Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สภาการศึกษา
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2022 เวลา 03:00 • การศึกษา
น้องพาเพลินอยากรู้จังเลยค่ะ 🤔 ว่าการศึกษาของแต่ละประเทศจะเหมือนกันไหม และจะแตกต่างกันยังไงนะ❓
วันนี้น้องพาเพลินรวบรวมนโยบายการศึกษาแต่ละประเทศมาให้เพื่อน ๆ ค่ะ ซึ่งในหลายแห่งพยายามมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางการศึกษาค่ะ 👩🏻🎓🧑🏼🎓
เพื่อที่นักเรียนจะได้ค้นหาตัวเอง ว่าชอบอะไร ถนัดอะไร อยากเรียนอะไร ผ่านหลักสูตรที่จะปรับเปลี่ยนไปตามนักเรียน 🎨⚽️🍳
การวางหลักสูตรแบบนี้จะช่วยเป็นแนวทางการวางระบบการศึกษา ที่จะทำให้นักเรียนอย่างน้องพาเพลินเอง และเพื่อน ๆ ทุกคนมีความสุขกับการเรียน 💜 รวมถึงมีอิสระในการเลือกเรียนสิ่งที่สนใจจริง ๆ นั่นเองค่ะ 📚
ประเทศฟินแลนด์ 🇫🇮
▪️ โครงสร้างการศึกษาแบบ ‘ล่างขึ้นบน’
คือ นักเรียนต้องการอะไร เป็นแบบไหน คุณครูจะเป็นผู้สรุป เก็บประเมินผล และนำสิ่งที่ได้ไปปรับใช้กับการวางระบบการเรียนการสอนให้กับส่วนกลางหรือกระทรวงศึกษาธิการ ต่อไป
▪️ ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เชื่อว่า การสอบวัดผลด้วยข้อสอบชุดเดียว ไม่สามารถวัดผลคุณภาพของเด็กแต่ละคนได้ เพราะเด็กแต่ละคนนั้นมีความสามารถที่แตกต่างกัน จึงไม่ควรเอามาตรฐานเดียว มาวัดเด็ก ๆ ทุกคนได้
▪️ เด็กเลือกและกำหนดตารางเรียนของตัวเอง ซึ่งในระดับชั้นมัธยมปลายจะแบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือ สายสามัญ และสายอาชีพ
นักเรียนจะได้รับอิสระในการกำหนดตารางเวลาเรียนด้วยตัวเอง โดยในช่วงท้ายของเทอมจะมีการวัดประเมินผลเพื่อใช้คะแนนตรงนี้ ไปเป็นส่วนหนึ่งในเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 🇨🇭
▪️ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โรงเรียนอาชีวะเหมาะกับนักเรียนที่เตรียมตัวเข้าเรียนในวิทยาลัยอาชีวะระดับสูง โดยการศึกษาในระดับนี้มีการเรียนการสอนมากกว่า 250 สายอาชีพ เพื่อรองรับความต้องการเรียน หรืออยากจะเป็นของนักเรียน
▪️ สวิตเซอร์แลนด์จะกระจายอำนาจให้กับโรงเรียนแต่ละรัฐให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารหลักสูตร ทำให้แม้จะอยู่ประเทศเดียวกันแต่รายละเอียดหลักสูตรและการเรียนการสอนก็แตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐด้วย
ประเทศเกาหลีใต้ 🇰🇷
▪️ สามารถเลือกเรียนต่อได้ 2 แนวทางคือ ระดับมัธยมปลาย (สายสามัญหรือสายอาชีวะ) หรือ โรงเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
เช่น โรงเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาต่างประเทศ และพลศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กไปตามโปรแกรมการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เป็นต้น
▪️ หลักสูตรของประเทศเกาหลีใต้จะมุ่งเน้นการศึกษาแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีความคิดสร้างสรรค์สามารถเลือกวิชาเรียนข้ามศาสตร์ได้อย่างอิสระ
ประเทศออสเตรเลีย 🇦🇺
▪️ ระดับมัธยมปลายออสเตรเลียจะไม่มีการแบ่งแยกแผนการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกลงเรียนวิชาที่ชอบ และอยากเรียนได้ตามที่นักเรียนต้องการ
▪️ Pre-requisites คือ หลักเกณฑ์สำหรับซัปพอร์ตด้านการศึกษาที่ให้นักเรียนศึกษาก่อนว่า จะต้องลงเรียนวิชาไหน เพื่อที่จะสามารถเข้าคณะที่ต้องการเข้าได้ นั่นเอง
ประเทศสหรัฐอเมริกา 🇺🇸
▪️ นักเรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัดของตนเองได้ว่า ต้องการเรียนระดับธรรมดา กลาง หรือยาก เพื่อลดความเข้นข้นของแต่ละวิชา
เพราะความใส่ใจ❤นักเรียนที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ จึงไม่อยากให้เกิดความกดดันตัวเองในการเรียนมากเกินไป
▪️ ในระดับมัธยมปลาย จะแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายวิชาการ และสายอาชีพ
เพื่อต้องการให้นักเรียนได้เรียนสิ่งที่ตัวเองถนัดมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://thematter.co/social/education-system-in-others-country/103757
#OECnews #สภาการศึกษา #การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
📝OEC News สภาการศึกษา
• Website:
http://www.onec.go.th
• Facebook:
https://www.facebook.com/OECSocial
• YouTube:
https://bit.ly/2zXPkxO
• LINE: @OECNews |
http://line.me/ti/p/@OECNews
การศึกษา
การเรียนรู้
พัฒนาตัวเอง
1 บันทึก
1
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อัปเดตเทรนด์การศึกษา 2022
1
1
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย