29 มิ.ย. 2022 เวลา 12:46 • สุขภาพ
ลำไย : ยาบำรุงธรรมชาติ
ผลไม้ตามฤดูกาลในช่วงนี้ ซึ่งการกินลำไย ควรกินแต่พอดี พอประมาณ หากกินเกินพอดีจะทำให้เกิดอาการเจ็บคอหรือร้อนในได้ และได้พลังงานเกินความต้องการของร่างกายถูกเปลี่ยนเป็นความอ้วนสะสมได้ อย่างไรก็ตาม อาการร้อนในและเจ็บคอดังกล่าวแก้ด้วยการกินมังคุดร่วมกับลำไย
สรรพคุณ
- ใบ แก้หวัด มาลาเรีย ริดสีดวงทวาร
- เนื้อ แก้ผอมแห้งแรงน้อย นอนไม่หลับ ขี้ลืม ใจสั่น บำรุงร่างกาย
- เปลือก แก้มึนหัว ทำให้ตาสว่าง
- ดอก ช่วยขับนิ่ว
- เมล็ด ช่วยห้ามเลือด แก้ปวด รักษาเกลื้อน
ตำรับยา
1. แก้หวัด : ใช้ใบลำไย 10-15 กรัม ต้มกินต่างน้ำชา
2. ยาบำรุงเลือด : เอาเฉพาะเนื้อลำไย จำนวนพอประมาณ ใส่ลงในภาชนะดินเคลือบ โดยใส่เนื้อลำไยในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำตาล 3 กรัม ตุ๋นหลายๆชั่วโมง กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะประจำ
3. ยาบำรุง : ใช้เนื้อลำไยจำนวนพอประมาณ ดองเหล้าทิ้งไว้ร้อยวัน กินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
4. ท้องเสีย : ใช้เนื้อลำไยตากแห้ง 14 เม็ด และขิง 3 แผ่น หั่นบางๆ ต้มน้ำกิน
5. กลาก : ใช้เมล็ดลำไย (แกะเปลือกสีดำออก) ฝนกับน้ำส้มสายชู ทาบริเวณที่เป็น
6. ปัสสาวะไม่ออก : ใช้เมล็ดลำไย (แกะเปลือกสีดำออก) ทุบให้แตก ต้มน้ำกิน
7. ยาบำรุงร่างกาย : เนื้อลำไยแห้ง 10 กรัม ถั่วลิสง 15 กรัม ต้มน้ำกิน
8. กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ : ใช้เมล็ดลำไยคั่วให้แห้ง แล้วบดเป็นผง ชงน้ำกินครั้งละ 15-20 กรัม
9. อุจจาระเป็นเลือด : ใช้เมล็ดลำไย (เอาเปลือกสีดำออกมา) บดเป็นผง กินละ 6 กรัม ให้กินขนาดท้องว่าง วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
10. รักแร้มีกลิ่น : ใช้เมล็ดลำไย 15 กรัม พริกไทย 9 กรัม บดเป็นผงทารักแร้
ข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ท้องอืดแน่น ฝ้าบนลิ้น สีขาว และหนา หรือเป็นหวัด เจ็บคอ (ทอลซินอักเสบ) ไม่ควรกินลำไย
** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **
โฆษณา