ความฉลาดของ AI คือผลสะท้อนความสำเร็จแห่งนวัตกรรมอันกำเนิดมาจากสติปัญญาของมนุษย์ หากแต่ชีวิตของผู้ให้กำเนิดอาจถูกสั่นคลอนด้วยความสามารถอันไร้เทียมทานของเหล่า AI เพราะไม่ใช่แค่ความฉลาด แต่ปัจจุบัน AI ยังมีระบบความคิดและการตัดสินใจเป็นของตัวเอง นั่นอาจรวมไปถึงการเกิดความรู้สึก (feeling) เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์อีกด้วย
แม้ว่าฮอว์กิงจะเสียชีวิตไปเมื่อ 14 มีนาคม 2018 แต่การพัฒนาของ AI ยังก้าวต่อไปโดยไม่มีทีท่าจะหยุดพัก WAY ชวนย้อนอ่านบทสัมภาษณ์ของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ถึงการคาดการณ์อนาคตของมวลมนุษย์ในโลกใบเดียวกับปัญญาประดิษฐ์
8
ย้อนกลับไปในปี 2014 ฮอว์กิงซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis: ALS) ให้สัมภาษณ์ต่อ BBC เกี่ยวกับการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ตัวเองใช้ในการสื่อสารแทนร่างกายที่ไม่สามารถทำได้ โดยได้ประยุกต์จากรูปแบบพื้นฐานของ AI
2
“การพัฒนาอย่างถึงขีดสุดของ AI จะนำมาซึ่งจุดจบของเผ่าพันธุ์มนุษย์”
2
แม้ AI จะถูกนำมาใช้เพื่อทลายข้อจำกัดทางร่างกาย แต่ความกังวลยังถูกฉายผ่านคำตอบ ซึ่งฮอว์กิงให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า เพราะเผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นถูกจำกัดไว้ด้วยวิวัฒนาการทางชีววิทยาที่เชื่องช้า และไม่อาจต่อสู้แข่งขันกันเพื่อก้าวสู่การพัฒนาที่ดีกว่าได้ ท้ายที่สุดก็จะถูกแทนที่ด้วยนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
ในปีเดียวกัน ฮอว์กิงดำรงตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ Future of Life Institute ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรอิสระที่ทำงานเพื่อลดความเสี่ยงที่รุนแรงจากเทคโนโลยี ได้ร่วมลงนามในร่างจดหมายเปิดผนึกถึงปัญญาประดิษฐ์ เรียกร้องให้เกิดการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมจาก AI เพื่อนำไปสู่การลดภัยคุกคามจากปัญญาประดิษฐ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดย อีลอน มัสก์ หนึ่งในคณะกรรมการของสถาบันก็ร่วมลงนามด้วย
4
จนมาถึงปี 2017 ฮอว์กิงได้พูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งในนิตยสาร WIRED โดยกล่าวว่าแม้รูปแบบดั้งเดิมของ AI จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษย์ แต่ความสามารถอันเทียบเท่าหรืออาจจะล้ำเกินมนุษย์ไปอีกนั้นอาจทำให้เทคโนโลยีอัจฉริยะเหล่านี้ถูกนำมาแทนที่มนุษย์โดยสิ้นเชิง ในฐานะของ ‘สิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเหนือมนุษย์’
3
“ถ้ามนุษย์สร้างไวรัสคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็จะมีคนออกแบบ AI ที่สามารถพัฒนาและจำลองตัวเองเพื่อต่อกรกับสิ่งนั้นได้ นั่นจะเป็นจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเหนือมนุษย์