Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
21 มิ.ย. 2022 เวลา 09:30 • สุขภาพ
โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia)
เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้ามจะรู้สึกขยะแขยง หรือรังเกียจแบบผิดปกติ หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม ทำให้เกิดความไม่สบายใจเมื่อต้องอยู่ในที่คนพลุกพล่าน
โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia)
สาเหตุของโรค
มาจากผู้ป่วยเจอเหตุการณ์สะเทือนจิตใจตั้งแต่เยาว์วัย หรือช่วงวัยกลางคน เช่น การถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง การทำร้ายร่างกายหรือการถูกกักขัง หรือมีอดีตที่เลวร้ายจากการถูกดูถูกรูปร่าง เช่น หุ่น สีผิว ทรงผม หรือผลจากโดนกลั่นแกล้งที่รุนแรงในวัยเด็ก ทำให้ส่งผลที่จะเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นเช่นกัน
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคกลัวการถูกสัมผัสมักเกิดขึ้นได้ในผู้หญิง มากกว่าเพศอื่น ๆ
อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณโดนสัมผัสร่างกาย
●
รู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส
●
เมื่อถูกสัมผัสร่างกาย จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
●
เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ
●
เป็นลม หมดสติกะทันหัน
วิธีรักษาให้อาการบรรเทาลง
การเอาชนะความหวาดกลัว หรือวิตกกังวลไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณกล้าที่จะเผชิญ โดยสามารถรักษาโรคกลัวการถูกสัมผัสได้ ดังนี้
●
การบำบัดด้วยเทคนิค (Cognitive behavioral therapy ; CBT) ที่นักบำบัดจะทำการพูดคุย และช่วยปรับพฤติกรรม รวมถึงกระบวนการคิดในด้านลบของคุณเมื่อถูกสัมผัส
●
การบำบัดด้วยการให้ผู้ป่วยเผชิญการสัมผัสร่างกาย โดยอาจให้คนแปลกหน้าร่วมการบำบัดสัมผัสร่างกายผู้ป่วย การรักษานี้มักใช้เวลา 1 สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน และเป็นการรักษาที่ควบคุมโดยนักบำบัดอย่างใกล้ชิด ด้วยสภาพแวดล้อมรอบข้างที่ปลอดภัย
●
ฝึกการหายใจทำจิตใจให้ผ่อนคลาย โดยการออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
https://hellokhunmor.com
https://howto-healthy.com/aphenphosmphobia/
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
สุขภาพจิต
สุขภาพ
โรคภัย
6 บันทึก
6
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
6
6
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย