27 มิ.ย. 2022 เวลา 17:37 • ความคิดเห็น
ความเกรงใจเป็นคุณสมบัติของผู้ดี ถ้าเจอคนประเภทที่ไม่เกรงใจใคร แต่ไม่ใช่คนพาล ให้ผูกมิตรโดยใช้หลักความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ่อมตน มีน้ำใจเอื้ออารีย์ มีของฝาก ยามเขาตกยากให้ช่วยเหลือ เขาก็จะมีความเกรงอกเกรงใจเราครับ หลักการนี้ใข้ได้ทั้งที่ทำงานและกับคนข้างบ้านหรือคนใกล้ชิดครับ
แต่ถ้าเจอคนที่ไม่เกรงอกเกรงใจใครแล้ว ยังเป็นคนพาลอีก ก็ต้องดำเนินการเป็น Step ครับ คือใช้หลักการผูกมิตรแบบข้างต้นก่อน แล้วตามด้วยเจรจา หากเจรจาไม่เป็นผล แสดงว่าจิตสำนึกใช้ไม่ได้แล้ว ก็ต้องเจรจากันด้วยผลประโยชน์ หากยังไม่สำเร็จอีก ก็เจรจาด้วยหลักกฏหมายครับ ซึ่งโดยมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดกับบ้านข้างๆมากกว่าที่ทำงานและมักจะเป็นปัญหายืดเยื้อและเรื้อรังที่เกิดขึ้นในสังคมเราครับ
จึงขอยกหลักการของท่าน กุ่ยกูจื่อ ปรมาจารย์แห่งวาทศิบป์ มหาปราชญ์แห่งยุคชุนชิวจ้านกว๋อ จากหนังสือยุทธวาทีมานำเสนอครับ
โต้คารมกับผู้มีปัญญา จะต้องมีวิขาความรู้มาก โต้คารมกับผู้เป็นพหูสูตร จะต้องเก่งในทางวาทศิลป์ โต้คารมกับผู้มีฝีปากดี จะต้องแจ่มชัดแก่นของเรื่องและพูดเข้าจุด โต้คารมกับผู้มีฐานะสูงส่ง จะต้องใช้อำนาจมาคัดง้าง โต้คารมกับผู้มั่งคั่ง จะต้องเอาฐานะอันสูงส่งมาเทียบ
โต้คารมกับผู้ยากจน จะต้องล่อด้วยผลประโยชน์ โต้คารมกับผู้มีฐานะต่ำต้อย จะต้องมีท่าทีถ่อมตนนอบน้อม โต้คารมกับผู้แกล้วกล้า จะต้องไม่หวาดกลัวเลยแม้แต่น้อย โต้คารมกับผู้โง่เขลา จะต้องจับประเด็นและมีข้อสรุปให้
โฆษณา