18 เม.ย. 2022 เวลา 01:08 • สิ่งแวดล้อม
รู้เรื่องสัตว์ ๆ ตอนที่ 27 | ‘สัตว์ลายเสือ’ ประจำเดือนเมษายน
สัตว์ลายเสือตัวที่ 4 ที่จะพามารู้จักกันในตอนนี้เป็นนกที่มีสีสันและลวดลายคล้ายเสือที่มีชื่อว่า 'นกกระจิบเคปเมย์' หรือ 'Cape May Warbler' กันค่า
Credit: Nick Balachanoff via. https://www.cbc.ca/news/canada/british-columbia/rare-warbler-sighting-thrills-birders-and-photographers-in-abbotsford-1.4965407
ความจริงนกเมืองไทยก็มีนกที่ชื่อมีคำว่าเสือ🐅ในชื่ออยู่หลายชนิด เช่น นกเสือแมลงคอสีตาล นกยางลายเสือ นกอีเสือลายเสือ และนกเดินดงลายเสือใหญ่ เป็นต้น
นกเสือแมลงคอสีตาล (Pteruthius melanotis) https://en.wikipedia.org/wiki/Black-eared_shrike-babbler
นกยางลายเสือ (Gorsachius melanolophus) https://en.wikipedia.org/wiki/Malayan_night_heron
นกอีเสือลายเสือ (Lanius tigrinus) https://th.wikipedia.org/wiki/นกอีเสือลาย
นกเดินดงลายเสือใหญ่ (Zoothera dauma) http://www.lowernorthernbird.com/checklist.php?cat_id=33&c_id=351
แต่พอลองดูสีสันแล้วถึงลายจะคล้ายเสือแต่สียังไม่แจ่มโดนใจเท่าไหร่ 🤔
ก็เลยลองตามหานกในต่างประเทศดูจนได้พบกับนกกระจิบเคปเมย์ (Cape May Warbler) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Setophaga tigrina
เป็นนกในกลุ่มนกกระจิบโลกใหม่ (New World Warbler) มีถิ่นอาศัยในอเมริกาเหนือ และคำว่า ‘tigrina’ ในชื่อ species ก็มีที่มาจากสีสันและลวดลายคล้ายเสือนั่นเอง🐯
โดยผู้ที่ตั้งชื่อสปีชี่ส์คือ Johan Friedrich Gmelin นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันซึ่งส่วนหนึ่งมาจากลักษณะภายนอกที่คล้ายกับเสือของนกชนิดนี้แต่อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะพฤติกรรมความก้าวร้าวในการปกป้องแหล่งอาหารของนกชนิดนี้นั่นเอง
ส่วนชื่อสามัญ Cape May Warbler นั้นมีที่มาจาก ตัวอย่างของนกกระจิบชนิดนี้ถูกพบครั้งแรกในเมือง Cape May รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา ในปี 1811 นั่นเอง แต่หลังจากปี 1920 เป็นต้นมาก็ไม่มีรายงานพบเจอนกชนิดนี้ใน Cape May อีกเลย
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกกระจิบเคปเมย์มักอาศัยอยู่ห่างไกลจากผู้คน โดยจะอาศัยในป่าสนทางตอนเหนือ ซึ่งการทำรังจะเชื่อมโยงกับแหล่งอาหารหลักอย่างหนอนผีเสื้อสปรูซ (Spruce budworm)
โดยหนอนผีเสื้อสปรูซจัดเป็นเป็นแมลงพื้นเมืองที่มีพลังทำลายล้างสูงมากในทางเหนือของสหรัฐฯและแคนาดาดังนั้นการที่หนอนชนิดนี้อาหารหลักของนกกระจิบเคปเมย์ทำให้นกชนิดนี้มีส่วนช่วยในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีที่สำคัญ
นกกระจิบเคปเมย์ตัวผู้กำลังจัดการกับหนอนผีเสื้อสปรูซ (Spruce budworm) ที่มา: https://paulrossibirds.com/spruce-budworm-in-michigans-eastern-upper-peninsula/
และนอกจากการกินแมลงเป็นอาหารแล้วนกกระจิบเคปเมย์ยังสามารถกินน้ำหวานจากดอกไม้ได้เพราะมีลิ้นที่มีรูปร่างพิเศษที่ที่ลักษณะโค้งเป็นกึ่งๆ หลอด (semitubular) ช่วยให้สามารถจิบน้ำหวานจากดอกไม้เมืองร้อนในฤดูหนาวได้ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษกว่านกกระจิบชนิดอื่น ๆ ด้วย
ตอนนี้ก็มาแบบสั้น ๆ (จบ) ห้วน ๆ นิดนึง
ก็เลยขอพื้นที่เล็กๆ พูด (ปนบ่นนิดๆ) ถึงหนึ่งในแฮชแท็กสุดฮ็อทในโลกโซเชียลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่าง #LetTheEarthBreath
แฮชแท็กนี้ทำให้นึกถึงหนึ่งในหนังเรื่องโปรดอย่าง 'The Day After Tomorrow' เป็นหนังที่ฉายเมื่อปี 2004 ในหนังพูดถึงความรุนแรงของ climate change 🌡🌏ที่สั่นสะเทือนโลกให้เปลี่ยนแปลงในเวลาเพียงไม่กี่วัน
ผ่านมาแล้วเกือบ 20 ปี จากวันที่หนังเรื่องนั้นฉาย จากวันที่โลกยังถกเถียงกันว่า climate change มีจริงมั้ย? คืออะไร?
สู่วันนี้ที่แทบไม่มีใครกังขากันแล้วเพราะแค่คุณเอาตัวเองออกจากพัดลมแค่ 3 วินาทีก็รับรู้ผลกระทบจาก climate change ได้
ปี 2004 เด็กหลายคนในยุคนี้อาจจะยังไม่เกิด แต่เค้าก็ต้องมารับผลกระทบจาก climate change ที่สร้างขึ้นโดยคนยุคก่อน...
และแน่นอนว่าการตื่นตัวครั้งนี้เกิดจากการที่มันรุนแรงมากถึงขั้นที่ 'มนุษย์อาจสูญพันธุ์ได้' ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีพืชและสัตว์มากมายสูญพันธุ์จากผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจาก climate change
แต่มนุษย์เราก็ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อย่างจริงๆ จังๆ จนกระทั่งมันเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมนุษย์มากขนาดนี้ ใจนึงก็ดีใจที่ปัญหาโลกร้อนดูเหมือนจะ mass แล้วจริงๆ แต่อีกใจก็แอบเศร้าเพราะมันก็เกือบจะสายไปแล้วรึเปล่านะ...
เพราะในยุคดิจิตอล ทุกวินาทีที่เราแชร์ข่าวกันในโซเชียลมีเดียเราเองก็กำลังสร้างก๊าซเรือนกระจกจากการที่ต้องใช้พลังงานมหาศาลในการหล่อเลี้ยง data center ที่เก็บข้อมูลเหล่านี้...
หนึ่งในภาพข่าวที่ชอบมากจาก  #LetTheEarthBreath  'หนังแนวภัยพิบัติทุกเรื่องก็เริ่มมาจากการที่รัฐบาลเพิกเฉยต่อคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น' via. JimGumboc Twitter
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา