Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้เรื่องสัตว์ๆ
•
ติดตาม
27 มิ.ย. 2022 เวลา 01:08 • สิ่งแวดล้อม
รู้เรื่องสัตว์ ๆ ตอนที่ 36 | ซีรี่ย์ ‘สัตว์ลายเสือ’ ประจำเดือนมิถุนายน
สัตว์ลายเสือตัวนี้ไม่มีขาเป็นนักล่าแห่งป่าชายเลน และสัตว์ที่จะชวนมารู้จักในวันนี้ก็คือ ‘งูเขียวหางไหม้ลายเสือ’ หรือ ‘งูพังกา’ นั่นเอง 🐍🔥🐯
.งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (Trimeresurus purpureomaculatus (Gray, 1832)) ©Shani Cohen Via. https://www.thainationalparks.com/species/trimeresurus-purpureomaculatus
ก่อนอื่นมาลองดูกันก่อนว่ารูปร่างหน้าตากับชื่อของงูชนิดนี้ตรงปกรึเปล่า🧐
ชื่อแรก ‘งูเขียวหางไหม้ลายเสือ’ ตรง ‘ลายเสือ’ ก็ถือว่าตรงปกอยู่นะ แต่ ‘งูเขียวหางไหม้’ นี่ดูยังไงก็ไม่เห็นจะเขียวตรงไหนเลย🤔
เพร่ะสีพื้นลำตัวเป็นสีเทา เทาดำ หรือน้ำตาลม่วง และมีลายขีดเขียวบนลำตัว ด้านข้างลำตัวสีเขียวซีด หรือเป็นจุดสีเขียวซีด ด้านล่างลำตัวเป็นสีเขียวมะกอก เห็นจุดดำกระจายอยู่ทั่วทั้งตัว
แต่ที่ชื่อมีคำว่างูเขียวหางไหม้นั้น ความจริงแล้วมาจากการที่เป็นงูในกลุ่มเดียวกับงูเขียวหางไหม้นั่นเอง ดังนั้น จึงถูกเรียกชื่อให้เหมือนเพื่อน ๆ ในกลุ่มเดียวกันแล้วค่อยบวกลายเสือเข้าไปท้ายชื่อตามลักษณะลายตามลำตัวนั่นเอง
ต่อจากลายก็มาดูรูปร่างกันบ้าง ส่วนหัวมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมเช่นเดียวกับงูในกลุ่มงูเขียวหางไหม้อื่น ๆ ตัวป้อมๆ หนาๆ เกล็ดบนหัวมีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็ก เกล็ดรอบลำตัวมีจำนวนตั้งแต่ 25-27 ชิ้น
และแน่นอนว่าขึ้นชื่อว่าเป็นงูเขียวหางไหม้ก็ต้องเป็นงูพิษอย่างแน่นอน โดยเป็นงูที่มีพิษต่อระบบเลือดอย่างรุนแรงชนิดหนึ่ง แต่ปกติจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตโดยสามารถใช้เซรุ่มแก้พิษงูเขียวหางไหม้ในการรักษาได้หากจำเป็น
ส่วนอีกชื่อคือ ‘งูพังกา’ ซึ่งมีที่มาจากถิ่นที่อยู่อาศัยนั่นเอง เพราะคำว่า ‘พังกา’ มีความหมายว่าป่าโกงกางหรือป่าชายเลนนั่นเอง ซึ่งก็จะสอดคลองกับชื่อสามัญว่า “mangrove pitviper”
งูพังกามักอาศัยตามป่าชายเลน และอาจพบในพื้นที่ต่อเนื่องกับป่าชายเลนได้ หากินในเวลากลางคืน
เมื่อน้ำลงจนพื้นดินพ้นน้ำก็มักลงมาหากินระดับพื้นหรือใกล้พื้น แต่ถ้าน้ำท่วมพื้นก็นอนรอเหยื่อบนต้นไม้
และความพิเศษของงูชนิดนี้ก็คือ แม้ว่าในป่าชายเลนจะมีงูนักล่าอยู่หลายชนิด แต่มีเพียงงูพังกาเท่านั้นที่ค่อนข้างจำเพาะต่อป่าชายเลนไม่ค่อยเคลื่อนย้ายออกไปไกลเมื่อเทียบกับงูนักล่าชนิดอื่น ๆ
สามารถพบงูพังกาได้ในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและไทย การแพร่กระจายในไทยส่วนใหญ่พบในฝั่งทะเลอันดามัน
อ้างอิง
●
รองศาสตราจารย์ผุสตี ปริยานนท์ และคณะ. 2555. ความหลากหลายของสัตว์เลื้อยคลานในเกาะทะเลไทย จาก
http://www.rspgchula.sc.chula.ac.th/book/index.html
สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2565
●
https://reptile-database.reptarium.cz/species?genus=Trimeresurus&species=purpureomaculatus
●
https://www.facebook.com/thailandsnakescloseencounters/posts/1078244602516813/
●
http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9329
●
https://www.thainationalparks.com/species/trimeresurus-purpureomaculatus
●
https://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=692&c_id=
การศึกษา
สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์
บันทึก
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สัตว์ลายเสือที่ไม่ใช่เสือ
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย