวลดลงในระดับต่ำมาเป็นระยะเวลานาน แล้วสามารถกลับมามีกำไรอีกครั้ง จนทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
“การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลจาก
หลายแหล่งอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุน”
Source: FINSPACE,
www.SETinvestnow.com
1 บันทึก
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้เรื่อง “หุ้น” ไปด้วยกันมั๊ย!
1
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย