Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
22 มิ.ย. 2022 เวลา 04:44 • สุขภาพ
7 วิธีพักผ่อนที่แพทย์แนะนำให้ลอง
ทำตามง่ายถ้าทำได้สุขภาพร่างกายดีไม่เหนื่อยล้าแน่นอน
หลายครั้งในช่วงวันหยุด แม้ว่าตลอดทั้งวันหยุดนั้นจะพักผ่อนเต็มอิ่มนอนเต็มที่ก็ตาม แต่ก็ยังเหนื่อยล้าอยู่ดี ?
7 วิธีพักผ่อนที่แพทย์แนะนำให้ลอง ทำตามง่ายถ้าทำได้สุขภาพร่างกายดีไม่เหนื่อยล้าแน่นอน
เชื่อว่าพฤติกรรมเหล่านี้ที่ว่ามาคนวัยทำงานนั้นมักพบเจออยู่เป็นประจำ ส่วนวิธีแก้ปัญหาส่วนใหญ่ของพวกเขานั้นก็คือ เอนหลังลงไปนอนหมอนใบเดิมที่คุ้นเคย ? นอนแล้วหายเหนื่อยหายล้าไหม ? ตอบเลยไม่ !!
เพราะพฤติกรรมที่ว่ามานั้นไม่ได้ทำให้ร่างกายของเรานั้นดีขึ้นจากอาการเหนื่อยล้าได้แม้แต่น้อย เพราะการนอนนาน ๆ นั้นไม่ได้ช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้น ดังนั้นเราจึงควรเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ด้วย 7 วิธีพักผ่อนที่แพทย์อยากแนะนำที่เรานำมาให้ทุกคนได้ดูในวันนี้
Physical rest พาร่างกายไปพักผ่อน
การพักผ่อนทางกายภาพที่เราทำอยู่ทุกวันและขาดไม่ได้ไม่บอกทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่ามันคือการนอน การนอนที่ว่านั้นไม่เพียงแต่ต้องนอนหลับสนิทอย่างเดียว แต่มันรวมไปถึงการงีบหลับ การนอนเล่น นอนดูหนัง หรือนอนทำอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ความคิด
เนื่องจากว่าการนอนของมนุษย์นั้นมีกลไกลบางอย่างของมันเอง ส่วนวิธีการพาร่างกายของเราไปพักผ่อนนั้นคือการ พาตัวเองออกไปพบเจอกับอะไรที่แปลกใหม่ที่ดูแล้วไม่ต้องทำให้คิดมาก เช่นการออกกำลังหรือการออกไปนวดเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่าการออกไปพักผ่อนนอกบ้านที่ไม่สร้างความตึงเครียด
Mental rest ปล่อยจิตใจได้ผ่อนคลาย
หลงลืมบ่อย ๆ ไม่ค่อยมีสมาธิ หงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้เรามีหรือเปล่า ?? ถ้ามีบอกเลยว่านี่คือสัญญาณเตือนจากร่างกายภายใน ว่ามันต้องการผ่อนคลาย เพราะความเครียดของคุณที่มีมาตั้งแต่เช้านั้นกำลังสะสมตกกระทบกับเป็นทอด ๆ และสุดท้ายมันก็จะส่งต่อมาให้สุขภาพร่างกายและจิตใจนั้นย่ำแย่ จนทำให้ไม่หลับไม่นอน
ส่วนวิธีการพาตัวเองออกมาพักผ่อนที่ดีมาก ๆ นั้นก็คือ ทุก ๆ สองชั่วโมงในช่วงที่ทำงานนั้นควรลุกออกจากโต๊ะที่นั่งอยู่ เพื่ออกมายืดเส้นยืดสายและพักผ่อนนสายตาที่จ้องานจ้องจอ
Sensory rest พักผ่อนประสาทสัมผัส
ตาที่เหนื่อยล้าจากการจ้องจอและหูที่ทำงานหนักต้องค่อยรับฟังสิ่งที่อยู่รอบข้าง ส่วนปากที่ต้องใช้ระมัดระวังในการพูดจานั้นก็คือว่าเป็นหนึ่งประสาทสัมผัสที่ควรได้รับการพักผ่อน เพราะพวกมันนั้นถูกใช้ให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา ส่วนวิธีการพักประสาทสัมผัสนั้นก็สามารถทำตามได้ง่ายๆ เพียงปิดหูปิดตาปิดปากลงสัก 15 นาที ในช่วงที่ทำงานเพียงแค่นี้ก็สามารถช่วยให้ประสาทสัมผัสในการทำงานดีขึ้นและได้พัก
Creative rest พักการใช้ความคิดอย่างหนักหน่วง
ใช้สมองระดมไอเดียมาตลอดทั้งวันทำงานนั้นหารู้ไหมว่ามันสามารถหมดลงได้เช่นกันกกับการดื่มน้ำในแก้ว เพราะสมองของเรานั้นไม่ใช่ผู้วิเศษที่จะสามารถเสกทุกอย่างให้เข้ามาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะความคิด
สำหรับวิธีการพักสมองนี้นั้นก็สามารถทำตามได้ง่ายๆด้วยการ เคลื่อนย้ายร่างกายไปสถานที่ที่แปลกใหม่และดูสวยงาม อย่างเช่นไปเที่ยวป่าไปเที่ยวเขา หรือไปในที่ที่สร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกาย อย่างปล่อยให้ตัวเองอยู่กับผนังห้องตลอดทั้งวัน
Emotional rest ใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง
เหนื่อยก็บอกเหนื่อยเมื่อก็บอกเมื่อไม่สบายก็บอกว่าไม่สบาย นี่คือการใส่ใจอารมณ์ของตัวเองที่ดีสุด เพราะการซื่อตรงกับอารมณ์และความรู้สึกคือหนึ่งสิ่งที่ทำให้เรานั้นปลดปล่อยทุกอย่างที่มีในใจออกไปได้ ซึ่งถ้าไม่มีคนคุยด้วยการคุยกับตัวเองเองนั้นแหละคือทางออกที่ดีที่สุดและผ่อนคลายมากที่สุด
Social rest พาตัวเองไปอยู่ในที่สังคมดี
หากรู้สึกว่าสังคมที่อยู่ข้างกายนั้นไม่โอเคเมื่อไหร่บอกเลยว่าให้รีบพสตัวเองออกมาจากตรงนั้นทันที และย้ายตัวเองไปอยู่ในสังคมที่ดีขึ้นมากกว่า เพราะการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมันก็จะส่งผลดีต่อจิตใจและร่างกาย แต่ถ้าเมื่อใดไปอยู่ใกล้คนที่ทีพลังด้านลบความคิดและจิตใขของเรานั้นก็แย่ลงตามคำพูดเหล่านั้นได้เลย
Spiritual rest ผ่อนคลายจากภายใน
นอกจากการดูแลร่างกายภายนอกแล้วภายในจิตใจนั้นก็คือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจะต้องทำ เช่นการนั่งพักผ่อนโดยไม่ต้องคิดอะไร หรือการนั่งสมาธิให้จิตใจและร่างกายเชื่อมโยงกันวันละ 15-20 นาที ซึ่งวิธีนี้นั้นมันสามารถช่วยให้เรานั้นจัดแจงระบบระเบียบร่างกาย และสิ่งที่คิดในหัวได้ และถ้าไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ก็ลองหาตัวช่วยผ่านแอปพลิเคชันหรือก็ไปที่วัดก็ได้เช่นกัน
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
สุขภาพ
สุขภาพจิต
9 บันทึก
11
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จิตวิทยา พัฒนาตนเอง
9
11
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย