25 มิ.ย. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา

วินทร์ เลียววาริณ

ชําแหละตรรกะวิบัติ
2
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
อาชีพโบราณหนึ่งที่ไม่เคยล้าสมัย แม้ผ่านกาลเวลามาหลายพันปีคือหมอดู โลกในศตวรรษที่ 21 ก็มีคนเชื่อหมอดูไม่ต่างจากสมัยโบราณ
6
เหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนหมอดูซึ่งเราได้ยินเสมอคือ “ถ้าหลักการหมอดูไม่จริง ทํา ไมมันอยู่มานานหลายพันปี”
2
และ
“อะไรที่อยู่มายาวนานขนาดนี้ย่อมจะต้องดีแน่ๆ”
1
สังเกตไหมว่าคนจํานวนมากติดนิสัยใช้เหตุผลแบบนี้ เช่น
“ร้านขาหมูนายฮงเปิดมา 80 ปีแล้ว ก็ต้องอร่อยซี”
นี่เป็นการโยงว่า การเปิดร้านมานานแสดงว่าอร่อย ไม่เช่นนั้นคนคงไม่ซื้อ แต่มันไม่ใช่ตรรกะ เพราะร้านนายฮงอาจเป็นร้านเดียวในเมืองนั้น อาจตั้งอยู่ในทําเลที่เหมาะสม อาจขายถูกกว่าร้านอื่นๆ การที่ร้านอยู่นานอาจไม่ใช่เพราะความอร่อย
4
เช่นกัน ประโยค “หมอดูอยู่มานานหลายพันปีย่อมดี” ฟังดูเป็นตรรกะอย่างยิ่ง แต่ลองมองลึกอีกนิด จะพบว่ามันไม่เกี่ยวข้องกัน มีตัวอย่างมากมายที่เข้าข่าย ‘อยู่มานานหลายพันปี’ และไม่ใช่สิ่งดี ยกตัวอย่าง เช่น การค้าทาสมีมานานมาก ปัจจุบันก็ยังมีการค้าแรงงานเด็กซึ่งเราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องดี การกดขี่สตรีก็ปรากฏมานานหลายพันปีเช่นกัน จนวันนี้เราก็ยังต้องเรียกร้องสิทธิสตรีกันอยู่
8
ยาผีบอกก็มีมานานหลายพันปี ลองถามตัวเองว่า หากเราเกิดไส้ติ่งแตกในวันนี้ จะกินยาผีบอก หรือจะไปรับการผ่าตัดไส้ติ่งทิ้ง และรีบฆ่าเชื้อในช่องท้อง?
4
“อยู่มานานจึงดี” เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า ตรรกะวิบัติ (fallacy) ตรรกะที่เป็นความเท็จ หรือบิดเบือนความจริง
23
สังคมทุกวันนี้อุดมด้วย fallacy
8
fallacy คือการใช้ตรรกะผิดเพี้ยนเป็นเหตุผลรองรับการสนทนาหรือข้อเขียนหรือข้อโต้แย้ง มักฟังดูดี มีเหตุผล แต่ผิดเพี้ยน
7
fallacy อาจเกิดขึ้นด้วยความไม่ตั้งใจหรือตั้งใจ เพื่อหวังผลของการโน้มน้าวใจคนฟัง คนที่ฟังเผินๆ ไม่ชอบคิดแย้ง ไม่วิเคราะห์คํา พูด หรือเชื่อถือคนพูด ก็อาจตกหลุมตรรกะวิบัติได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อคนพูดที่มีการศึกษาสูง พูดศัพท์ยากๆ หรือท่าทางมีความรู้
12
เราพบตรรกะวิบัติมากมายในสื่อแขนงต่างๆ มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไปแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น
4
“นายสมัยศาสตร์เรียนจบปริญญาเอกตั้งแต่อายุ 18 ย่อมเป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง”
1
นี่คือการสรุปว่าเรียนจบเร็วคือฉลาด อาจจะใช่ แต่ก็อาจจะไม่ใช่
2
“นายไชยยศเกิดในตระกูลรำ่รวยล้นฟ้า จึงไม่มีความจํา เป็นต้องโกง”
8
ประวัติศาสตร์ก็บันทึกมาตลอดว่า คนที่ร่ำ รวยล้นฟ้าโกงบ้านเมืองฉิบหายวายป่วงอย่างไร
9
หลักการสร้างตรรกะวิบัติไม่ต้องไปหาความเท็จมาพูด ใช้ความจริงนั่นแหละ เพียงแต่บิดเบือนหน่อย หรือพูดความจริงไม่ครบถ้วน
7
ในวงการวรรณกรรม เราใช้หลัก ‘จับแพะชนแกะ’ เพื่อสร้างสรรค์เรื่องแปลกๆ ใหม่ๆ แต่คนอ่านไม่ถูกหลอก เพราะรู้แต่ต้นว่ามันเป็นเรื่องแต่ง แต่การจะรู้ว่าคํา พูดหนึ่งเป็นตรรกะวิบัติหรือไม่ ต้องวิเคราะห์สถานเดียว
5
หลักการสร้างตรรกะวิบัติไม่ยาก เช่น
1
- เบี่ยงประเด็นไปยังประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
- สรุปหรืออนุมานเอาเองจากความคิดที่ตั้งธงมาก่อน ไม่ใช่จากหลักฐาน
- ใช้หลักฐานจริง แต่ผิดบริบท
- ด่วนสรุปโดยที่หลักฐานไม่เพียงพอ
- ยัดเยียดความคิดว่าทุกคนเห็นด้วย
- หาตัวอย่างเปรียบเทียบที่ผิดหรือเบี่ยงจุดสนใจ
20
- ใช้เหตุผลของเรื่องหนึ่งไปสรุปอีกเรื่องหนึ่ง
- อ้างว่าการไม่มีหลักฐานก็คือหลักฐาน
- เน้นเฉพาะข้อมูลเพียงบางส่วนซึ่งไม่ได้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมด
ฯลฯ
12
ตรรกะวิบัติมิได้เพิ่งถือกําเนิดในยุคโซเชียล เน็ตเวิร์ก มันมีมาตั้งแต่สมัยกรีก
โบราณแล้ว
3
“คอร์ริสคัสแตกต่างจากโซเครติส”
“โซเครติสเป็นมนุษย์”
3
“ดังนั้นคอร์ริสคัสแตกต่างจากมนุษย์”
บ่อยครั้งเราสามารถใช้คําพูดที่ถูกมาสรุปผิด ตัวอย่าง เช่น
3
“นายเฮงค้าขายเก่ง” (ถูก)
1
“นายเฮงเป็นคนจีน” (ถูก)
3
“คนจีนค้าขายเก่ง” (ผิด)
2
“พวกที่วางระเบิดอาคารสนามบินแห่งนั้นเป็นคนอาหรับ” (ถูก)
3
“พวกที่วางระเบิดอาคารสนามบินแห่งนั้นเป็นพวกหัวรุนแรง” (ถูก)
“คนอาหรับเป็นพวกหัวรุนแรง” (ผิด)
4
เราเรียกตรรกะวิบัติแบบนี้ว่า Formal Fallacy เอาความจริงมาผสมกันให้ไม่จริง
6
“ยางพาราปลูกขึ้นในภาคใต้”
“ยางพาราปลูกขึ้นในภาคตะวันออก”
“ดังนั้นยางพาราก็ต้องปลูกขึ้นในภาคอีสาน”
ฟังดูเผินๆ เหมือนมีเหตุผล แต่จริงๆ ไม่มีเหตุผล ผู้พูดสรุปเอาเอง
5
“อภิมหาเศรษฐีมีเงินมาก จึงไม่จําเป็นต้องโกงใคร”
1
“ผมเป็นอภิมหาเศรษฐี”
2
“ผมจึงไม่โกงใคร”
6
ตรรกะวิบัติแบบนี้มักใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง
14
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องจริง และมักเล่าเป็นขําขัน แต่มันก็จัดว่าเป็น fallacy
1
นาย ก. ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เขาตายอายุ 77
นาย ข. ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เขาตายอายุ 82
นาย ค. ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นไพ่ เขาตายอายุ 92
2
นาย ง. ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นไพ่ ยุ่งกับผู้หญิง เขาตายอายุ 103
นาย จ. ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นไพ่ ไม่ยุ่งกับผู้หญิง เขาตายอายุ 23
1
ดังนั้นเราควรดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ยุ่งกับผู้หญิง
11
เราอาจ โยงตรรกะของคนเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลส่วนเดียว ตัวอย่าง เช่น “ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราคนฆ่าตัวตายสูง ดังนั้นคนญี่ปุ่นมักชอบแก้ปัญหาโดยฆ่าตัวตาย”
3
หรือ “ประเทศที่อาหารมีไขมันสูงมีอัตราการเป็นมะเร็งหน้าอกสูงกว่า”
เรียกว่าตรรกะวิบัติแบบ Ecological Fallacy เป็นการสรุปผิดโดยอิงกับนิเวศวิทยา
4
เคยเจอคนที่คุยแบบนี้ไหม?
“คนญี่ปุ่นทั้งหมดเป็นคนสุภาพมาก”
“ทําไมคิดยังงั้น?”
“ผมเจอคนญี่ปุ่นคนนึง สุภาพมาก”
5
นี่การคือสรุปเอาเองจากตัวอย่างคนญี่ปุ่นเพียงคนเดียวว่า คนญี่ปุ่นทั้งหมดสุภาพ ตรรกะวิบัติแบบนี้เรียกว่า Faulty Generalization คือการสรุปว่าทั้งหมดตรงกับตัวอย่างกลุ่มเดียวหรือคนเดียว
2
เห็นหงส์สีขาวหนึ่งตัว แล้วสรุปว่าหงส์ทั้งหมดเป็นสีขาว
1
เจอคนชาติใดชาติหนึ่งโกงเรา ก็เหมารวมว่าคนทั้งชาตินั้นขี้โกง
2
หลายคนมีนิสัยชอบด่วนสรุปจากข้อมูลชุดเดียว เช่น “เด็กมหาวิทยาลัยเป็น
พวกเนิร์ด”
4
ความจริงคือไม่ใช่เด็กมหาวิทยาลัยทุกคนเป็นเนิร์ด
“ผู้หญิงที่คลอดลูกแล้วอ้วน”
เราก็รู้ว่าไม่จริงเสมอไป ผู้หญิงจํานวนมากยังมีหุ่นดีเยี่ยมหลังคลอดลูก
“เด็กทุกคนน่ารัก”
นี่ก็ไม่จริง มีเด็กน่าเกลียดมากมายในโลก
นี่เรียกว่า Hasty Generalization คือการด่วนวินิจฉัยภาพรวม หรือสรุปภาพรวมทั้งหมดจากตัวอย่างที่ไม่มากพอ หรือด่วนสรุป เช่น
3
“คนใส่แว่นไม่ชอบเล่นกีฬา”
1
“นักการเมืองเลว”
3
“รัฐมนตรีโกง”
1
ฯลฯ
นายสามารถกินบะหมี่ปูแล้วเกิดอาการอาหารเป็นพิษ จึงสรุปว่า บะหมี่ปูเป็นต้นเหตุของอาหารเป็นพิษ
4
ตรรกะนี้สรุปว่า อะไรที่เกิดขึ้นก่อนคือสาเหตุของเหตการณ์ที่เกิดขึ้นทีหลัง
1
การกินบะหมี่ปูเกิดขึ้นก่อนอาหารเป็นพิษ แต่จะสรุปไม่ได้ว่ามันเป็นสาเหตุ เพราะอาจเกิดจากการกินอย่างอื่น
1
เราเรียกชื่อตรรกะวิบัตินี้ว่า Post Hoc Fallacy มาจากคํากรีก post hoc, ergo propter hoc แปลว่า “มาจากสิ่งนี้ จึงเป็นเพราะสิ่งนี้”
4
นายทัศนัยจ้างคนใช้คนใหม่ ผ่านไปสองวันเงินของเขาหาย จึงสรุปว่าคนใช้ขโมยเงิน
เราสรุปว่าใครเป็นขโมยจากหลักฐาน ไม่ใช่จากการที่คนคนนั้นปรากฏตัวก่อนของหาย
2
นายธนชัยถูกให้ออกจากงานหลังจากนายธนเดชเข้ามาทํางาน นายธนชัยบอกนายธนเดชว่า “คุณเป็นต้นเหตุให้ผมออกจากงาน” นี่ก็คือการสรุปเอาเองว่า “มาจากสิ่งนี้ จึงเป็นเพราะสิ่งนี้”
มันอาจจะเป็นเรื่องจริงก็ได้ แต่ต้องมาจากหลักฐานที่ชัดเจน ไม่ใช่ข้อสันนิษฐาน
3
บางครั้งตรรกะวิบัติก็ใช้จินตนาการเชิงลบสร้างเรื่องขึ้นมา หลายคนอาจเคยถูกพ่อแม่เทศน์ประมาณนี้
2
“ถ้าลูกไม่ทําการบ้าน จะสอบตก ถ้าลูกสอบตก ก็จะเรียนไม่จบ ถ้าลูกเรียนไม่จบ ก็จะเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ถ้าลูกเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ลูกก็จะไม่มีอนาคต”
2
นี่คือการสรุปเป็นทอดๆ ว่าต้องเป็นอย่างนั้น
2
ศัพท์เฉพาะเรียกว่าตรรกะแบบ Slippery Slope (ทางลาดลื่น) อุปมาว่า
เมื่อเราไถลลงทางลาดที่ลื่น เราจะต้องร่วงลงไปถึงก้นอย่างแน่นอน เราไม่อาจหยุดตรงกลางทางลาดได้
5
มันใช้หลักคิดว่า เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น จะนําไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง และจบด้วยสถานการณ์เลวร้าย สรุปโดยไม่ต้องมีเหตุผลหรือหลักฐาน
2
ความจริงคือมีคนเรียนไม่จบมากมายที่ประสบความสําเร็จหลังจากเรียนไม่จบมหาวิทยาลัย
2
บางครั้งเราขู่คนติดเหล้าว่า “ถ้าคุณยังขืนกินเหล้าอย่างนี้ คุณจะเป็นมะเร็งตับ คุณจะใช้เงินเป็นค่ารักษาจนหมดตัว คุณจะตกงาน ครอบครัวคุณจะเดือดร้อน ลูกสาวคุณจะต้องไปขายตัว...”
นี่ก็คือจินตนาการภาพ worst case scenario มักใช้ขู่คน มันอาจเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ตรรกะจริงๆ เพราะตั้งคําอธิบายบนคําว่า “ถ้า”
2
เราเห็นนายสมศักดิ์กับนายสรรชัยโดยสารรถขนส่งแรงงานไปในสถานที่ก่อสร้าง เรารู้ว่านายสมศักดิ์เป็นช่างก่อสร้าง เราก็สรุปว่า นายสรรชัยต้องเป็นช่างก่อสร้างด้วย
2
นี่คือตรรกะวิบัติแบบ False Analogy คือสาธกผิดๆ
2
หลักการคือ ถ้า ก. กับ ข. มีคุณสมบัติบางอย่างร่วมกัน ก็ต้องมีคุณสมบัติ ค. ร่วมกันด้วย
1
ตัวอย่างอื่นๆ เช่น ผู้หญิงสาวสามคนเดินออกจากโรงอาบอบนวด เราก็สรุปว่าผู้หญิงสามคนนั้นเป็นหมอนวด
2
เราเห็นหญิงสาวสวยในกองประกวดนางงาม เราก็สรุปว่าเธอเป็นหนึ่งในผู้ประกวด
เราเคยได้ยินคํา พูดแบบนี้ในสภาบ่อยๆ ส.ส. เกรียงไกรพูดในสภาว่า “เราไม่
ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” ส.ส. เสริมฤทธิ์จึงบอกว่า “ผมไม่อยากเชื่อเลยว่า ส.ส.
เกรียงไกรไม่เคยสนใจชีวิตชนชั้นแรงงาน”
9
ตรรกะวิบัตินี้เรียกว่า Straw Man Fallacy (หุ่นไล่กา) เป็นการบิดเบือนความเห็นของคนอื่น อาจบิดให้ตรงกับความเห็นของเราเอง หรือแค่บิดเบือนเฉยๆ เพื่อเจตนาบางอย่าง หลักการคือ
8
โยงสองเรื่องเข้าด้วยกันแล้วสรุปแบบวิบัติ อาจเป็นจริงก็ได้ แต่ก็อาจไม่เป็นจริง หรือไม่เป็นจริงสําหรับทุกคน
3
ตัวอย่างอื่นๆ เช่น
“สิ่งมีชีวิตทุกชนิดวิวัฒนาการมา”
“ผมไม่อยากเชื่อว่าคุณเชื่อว่ามนุษย์มาจากลิง”
1
“รัฐบาลทหารชุดนี้จัดการเรื่องเศรษฐกิจได้ดี”
“ผมไม่อยากเชื่อเลยว่าคุณสนับสนุนพวกเผด็จการ”
1
ภาษาอังกฤษใช้สํานวนว่า put words in/into someone’s mouth
ยัดคํา พูดใส่ปากคนอื่น
9
“หลวงพ่อรูปนี้เป็นอลัชชี”
“งั้นคําเทศน์ของเขาก็ใช้ไม่ได้”
ในสงครามเวียดนาม เสนาธิการสหรัฐฯ นํา โดย รอเบิร์ต แมคนามารา ตัดสินใจหลายอย่างโดยใช้ข้อมูลด้านเดียว นั่นคือใช้จํานวนศพของฝ่ายเวียดกงมาประเมินสถานการณ์ โดยละทิ้งตัวแปรอื่นๆ พวกเขาใช้การคํานวณว่า ถ้าเพิ่มจํานวนศพข้าศึก และลดจํานวนคนตายของทหารอเมริกัน ก็จะชนะสงครามทหารสหรัฐฯตายน้อยกว่าจริง แต่อเมริกาแพ้สงคราม ตรรกะวิบัตินี้จึงเรียกว่า The McNamara Fallacy ตามชื่อแมคนามารา หรือ Measurement Fallacy
10
ตัวอย่างทั้งหมดที่ยกมานําหลักฐานหรือข้อมูลจริงมาบิดเบือน ปกติในโลกทั่วไป การไม่มีหลักฐานทํา ให้สรุปไม่ได้ แต่สําหรับนักสร้างตรรกะวิบัติ สามารถใช้การไม่มีหลักฐานของเรื่องหนึ่ง พิสูจน์ว่าเรื่องนั้นเป็นจริง
1
นี่คือตรรกะวิบัติแบบ Informal Fallacy
5
ยกตัวอย่าง เช่น ใครคนหนึ่งบอกว่า “ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าผีไม่มีจริง ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่าผีมีจริง”
2
ย้อนกลับไปที่เรื่องหมอดูซึ่งมีคนบอกว่า การที่อะไรบางอย่างอยู่มานาน ก็พอเป็นหลักฐานว่ามันคงมีประโยชน์ ไม่เช่นนั้นคนคงเลิกใช้บริการไปนานแล้ว ก็มีเหตุผลพอฟังได้ แต่เราก็ต้องค้นหาเหตุผลนั้นว่า หมอดูแม่นจริงๆ หรือมีคําอธิบายอื่น
‘ความแม่นยํา ’ ทางโหราศาสตร์หรือหมอดูสายต่างๆ จุดหนึ่งเกิดขึ้นจากฐานข้อมูลมหาศาล เป็นการทํางานโดยใช้สถิติศาสตร์
2
อีกจุดหนึ่งอาจเกิดจากผู้รับคําทํานายเอง นั่นคือคนที่ทําให้มันแม่นคือคนรับคําทํานาย เป็นคนให้คะแนนความแม่นยําของคําทํานายให้เข้ากับบุคลิก และชีวิตของเราเอง เมื่อคําทํานายเปิดกว้าง ไม่เจาะจง คนฟังก็ตีความให้เข้ากับ
ตนเอง เลือกเชื่อว่าคําทํานายนั้นเป็นคําทํานายเฉพาะของเขา
7
นี่คือคือตรรกะวิบัติที่เรียกว่า The Texas Sharpshooter Fallacy
2
ชาวเท็กซัสคนหนึ่งยิงปืนสองสามนัดบนกําแพงโรงนา แล้วทาสีรูปเป้าล้อมรูกระสุน เป็น ‘หลักฐาน’ ว่าเขายิงปืนแม่น เข้าเป้าทุกนัด
9
หลักการของ The Texas Sharpshooter Fallacy คือใช้เฉพาะข้อมูลที่ต้องการใช้ ละเลยข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เพื่อจะได้บทสรุปตามที่ต้องการ
5
ตัวอย่างหนึ่งคือการตีความคําทํานายของนอสตราดามุส หมอดูชาวฝรั่งเศส ผู้ตีความเลือกเฉพาะส่วนที่จะใช้ และตีความให้ตรงกับคําตอบ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากเจตนาของนอสตราดามุส
2
เราอยู่ในโลกของตรรกะวิบัติ ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์คําพูดของคนเสมอให้เป็นนิสัย มิเช่นนั้นจะตกเป็นเหยื่อได้ง่ายดาย
6
ตั้งคําถามทุกครั้งว่า “จริงหรือ?” และ “มีทางอื่นอีกไหมที่จะอธิบายเรื่องนี้?”
1
ก็คือหลักกาลามสูตร คิดก่อนเชื่อ ฝึกให้เป็นนิสัย
5
สังคมเราขาดแคลนคนที่คิดเป็น อ่านแตก มองทะลุ มันช่วยคานอํานาจทางปัญญากับข้อมูลเท็จ ข่าวปลอมทั้งหลาย หากคนในสังคมส่วนใหญ่คิดไม่เป็น แยกแยะตรระจริงออกจากตรรกะวิบัติไม่ได้ ก็จะเป็นสังคมตาบอด
24

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา