Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้เรื่องสัตว์ๆ
•
ติดตาม
30 พ.ค. 2022 เวลา 01:08 • สิ่งแวดล้อม
รู้เรื่องสัตว์ ๆ ตอนที่ 32 | ซีรี่ย์ ‘สัตว์ลายเสือ’ ประจำเดือนพฤษภาคม
สัตว์ลายตัวนี้ มีขามากกว่าเสือ มีเขี้ยวแข็งแรงและแม้จะกัดแล้วแผลจะเล็กกว่าแต่ความเจ็บไม่เล็กเลย สัตว์ตัวนั้นก็คือ ‘ตะขาบลายเสือ’
https://en.wikipedia.org/wiki/Scolopendra_morsitans
ตะขาบ จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Arthropoda) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate) หรืออาจเรียกรวมกันว่า ‘สัตว์ขาข้อ’ (Arthropod) โดยกลุ่มสัตว์ขาข้ออื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่เช่น แมงดาทะเล แมงมุม เห็บ กุ้ง ปู กิ้งกือ และแมลงต่าง ๆ
ชื่อตะขาบลายเสือ (Scolopendra morsitans) มาจากสีตามลำตัวของทตะขาบชนิดนี้ที่คล้ายกับเสือ คือมีลำตัวสีเหลืองและมีแถบคาดสีดำ ส่วนหัวและปล้องสุดท้ายสีส้มอมแดง มีความยาวลำตัวประมาณ 2-15 เซนติเมตร
สามารถการกระจายตัวอยู่ในทุกทวีปและหลากหลายสภาพภูมิประเทศทั้งพื้นที่แห้งแล้งในออสเตรเลีย เขตร้อนและอบอุ่นในอินเดียและป่าฝนเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยสีของตะขาบลายเสืออาจมีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่น ตะขาบลายเสือตัวเต็มวัยที่พบในภาคเหนือของไทยจะมีหัวและขาปล้องสุดท้ายสีดำสนิท ในขณะที่กลุ่มที่พบทางภาคอีสานร่วมถึงประเทศกัมพูชาจะมีหัวและขาปล้องสุดท้ายสีแดงสด
ตะขาบลายเสือมักพบอาศัยอยู่ตามพื้นที่เกษตรกรรม และบริเวณพื้นที่ธรรมชาติแต่ข้อมูลด้านชีววิทยายังมีไม่มากนักเนื่องจากพฤติกรรมที่มักซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่ชื้นแฉะ ใต่ซากใบไม้ หรือขอนไม้ และออกหากินในเวลากลางคืน
โดยตะขาบลายเสือที่มีรายงานสำรวจในพื้นที่ธรรมชาติของไทยพบได้ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว จังหวัดเชียงราย
ตะขาบลายเสือ : นักล่าที่ไม่ได้มีแค่เขี้ยวแต่ยังมีพิษร้ายด้วย
ไม่ใช่แค่ลายที่น่าเกรงขามเพราะตะขาบชนิดนี้ยังมีพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาทต่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและระบบประสาทอัตโนมัติของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยหากเหยื่อได้รับพิษก็จะเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว
พิษของตะขาบชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการปวด และส่วนประกอบในโปรตีนของพิษตะขาบมีความคล้ายคลึงกับองค์ประกอบในพิษของแมงป่องและแมงมุมพิษ
โดยในพิษของแมงป่องลายเสือจะมีเอนไซม์ช่วยย่อยเหยื่อจากภายนอกร่างกายได้ และดูดกินองค์ประกอบภายในของเหยื่อได้แม้แต่ในสัตว์ขาปล้องอื่นๆ ที่มีโครงสร้างภายนอกเป็นไคตินที่มีความแข็งแรงได้
และหากมนุษย์ถูกกัด จะเกิดรอยแดง บวม และในบางกรณีอาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง แต่ก็ยังมีข้อมูลการศึกษาไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วพิษของตะขาบจะไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิตและความรุนแรงของอาการมักขึ้นอยู่กับขนาดของตะขาบที่กัด
แต่หากโชคไม่ดีโดนกัดขึ้นมาก็สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการล้างแผลด้วยน้ำสะอาด กินยาแก้ปวด ใช้ยาหม่องหรือยาสามัญประจำบ้านถูทาบาง ๆ และ เบาบริเวณที่ถูกกัดต่อย แต่หากปวดมากให้ใช้น้ำอุ่นประคบแผลนาน 15-20 นาที แต่หากมีอาการรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์
ตะขาบหรือตะเข็บ มองซักนิดก่อนคิดจะกำจัด!
ไหนๆ ก็พูดถึงตะขาบแล้วก็ขอทิ้งท้ายด้วยการร้องทุกข์ให้กับญาติห่างๆ ของตะขาบอย่าง ‘ตะเข็บ’ ซักเล็กน้อย
โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนอย่างนี้ นอกจากระวังยุงกันแล้วก็ยังต้องระวังสัตว์มีพิษอื่น ๆ รวมถึงอย่างตะขาบกันด้วย แต่บ่อยครั้งมักมีสัตว์ที่มักต้องรับเคราะห์แทนตะขาบนั่นก็คือตะเข็บ
เพราะเรามักจะพบเจอตะขาบและตะเข็บได้ในที่ชื้นๆ เช่น ตามซอกหินหรือโคนต้นไม้ชื้น แต่ก่อนจะลงมือกำจัดอยากให้ลองมองดูให้ดีสักนิดว่าเจ้าสัตว์ขาปล้องตรงหน้านั้นคือตะขาบหรือตะเข็บกันแน่
และแม้ตะเข็บกับตะขาบจะชื่อคล้ายกัน เป็นสัตว์ขาปล้องเหมือนกัน ลักษณะภายนอกที่มีลำตัวยาวมีขาระหว่างปล้องจำนวนมากก็คล้ายกัน แต่แท้จริงแล้วตะเข็บเป็นญาติที่ใกล้ชิดกับ ‘กิ้งกือ’ ต่างหาก!
จึงเรียกได้ว่าตะเข็บเป็นกิ้งกือที่ขนาดเล็กแต่มีลำตัวแบนต่างจากกิ้งกือส่วนใหญ่ที่จะมีลักษณะลำตัวกลม ตะเข็บจึงมีชื่ออีกอย่างว่า ‘กิ้งกือหลังแบน’
ตะเข็บ = กิ้งกือหลังแบน ≠ ตะขาบ
ตะเข็บใช้หนวดนำทาง เพราะไม่มีตา เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า สีของลำตัวเป็นสีดำแต่หนามบริเวณข้างลำตัวนั้นจะมีสีแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่นที่อยู่ เช่น สีส้มแดง สีส้มอมชมพูหรือสีเหลือง
ตะเข็บเมื่อโตเต็มที่ตะเข็บจะมีความยาวเพียง 30 มิลลิเมตรเท่านั้นและจากรูปร่างที่แบนกว่ากิ้งกืออย่างที่กล่าวไปทำให้ตะเข็บมักถูกเข้าใจว่าเป็นลูกของตะขาบ
ทั้งที่จุดสังเกตสำคัญก็คือบริเวณปล้องหน้าสุดของลำตัวตะขาบจะมีหนวดยาวหนึ่งคู่ในขณะที่ตะเข็บหนวดจะสั้น ๆนอกจากนี้หากพิจารณาขาในแต่ละปล้องจะพบว่า
ตะขาบมีขา 1 คู่ ต่อ 1 ปล้องลำตัว
ตะเข็บมีขา 2 คู่ต่อ 1 ปล้อง
ดังนั้น ตะเข็บจึงมีขาที่ดูยั้วะเยี้ยะคล้ายกิ้งกือมากกว่าตะขาบ นอกจากนี้ถ้ามาลองดูในชื่อภาษาอังกฤษของตะขาบและกิ้งกือรวมถึงตะเข็บจะบอกให้บอกความขิงของจำนวนขาในชื่ออยู่แล้ว
ตะขาบจัดอยู่ในชั้น Chilopoda ชื่อภาษาอังกฤษคือ ‘Centipede’ โดย Centi เป็นภาษาละตินแปลว่า 100 ส่วนคำ ว่า pes, pedis แปลว่า เท้า เมื่อรวมกันจึงหมายถึง “100 เท้า” หรือ “100 บาทา” นั่นเอง
ส่วนตะเข็บและกิ้งกืออื่น ๆ อยู่ในชั้น Diplopoda มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Millipede’ มาจากคำว่า Milli ที่แปลว่า 1,000 ส่วนคำ ว่า pes, pedis แปลว่า เท้าเช่นกัน ดังนั้นรวมกันจึงแปลว่า ‘ 1,000 ขา’ หรือ ‘พันบาทา’ นั่นเอง
แม้ความเป็นจริงกิ้งกือจะไม่ได้มีขามากถึงพันขา โดยจากการทดลองพบว่ากิ้งกือมีขาประมาณ 80 - 400 ขา เท่านั้นแต่ชื่อก็ขิงไปก่อนแล้ว
(บน) กิ้งกือ (ล่าง) ตะขาบ https://oepos.ca.uky.edu/content/centipedes-millipedes
นอกจากนี้ตะขาบยังเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าตะเข็บและกิ้งกือมากและมักเคลื่อนที่อยู่ตามพื้นไม่สามารถไต่กำแพงได้แบบตะเข็บหรือกิ้งกืออื่น ๆ
โดยตะเข็บใช้ชีวิตอยู่ในดินคล้ายกับไส้เดือน กินซากพืชเน่าเปื่อย อินทรียวัตถุ ตะไคร่น้ำเป็นอาหาร และขับถ่ายมูลออกมาเป็นปุ๋ยบำรุงดินต่อไป
แต่ถึงตะเข็บจะไม่กัดคนแต่ก็อาจปล่อยพิษอ่อน ๆ ออกมาจากระหว่างแต่ละปล้องลำตัวได้ โดยเมื่อพบอันตรายตะเข็บจะขดตัวทันทีและสามารถปล่อยสารเคมีที่มีกลิ่นออกมาเพื่อป้องกันตัว ซึ่งหากเราสัมผัสโดนสารเคมีนี้ควรรีบล้างมือฟอกสบู่เพราะอาจจะเกิดอาการแพ้ได้
ดังนั้นย้ำอีกทีว่า ตะเข็บไม่ใช่ลูกตะขาบ ตะขาบตัวใหญ่กว่าและเร็วกว่าตะเข็บ ตะขาบกัดคนแต่ตะเข็บไม่กัดคนจ้า
ดังนั้น ดูดี ๆ ก่อนตีน้องฝเพราะน้องเป็น ‘ส้อมพรวนดินที่มีชีวิต’🌱
ความแตกต่างระหว่างกิ้งกือ ตะเข็บและตะขาบ ที่มา: https://www.facebook.com/JonesSaladThailand/photos/a.1412968538938637/2718922465009898/?type=3
อ้างอิง
●
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofanimal&view=showanimal&id=1256
●
http://blog.arda.or.th/ตะเข็บ/
●
https://en.wikipedia.org/wiki/Scolopendra_morsitans
●
https://songsaad.com/2021/03/20/ตะขาบที่เราเห็นกัน-มีทั/
●
https://voicetv.co.th/read/rygjhWJ27
●
https://www.gbif.org/species/5179468
●
http://www.siamensis.org/article/221
●
https://www.youtube.com/watch?v=fyle42OznIc
●
http://www1a.biotec.or.th/BRT/index.php?option=com_content&view=article&id=137:milliped-several-leg&catid=57:annimal&Itemid=54
การศึกษา
สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์
2 บันทึก
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สัตว์ลายเสือที่ไม่ใช่เสือ
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย