2 ก.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
เรามีเจตจำนงอิสระจริงๆ หรือไม่?
1
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
นี่เป็นคำถามเก่าแก่ยาวนานหลายสิบชาติแล้ว “มนุษย์เรามีเจตจำนงอิสระไหม?”
คำตอบก็คือ หากตั้งคำถามมายาวนานหลายสิบชาติแล้ว ยังไม่พบคำตอบ ก็แสดงว่ามันอาจไม่มีคำตอบ
1
ก่อนอื่น อะไรคือคำจำกัดความของเจตจำนงอิสระ (free will)
5
เจตจำนงอิสระคือความสามารถที่จะดำ เนินชีวิตโดยเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากหลายๆ ทางที่เป็นไปได้ ไม่ถูกกำหนดหรือตกอยู่ใต้อิทธิพลใดๆ มาก่อน
7
เจตจำนงอิสระไม่จำ เป็นต้องมีนัยเกี่ยวข้องกับศีลธรรม ความดี และความถูกต้อง เช่น นาย ก. มีทางเลือกที่จะเป็นคนดี มีทางเลือกที่จะไม่ทำชั่วไม่เล่นพนัน ฯลฯ เจตจำนงอิสระหมายถึงนาย ก. สามารถเลือกเดินสวนทางสังคมหรือค่านิยม ตามใจของเขาเอง เขาสามารถเลือกเป็นโจรผู้ร้าย เป็นคนเลว เพราะเขาเดินชีวิตของเขาด้วยใจของเขาเองล้วนๆ ไม่ถูกอิทธิพลใดมากำหนดแทรกแซง หรือครอบงำ
3
คำถามที่ถกกันมานานหลายสิบชาติคือมนุษย์สามารถเลือกกระทำ เรื่องต่างๆ โดยตัวเราเองได้จริงๆ หรือ? และถ้าจริง ควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็มหรือเพียงส่วนเดียว? อะไรเป็นตัวกำหนด? free will เป็นภาพลวงตาหรือเปล่า? เรื่องนี้ไม่เพียงตอบยาก มันอาจยังตอบไม่ได้ เพราะจะตอบเรื่องนี้ได้จริงๆ เราอาจต้องรู้โครงสร้างของจักรวาล
2
อ้าว! ไหงพูดไกลออกนอกโลกอย่างนั้น? หามิได้ เหตุผลก็เพราะมนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล การจะรู้ว่าเรามีเจตจำนงอิสระหรือไม่ ก็ไม่ต่างจากถามว่าเราเกิดมาทำ ไม ทำ ไมเราจึงมาอยู่ในมุมนี้ของดาราจักร เจตจำนงอิสระถ้าเป็นจริง เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในจักรวาลหรือเฉพาะเรา?
2
ถ้าเกิดเฉพาะกับมนุษย์ ทำ ไมเป็นเช่นนั้น? เพราะหมูในเล้าก็อาจอยากรู้ว่า มันมีเจตจำนงอิสระที่จะไม่กลายเป็นอาหารของคนหรือไม่ และทำ ไมนักโทษในคุกไม่สามารถมีเจตจำนงอิสระที่จะออกจากคุกได้?
3
การที่เราสามารถทำอะไรก็ได้ตามใจอิสระ คำศัพท์ทางการเรียกว่า libertarian free will
5
libertarian แปลว่าเสรีนิยม แต่ในที่นี้ไม่มีนัยทางการเมืองใดๆ
เราทุกคนย่อมรู้ว่า เรามีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ในชีวิต (อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่งและในประเทศส่วนใหญ่ในโลก) เด็กๆ อาจมีเรื่องบางอย่างที่พ่อแม่ไม่อนุญาตให้ทำ แต่สำหรับคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ส่วนใหญ่เชื่อว่าเรามีเจตจำนงอิสระในระดับสูงพอ
2
เราอยากไปดูหนังสักเรื่อง ก็ไปดูได้เลย ไม่ต้องถามใคร อยากกินไอติมก็กินเลย อยากฟังเพลงของคลาสสิกหรือป๊อปหรือแร็พ ก็เปิดฟังได้เลย อยากไปเที่ยวต่างจังหวัดก็ไปได้ และในสังคมส่วนใหญ่ เราอยากนับถือศาสนาใด ก็ทำ ได้ นี่ไม่ใช่เจตจำนงอิสระหรอกหรือ?
1
อาจจะใช่ อาจจะไม่ใช่
1
นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาหลายคนเห็นว่าเจตจำนงอิสระไม่มีจริงเจตจำนงอิสระเป็นแค่ภาพลวงตา
2
พวกเขาบอกว่าสติสัมปชัญญะของเราเกิดจากการทำ งานของนิวรอนในสมอง อารมณ์ ความรู้สึกทุกอย่างเกิดขึ้นในสมอง แม้แต่กิจกรรมทางเพศที่ดูเหมือนเกิดขึ้นทางกายภาพ ก็เกิดขึ้นที่สมอง สิ่งที่เรียกว่าเจตจำนงอิสระอาจเกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกก่อนที่จะปรากฏในจิตสำนึก และมันครอบงำ เราโดยที่เราไม่รู้ตัว
คุณอยากกินอะไรเป็นอาหารมื้อเที่ยงในวันนี้? คุณนึกอยากกินอาหารญี่ปุ่น ทำ ไมล่ะ? ก็เพราะเมื่อสามชั่วโมงก่อนคุณบังเอิญเห็นภาพอาหารญี่ปุ่นในอินเทอร์เน็ต หรือขับรถผ่านร้านอาหารญี่ปุ่น ภาพนั้นผลักดันให้คุณอยากกินอาหารญี่ปุ่น มันทำ งานคล้ายๆ impulse purchase เห็นสินค้าอะไรสักอย่างแล้วเกิดตัณหาอยากได้ทันทีโดยไม่มีความจำ เป็น เป็นความรู้สึกล้วนๆ
3
หากคุณไม่เห็นภาพอาหารญี่ปุ่นเมื่อเช้านี้ คุณก็อาจไม่อยากกินอาหารญี่ปุ่น ทุก effect มาจาก cause ต่อเนื่องกันไป ดังนั้นเจตจำนงอิสระที่จะเลือกกินอาหารญี่ปุ่นตอนเที่ยงเป็นผลลัพธ์การทำงานของสมองโดยที่คุณไม่รู้ตัว มันจึงไม่ใช่อิสระอย่างแท้จริง
เราเรียกวิธีคิดแบบนี้ว่า hard determination แปลว่าความเชื่อว่าทุกๆเหตุการณ์เกิดมาจากเหตุการณ์ในอดีต
2
(determination แปลว่า ความตั้งใจที่จะทำบางอย่าง การกำหนด)
1
แต่ถ้าคุณอยากกินอาหารญี่ปุ่นขึ้นมาเองเฉยๆ ไม่ใช่เพราะเห็นรูป แต่เพราะวันนี้คุณตื่นเช้าขึ้นมาก็ตัดสินใจเองว่าจะกิน คุณมีหลายทางเลือก แต่คุณเลือกอาหารญี่ปุ่น อย่างนี้เรียกว่า libertarian free will
5
พูดง่ายๆ ความแตกต่างคือ libertarian free will มีทางเลือกอื่น ขณะที่ hard determination มีทางเลือกเดียว คือมาจาก cause ใด cause หนึ่ง
3
ปัญหาคือมันแทบหาหลักฐานมาสนับสนุน libertarian free will แบบชัดแจ้งจริงๆ ไม่พบ เพราะการที่คุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้าแล้วอยากกินอาหารญี่ปุ่นขึ้นมาเองเฉยๆ อย่างน้อยที่สุดคุณก็ต้องเคยกินอาหารญี่ปุ่นมาก่อน และภาพอาหารญี่ปุ่นก็ฝังในจิตใต้สำนึกของคุณ หรืออยู่ในจุดใดจุดหนึ่งในสมองที่บังเอิญวันนี้มันโผล่ขึ้นมา
5
ทฤษฎีนี้เห็นว่าสมองก็เหมือนหัวใจ มันทำ งานของมันเอง
5
ถ้ามองแบบนี้ ทุกอย่างในโลกก็หนีไม่พ้น hard determination ในระดับมากน้อยต่างกัน เพราะสรรพสิ่งในโลกเป็นการทำ งานของ butterfly effect ทุกอย่างเป็น cause-effect เกี่ยวกันหมด
4
เช่นกัน การที่เราอยากกินไอติมในวันนี้ ก็อาจเพราะอากาศร้อน หรือ อยากกินแกงจืดร้อนๆ เพราะอากาศหนาว cause ในที่นี้ก็คืออากาศ
cause-effect เกี่ยวข้องกว้างถึงทั้งจักรวาล ที่เราเรียกว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”
2
เอาละ สมมุติว่าเราลองไม่อนุญาตให้ determination เลือก เราใช้วิธีโยนเหรียญหัวก้อยระหว่างกินอาหารญี่ปุ่นกับอาหารอีสาน เราอาจลงท้ายไปกินอาหารอีสาน แต่การโยนหัวก้อยก็เป็น cause อย่างหนึ่ง!
3
การเลือกกำหนดอาหารอีสานในการโยนเหรียญก็เป็น cause เช่นกัน เพราะเรารู้จักอาหารอีสานมาก่อน มันฝังในจิตใต้สำนึกของเรา และมันกำหนดเราทางอ้อม
คาร์ล จีเนท (Carl Ginet) นักปรัชญาชาวอเมริกัน เขียนในช่วง 1960s ว่า “เราไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตซึ่งกำหนดสถานะปัจจุบันของเรา และไม่สามารถควบคุมกฎธรรมชาติ ในเมื่อเราไม่สามารถควบคุมอดีตและธรรมชาติ เราก็ไม่อาจควบคุมผลที่ตามมา (consequences) ของมัน
3
ในเมื่อทางเลือกและการกระทำ ในปัจจุบันของเราที่อยู่ภายใต้การกำหนด เป็นผลที่ตามมาที่จำ เป็นของอดีตและกฎธรรมชาติ ดังนั้นเราก็ไม่อาจควบคุมมัน ดังนั้นจึงไม่มีเจตจำนงอิสระ”
4
แต่ไหนแต่ไร เราถูกสอนว่า เราได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู มีส่วน พ่อแม่ สังคม ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำ ให้เราตัดสินใจแบบหนึ่ง ถ้าครอบครัวเคร่งศาสนา เราก็อาจเป็นอย่างนั้นด้วย
นี่ชี้ว่าบางทีเราไม่มีเจตจำนงอิสระอย่างแท้จริง
นาทีนี้ผู้อ่านอาจบอกว่าไม่เชื่อ ผู้อ่านก็มีเจตจำนงอิสระที่จะหยุดอ่านตรงนี้... อ้าว! ยังอ่านอยู่หรือ? ก็แสดงว่าผู้เขียนเป็น cause หนึ่งที่ไปขวางทางเจตจำนงอิสระของผู้อ่าน?
7
นอกเหนือจากเรื่อง cause-effect แล้ว ยังมีนักคิดที่เชื่อว่าพันธุกรรมก็มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางคนฉลาดกว่า ตัดสินใจได้ดีกว่าอีกคนที่ยีนมีข้อจำกัดวิธีคิดและเลือกของสองคนนี้ก็อาจต่างกัน ดังนั้นเราจึงอาจบอกไม่ได้เต็มปากว่าสองคนนี้มีเจตจำนงอิสระจริงๆ เพราะชะตากรรมของทั้งสองมีส่วนที่ถูกกำหนดด้วยยีน
1
เคยสังเกตไหมว่าคนบางคนรักสวยรักงาม จัดบ้านช่องสะอาด บางคนสกปรกรกรุงรัง หากยีนมีส่วนกำหนดนิสัยรักสวยรักงาม ก็แสดงว่าพฤติกรรมถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และเจตจำนงอิสระที่จะแต่งบ้านให้สะอาดก็อาจไม่ใช่เจตจำนงอิสระ
คนที่ไม่เชื่อว่าเจตจำนงอิสระมีจริงตั้งคำถามว่า ทำ ไมคนที่ติดเหล้าจึงไม่สามารถเลิกเหล้าด้วยเจตจำนงอิสระที่จะเลิก ทำ ไมคนไม่น้อยมีนิสัยเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมอง
1
มีหลักฐานทางอาชญากรรมชี้ว่า อาชญากรไม่น้อยทำผิดเพราะสภาพสมองเป็น cause หลัก มีตัวอย่างจริงของคนที่สมองมีเนื้องอกเปลี่ยนนิสัยใจคอหน้ามือเป็นหลังมือ จากคนดีๆ กลายเป็นคนที่ชอบลวนลามเด็ก หรือกระทั่งฆ่าคน แต่เมื่อผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกไป นิสัยไม่ดีก็หายไปเป็นปลิดทิ้ง
4
ถ้าเจตจำนงอิสระมีจริง ทำ ไมการเอาเนื้องอกออกจึงสามารถเปลี่ยนนิสัยคนกลับมาเหมือนเดิมได้? ทำ ไมเจตจำนงอิสระช่วยไม่ให้เขาทำผิดไม่ได้?
1
วิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยามีหลักฐานสแกนสมองของฆาตกรและอาชญากรจำนวนมาก พบว่าโครงสร้างสมองแตกต่างจากคนปกติ มันก็อาจชี้ว่าพฤติกรรมเลวร้ายของคนบางคนอาจมิใช่มาจากเจตจำนงอิสระของเขา
2
บางทีเราทั้งหมดดำ เนินชีวิตในโลกที่มีเหตุการณ์ สภาพแวดล้อม ทำ ให้เราดำ เนินชีวิตไปตามเส้นทาง แล้วลวงตาว่าคือเจตจำนงอิสระ มนุษย์เรามีสัญชาตญาณเรื่องเจตจำนงอิสระสูงมาก
แต่การโน้มน้าวคนให้เปลี่ยนความเชื่อนี้ทำ ได้ยาก หลายคนบอกว่าแสดงหลักฐานที่เป็นรูปธรรมให้ดูก่อนซี
2
จะรู้แน่ว่ามีเจตจำนงอิสระจริงหรือไม่ ก็ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐาน
ก็ยุติธรรมดี
1
นักวิทยาศาสตร์นักคิดนักปรัชญาพูดเรื่องเจตจำนงอิสระมานานหลายร้อยปีแล้ว แต่การทดลองที่เป็นรูปธรรมจริงๆ น่าจะเป็น The Libet Experimentในทศวรรษ 1980
1
นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาชื่อ เบนจามิน ลิเบต (Benjamin Libet) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทำการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างลองทำอะไรตามใจตน นั่นคือให้กดปุ่มหรือขยับข้อมือเมื่อไรก็ตามที่อยากกดปุ่มหรือขยับ ขณะเดียวผู้ทดลองจะมองนาฬิกาจับเวลาพิเศษเรือนหนึ่ง เพื่อบันทึกเวลาที่ตัดสินใจขยับข้อมือ
ลิเบตแปะอิเลกโทรด EEG หลายชิ้นบนหัวของผู้ทดลองเพื่อวัดค่ากิจกรรมของนิวรอนในสมองคอร์เท็กซ์ ส่วนที่ทำ งานเกี่ยวกับจิตสำนึกของคน
2
ผลที่พบคือสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวมีความตื่นตัวอยู่เรียบร้อยแล้ว จิตใต้สำนึกทำ งานก่อนจิตสำนึกของเราประมาณ เราตัดสินใจมาก่อนตัดสินใจ ราว 300-500 millisecond (ประมาณครึ่งวินาที) เรียกว่า Readiness potential
3
นี่แปลว่าก่อนที่เราจะคิดทำอะไรด้วยเจตจำนงอิสระ การตัดสินใจเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในจิตใต้สำนึก แต่เราเชื่อมั่นร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเราตัดสินใจเอง
2
ผลการทดลองนี้ถูกใช้เป็นหลักฐานว่าเจตจำนงอิสระไม่มีจริง มันเป็นภาพลวงตาของมนุษย์ เราคิดไปเองว่าเรามีเจตจำนงอิสระ
2
นักวิทยาศาสตร์หลายคนแย้งว่า มันเป็นการทดลองที่ไม่สมบูรณ์แบบยังมีช่องโหว่
ดังนั้นผ่านไปร่วมสามสิบปี ก็มีคนทดลองซ้ำ
1
ในปี 2007 นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยา จอห์น ดิแลน เฮนส์ (John Dylan Haynes) แห่งมหาวิทยาลัยโรงพยาบาล Charité-Universitätsmedizin ที่เบอร์ลิน เยอรมนี ทดลองงานของลิเบตอีกครั้ง คราวนี้เปลี่ยนมาใช้เครื่องมือ fMRI (Functional Magnetic Resonance Imaging) ที่เหนือกว่า EEG
2
เขาให้คนทดลองกดปุ่มทางซ้ายมือและขวามือ ขณะที่ตามองดูตัวอักษรที่ปรากฏต่อเนื่องบนจอ
ผลที่ได้มาก็ตรงกับงานวิจัยของลิเบต แต่ได้เวลายาวกว่า นั่นคือระยะห่างของจิตใต้สำนึกกับจิตสำนึกต่างกันถึง 7 วินาทีก่อนที่จิตสำนึกจะตัดสินใจ
2
เขาประเมินว่าการทดลองนี้มีความแม่นยำ ราว 60 เปอร์เซ็นต์
แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ แย้งว่าการทำ งานของสมองที่ทำนายการตัดสินใจยังไม่ได้บอกว่าไม่มีเจตจำนงอิสระ แม้จิตใต้สำนึกจะบอกมา จิตสำนึกก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้
นอกจากนี้ก็มีคนแย้งว่าเจตจำนงอิสระไม่ใช่ภาพลวงตา เพราะสามารถแก้ไขจิตใต้สำนึกของเราได้
3
หากมีหลักฐานพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยว่าเจตจำนงอิสระไม่มีจริง ก็อาจคล้ายกับการพบหลักฐานชี้ว่าความยุติธรรมไม่มีจริง หรือชาติหน้าไม่มีจริง มันทำ ร้ายสังคมได้ เนื่องจากเจตจำนงอิสระเป็นรากฐานของสังคม
4
ถ้ามีข้อพิสูจน์ชัดแจ้งว่าเจตจำนงอิสระไม่มีจริง เราอาจสติแตกเพราะเห็นว่าโลกกำลังดำ เนินไปตามหลัก Fatalism ความเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปตามชะตากรรมของมัน อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
1
ผลที่อาจเกิดขึ้นคือ เราอาจเข้าสู่สภาวะท้อแท้ เห็นว่าเราไร้อำนาจโดยสิ้นเชิง ทำ ให้ไม่มีความสุข
1
ทว่าความเชื่อเรื่องเจตจำนงอิสระก็เหมือนความเชื่อเรื่องความยุติธรรมถึงเรารู้ว่าความยุติธรรมไม่มีอยู่จริงในโลก ก็ไม่ได้ทำให้เราต้องจับปืนไปยิงใครเพราะทุกเรื่องในโลกมีผลที่ตามมา
เช่นกันสมมุติว่าโลกไม่มีเจตจำนงอิสระ ก็ไม่ได้แปลว่าเราต้องใช้ชีวิตตามยถากรรม
ลองมองไปรอบตัวเรา จะพบว่ามีคนมากมายที่มีความสุขในชีวิต สุขหรือทุกข์อยู่ที่ทัศนคติในการใช้ชีวิต ไม่ได้ขึ้นกับว่าเหตุการณ์ในชีวิตของเราถูกกำหนดมาก่อนหรือไม่
1
เราอาจตัดสินใจโดยอิงจาก cause ที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีความสุขไม่ได้ เพียงแค่เปลี่ยนมุมมอง เราจะมองโลกเปลี่ยนไป
1
ต่อให้มนุษย์เราไม่มีเจตจำนงอิสระจริงๆ เราก็ยังสามารถ ‘เลือก’ ที่จะเชื่อว่า มนุษย์เรามีเจตจำนงอิสระ ด้วยเหตุผลว่าความเชื่อเรื่อง free will เป็นการใช้ชีวิตแบบด้านบวก ถ้า free will ไม่มีจริง ก็ไม่มีอะไรเสียหาย ถ้ามันมีจริง เราก็ใช้มันมาตลอดชีวิตแล้ว
4
อย่าลืมว่าต่อให้การตัดสินใจใดๆ ของเราเกิดจากจิตใต้สำนึกจริง มันก็ยังเป็นจิตใต้สำนึกของเราเอง ไม่ใช่ของคนอื่น มันทำงานมากับเราตั้งแต่เกิดเรายังเป็นเรา เพียงแต่กลไกการทำงานบางอย่างอาจไม่ตรงกับที่เราเคยคิดเคยเชื่อ
มนุษย์เราทุกคนเป็นผลรวมของเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ นับไม่ถ้วนที่สะสมจนกลายมาเป็นตัวเราในวันนี้ นี่ไม่ใช่ชะตากรรม มันเป็นเช่นนั้นเอง
5

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา